Error inserting IP into survey_ip: ระบบรับฟังความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ. ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ
สถานะ : ปิดรับฟังความคิดเห็น รายงานผลการรับฟังความคิดเห็น รอคำรับรองจากนายกรัฐมนตรี
ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 พ.ศ. ....
ประเภทร่าง เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นร่างการเงิน
เสนอโดย นายรอมฎอน ปันจอร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กับคณะ
ข้อมูลประกอบการพิจารณา

     เพื่อยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายใน โดยยกเลิกพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 51/2560 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2560 เนื่องจากเห็นว่า กฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายใน ให้อำนาจข้าราชการทหารมีอำนาจมาก ในการดำเนินงานเรื่องความมั่นคงภายในประเทศผ่านกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ที่มีลักษณะความสลับซับซ้อนภายในองค์กร และยังเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ทับซ้อนกับหน่วยงานอื่น ทำให้สิ้นเปลืองกำลังคน งบประมาณ จึงไม่มีความเหมาะสมที่ให้มีหน่วยงานนี้ในบริบทสังคมปัจจุบันอีกต่อไป เห็นสมควรยุบกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ตารางเปรียบเทียบ (เอกสารแนบ)

ผู้ที่เกี่ยวข้อง

     1. กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)

     2. ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)

     3. กรมการปกครอง

     4. ประชาชน

ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็น

     1. ท่านเห็นด้วยกับการยุบกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) หรือไม่ อย่างไร

     2. ท่านเห็นด้วยกับการโอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ข้าราชการพลเรือนที่ประจำกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และอัตรากำลังของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรไปเป็นของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย  หรือไม่ อย่างไร

     3. ปัจจุบันการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายใน พ.ศ. ๒๕๕๑ ท่านคิดว่ามีปัญหาหรือไม่อย่างไร และการเสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เพื่อยกเลิกพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายใน พ.ศ. ๒๕๕๑ และยุบกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) จะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้หรือไม่อย่างไร

     4. ข้อเสนอแนะอื่น ๆ