มาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

มาตรา 77 “รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมาย ที่หมดความจำเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตหรือ การประกอบอาชีพโดยไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน และดำเนินการให้ประชาชนเข้าถึงตัว บทกฎหมายต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่ายเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับ ฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และนำมาประกอบการพิจารณาในกระบวนการ ตรากฎหมายทุกขั้นตอน เมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว รัฐพึงจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของ กฎหมายทุกรอบระยะเวลาที่กำหนด โดยรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย เพื่อพัฒนา กฎหมายทุกฉบับให้สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป รัฐพึงใช้ระบบอนุญาตและระบบคณะกรรมการในกฎหมายเฉพาะกรณีที่จำเป็น พึงกำหนด หลักเกณฑ์การใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐและระยะเวลาในการดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายให้ชัดเจน และพึงกำหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรง” จากการศึกษาวิเคราะห์เจตนารมณ์มาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แล้ว สรุปได้ดังนี้

1. มาตรา 77 วรรคหนึ่ง : การตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมาย การตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมาย กล่าวคือ รัฐพึงต้องจัดให้มีกฎหมายเพียง เท่าที่จำเป็นเพื่อให้กฎหมายที่จะบังคับใช้ไม่ก่อให้เกิดภาระกับประชาชนเกินสมควร โดยกฎหมายที่จะ ถูกตราขึ้นได้นั้น จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ใดหลักเกณฑ์หนึ่งใน 4 ประการ ดังนี้ ประการที่ 1 เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประการที่ ๒ หากมีข้อเสนอในการปฏิรูปประเทศเรื่องใด ๆ แล้ว จำเป็นต้องมีกฎหมายนั้น ๆ เพื่อให้การปฏิรูปประเทศสัมฤทธิ์ผล ประการที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้มีกฎหมาย ฉบับนั้น ๆ อย่างชัดแจ้ง ประการที่ 4 เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการ ซึ่งปัจจุบันฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมีแนวทางปฏิบัติโดยเห็นชอบหลักเกณฑ์ในการ ตรวจสอบความจำเป็นในการตราพระราชบัญญัติ (Checklist) จ านวน 10 ประการ โดยจะต้องแสดงให้ เห็นถึงการพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 1) วัตถุประสงค์และเป้าหมายของภารกิจ 2) การกำหนด เจ้าภาพในการทำภารกิจ 3) ความจำเป็นในการตรากฎหมาย 4) ความซ้าซ้อนของกฎหมาย 5) ภาระต่อ บุคคลและความคุ้มค่า 6) ความพร้อมของรัฐ 7) หน่วยงานที่รับผิดชอบ 8) วิธีการทำงานและการ ตรวจสอบ 9) อำนาจในการตราอนุมัติ และ 10) การรับฟังความคิดเห็น

2. มาตรา 77 วรรคสอง : การจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องก่อนการตรากฎหมาย และทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย การจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องก่อนการตรากฎหมาย และทบทวนความ เหมาะสมของกฎหมาย กล่าวคือ รัฐจะต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการตราพระราชบัญญัติทุกฉบับ ซึ่งในกรณีที่เป็นการเสนอกฎหมายโดย คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอนั้น ย่อมมีการรับฟังความคิดเห็นโดยหน่วยงานผู้ปฏิบัติและเป็นเจ้าของ ร่างกฎหมายขึ้นตามระเบียบขั้นตอนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560 เห็นชอบ แนวทางการจัดทำและการเสนอร่างกฎหมายตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่มีข้อสังเกตในส่วนของการเสนอร่างพระราชบัญญัติที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เสนอกับ ร่างพระราชบัญญัติที่ประชาชนเข้าชื่อนั้น ต้องมีระเบียบปฏิบัติอย่างไรและรัฐพึงรับฟังความคิดเห็น ให้กับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ ในกรณีที่กฎหมายที่เสนอนั้นมีหลักการเดียวกัน กับร่างกฎหมายที่คณะรัฐมนตรีเสนอ และในกรณีที่เป็นร่างกฎหมายใหม่ที่ไม่มีร่างของคณะรัฐมนตรี เสนอ ซึ่งจะต้องจัดทำระเบียบปฏิบัติให้ชัดเจนเพราะหากต้องรับฟังความคิดเห็นร่างกฎหมายในส่วนนี้ หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบควรจะเป็นหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในการรับภารกิจ ดังกล่าว ทั้งนี้ ตามร่างพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ ของกฎหมาย พ.ศ. .... มาตรา 20 ที่กำหนดว่าการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบเพื่อ ประกอบการพิจารณาร่างกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา ให้เป็นไปตามข้อบังคับ ที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภากำหนด ส่วนการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายเมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว รัฐต้อง ดำเนินการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายในทุกระยะเวลาตามกำหนด โดยยึดหลักการตาม พระราชกฤษฎีกาการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย พ.ศ. 2558 ซึ่งกำหนดให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องมีการตรวจสอบและทบทวนกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ เพื่อให้กฎหมายมีความเหมาะสม เป็นธรรม ไม่เป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตตามกาลสมัยและ วิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยอาจทำการปรับปรุง แก้ไข หรือ ยกเลิกกฎหมาย

3. มาตรา 77 วรรคสาม : การควบคุมเนื้อหาของร่างกฎหมาย การควบคุมเนื้อหาของร่างกฎหมาย กล่าวคือ ได้กำหนดเรื่องเนื้อหาของร่างกฎหมายที่จะ ใช้ระบบอนุญาตและระบบคณะกรรมการว่าจะออกกฎหมายได้เฉพาะ กรณีที่จำเป็น ส่วนการกำหนด หลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐและให้มีการกำหนดระยะเวลาการดำเนินการให้ชัดเจน และการกำหนดโทษทางอาญาในกฎหมายนั้น ให้กำหนดเฉพาะกรณีที่ร้ายแรง ซึ่งจะเห็นได้ว่าการควบคุมเนื้อหาของร่างกฎหมายมีหลักการสำคัญ 4 ประการ อันได้แก่
1. การใช้ระบบอนุญาตในกฎหมาย
2. การใช้ระบบคณะกรรมการในกฎหมาย
3. การกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐและระยะเวลาในการดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายให้ชัดเจน
4. การกำหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรง
ซึ่งเจตนารมณ์ของมาตรา 77 วรรคสาม เพื่อให้ได้ กฎหมายที่มีคุณภาพออกมาบังคับใช้กับประชาชน มีความเหมาะสมและเป็นหลักประกัน ความยุติธรรมต่อสังคมต่อไป