สถานะ : ปิดรับฟังความคิดเห็น รายงานผลการรับฟังความคิดเห็น
ร่างพระราชบัญญัติกองทุนการประมงแห่งชาติ พ.ศ. ....
ประเภทร่าง เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นร่างการเงิน
เสนอโดย นายชลน่าน ศรีแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กับคณะ
ข้อมูลประกอบการพิจารณา

โดยที่การพัฒนาและจัดระเบียบการประมงของประเทศไทยทั้งในเขตน่านน้ำไทยและในน่านน้ำอื่นภายใต้กติการะหว่างประเทศ ทั้งในฐานะของรัฐชายฝั่ง รัฐเจ้าของธง รัฐเจ้าของท่า และรัฐเจ้าของตลาดตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ทั้งแก่ทรัพยากรผู้ประกอบการ ประชาชน ตลอดจนผลประโยชน์ของชาติโดยรวม รวมทั้งการป้องกันมีให้มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยเจตนา ประกอบกับเพื่อรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำให้อยู่ในภาวะที่เป็นแหล่งอาหารของมนุษยชาติอย่างยั่งยืน และรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมให้ดำรงอยู่ในสภาพที่เหมาะสมตามแนวทาง กฎเกณฑ์ และมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับนับถือในนานาประเทศ ซึ่งเป็นนโยบายที่สำคัญของประเทศที่ส่งผลกระทบต่อชาวประมง เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ที่จะต้องได้รับการชดเชย ดูแล แก้ไข ช่วยเหลือ คุ้มครอง และส่งเสริมในการประกอบอาชีพให้สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการประมงของประเทศไทยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณในการดำเนินการและกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนการประมงแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจสอบภายใน รวมถึงคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

 

สาระสำคัญ

          ร่างพระราชบัญญัติกองทุนการประมงแห่งชาติ พ.ศ... มีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้

  1. กำหนดบทนิยามเพื่ออธิบายความหมายของถ้อยคำที่ใช้ในร่างพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 3)
  2. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 4)
  3. กำหนดให้มีกองทุนการประมงแห่งชาติ (ร่างมาตรา 5 ถึงร่างมาตรา 10)
  4. กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนการประมงแห่งชาติ เพื่อบริหารกิจการของกองทุน(ร่างมาตรา 11 ถึงมาตรา 18)
  5. กำหนดให้มีสำนักงานกองทุนการประมงแห่งชาติ (ร่างมาตรา 19 ถึงมาตรา 27)
  6. กำหนดให้กองทุนต้องจัดให้มีระบบบัญชีที่เหมาะสมและการตรวจสอบบัญชี โดยให้มีคณะกรรมการตรวจสอบภายในขึ้น เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีภายในก่อน (ร่างมาตรา 28 ถึงร่างมาตรา 32)
  7. กำหนดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน โดยให้มีคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน เพื่อทำหน้าที่ประเมินผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกองทุน รายงานข้อจำกัดหรืออุปสรรคของการดำเนินกิจการของกองทุน ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการในทุกรอบการประเมิน (ร่างมาตรา 33 ถึงมาตรา 34)
  8. กำหนดให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจกำกับและดูแลกองทุน (ร่างมาตรา 35)

ผู้ที่เกี่ยวข้อง

  1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  2. กระทรวงการคลัง
  3. สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย
  4. สมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย
  5. สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย
  6. ประชาชนทั่วไป

ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็น

  1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดบทนิยามเพื่ออธิบายความหมายของถ้อยคำที่ใช้ในร่างพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 3)
  2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 4)
  3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้มีกองทุนการประมงแห่งชาติ (ร่างมาตรา 5 ถึงร่างมาตรา 10)
  4. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนการประมงแห่งชาติเพื่อบริหารกิจการของกองทุน (ร่างมาตรา 11 ถึงมาตรา 18)
  5. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้มีสำนักงานกองทุนการประมงแห่งชาติ (ร่างมาตรา 19 ถึงร่างมาตรา 27)
  6. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้กองทุนต้องจัดให้มีระบบบัญชีที่เหมาะสมและการตรวจสอบบัญชี โดยให้มีคณะกรรมการตรวจสอบภายในขึ้น เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีภายในก่อน (ร่างมาตรา 28 ถึงร่างมาตรา 32)
  7. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน โดยให้มีคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน เพื่อทำหน้าที่ประเมินผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกองทุน รายงานข้อจำกัดหรืออุปสรรคของการดำเนินกิจการของกองทุน ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการในทุกรอบการประเมิน (ร่างมาตรา 33 ถึงร่างมาตรา 34)
  8. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจกำกับและดูแลกองทุน (ร่างมาตรา 35)
  9. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี)