8 th Chula ASEAN Week and 5th Parliamentary ASEAN Commuity Forum (1 สิงหาคม 2562)นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวว่าปาฐกถา เรื่อง "Advancing Political Partnership for Sustainable Community"

1 2562

      วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม 2562 เวลา 09.30 - 10.15 นาฬิกา ณ อาคารเฉลิมราชกุมาร 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ให้เกียรติเข้าร่วมกิจกรรม "เสียงของเยาวชนอาเซียน" ซึ่งเป็นการแสดงวิสัยทัศน์ของเยาวชนจากประเทศต่างๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับอาเซียนในคอนเซบ อาเซียนเพื่อทุกคน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง กิจกรรมดังกล่าวเป้นส่วนหนึ่งของงานเสวนาประชาคมอาเซียนของรัฐสภา ครั้งที่ 5 และงานสัปดาห์จุฬาฯอาเซียน ครั้งที่ 8
จากนั้น เวลา 10.15 - 10.45 นาฬิกา นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าปาฐกถา เรื่อง"Advancing Political Partnership for Sustainable Community" หรือ ความร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกลเพื่อประชาคมอาเซียนที่ยั่งยืน
โดยนางสาวสุภาสินี ขมะสุนทร รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวต้อนรับและแนะนำอดีตนายกรัฐมนตรี
อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าตนพูดในเวทีนี้มาต่อเนื่องสามปี และชื่นชมการนำเสนอของเยาวชน และประทับใจทุกคน ทั้งนี้ อดีตนายกรัฐมนตรีเริ่มจากการกล่าวว่า ปีนี้ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน และเพิ่งผ่านการจัดอาเซียนซัมมิทไป อาเซียนต้องคิดแนวทางการจัดการ ดำเนินนโยบายภายใต้ความท้าทาย ทั้งนี้ให้ดูวิธีการที่เราสำเร็จมาครึ่งศตวรรษ การได้ฟังเยาวชน เรื่องความไม่เท่าเทียมกัย เรื่องเศรษฐศาสตร์ เรื่องความมั่นคงทำให้รู้ว่าเยาวชนเข้าใจอาเซียนเพียงใด แม้ว่าในการก่อตั้งอาเซียนจะเริ่มจากการป้องกันภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ ความใฝ่ฝันต่อมาคือความร่วมมือของ 10 ประเทศ ในการรวบรวมสมาชิก ความท้าทายคือ การแข่งขันทางเศรษฐกิจอาเซียน อย่างไรก็ดี แม้ว่าอาเซียนจะประสบผลสำเร็จ มีเศรษฐกิจที่พัฒนา แต่จากปัญหาเศรษญกิจโลก ความพยายามเจรจากับหุ้นส่วนมากขึ้น แม้แต่วันนี้ ข่าวของอาเซียนในการประชุม AMM และท้ายปีดำเนินความร่วมมือ กับ Rcep ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรเศรษฐกิจที่สำคัญ เมื่อวานที่ได้มีการพุดคุย เราประสบความสำเร็จในการหารือทะเลจีนใต้ การจัดการเรื่องน้ำ และมีความก้าวหน้าความร่วมมือ ทั้งประเพณี วัฒนธรรมการไม่ากล่าวประนามระหว่างกันในอาเซียน
ในฐานะที่เคยเป็นประธานอาเซียน ขอกล่าวว่าเป็นไปไม่ได้ที่อาเซียนจะไม่มีการแทรกแซง จะไม่ได้รับผลกระทบ เราไม่ได้ทำแบบ EU แต่เราทำแบบอาเซีบน เหมือนเมียนมาร์ที่เราพยายามต้องนำเอาประชาธิปไตยมาใช้ เราต้องถามตัวเองว่าที่ทำอยู่นี่สามารถเผชิญปัญหาได้หรือไม่ ทุกประเทศต้องร่วมมือกันให้มากขึ้น เมื่อกล่าวถึงประวัติศาสตร์อาเซียน เราเจอภัยคอมนิวนิสต์ ความท้าทายที่เยาวชนได้กล่าวตอนต้นมีความซับซ้อนมากขึ้น ต้องมีความร่วมมือกันมากขึ้น ไม่ใช่แค่การพบปะเจรจากับระดับผู้นำประเทศ ความท้าทายต้องมีความเข้มแข็ง ไม่ใช่คนใดคนหนึ่ง ต้องมีความเป็นผู้นำทั้ง 10 ประเทศ เราไม่ค่อยเห็นความคิดทางการเมืองร่วมกันในประเด็นต่างๆ แม้แต่ปัญหาทะลจีนใต้ เป็นประเด็นร่วมที่ไม่มีความแถลงร่วมกัน ประเทศสมาชิกที่มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องโดยตรง
ด้านการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ทั้งเขตการค้าเสรี การสร้างความสามารถในการแข่งขัน การสร้างกฎหมาย เครือข่าย ห่วงโซ่ความเชื่อมโยงกฎหมายเพื่อสนับสนุนตลาดร่วมต้องพยายามทำให้ได้ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ในเอเชีย เราถือว่ามีความเติบโต ทั้งจีน อินเดียประสบความสำเร็จมากขึ้น ทำให้เป้าหมายทางเศรษฐกิจเปลี่ยนไป จากมุ่งเน้นความเชื่อมโยง มาเส้นทางสายไหม Belt and Road เราไม่ค่อยเห็นอาเซียนพูดถึงความร่วมมือ เราไม่ค่อยเห็น conectivity ของประเทศในอาเซียน เพราะเรายังมีความไม่เท่าเทียมกัน เรามีช่องว่างทางเศรษฐกิจ บางประเทศเจริญเติบโตบางประเทศล้าหลัง ดังนั้น การจัดการกับปัญหา ต้องหาหนทางการแก้ไข ไม่เพียงปัญหาภายใน การจัดการข้อขัดแย้ง ทั้งปัญหาระหว่ารัฐบาล พหุภาคี บรรษัท ปัญหาระหว่างภุมิภาค ทำให้ประชาชนอาเซียนได้รับผลกระทบทั้งหมด ไม่ว่าชาวนา ธุรกิจ ร้านรวงเล็กๆ ประสบปัญหาอีกทั้งปัญหาเรื่องความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศก็ยังไม่สามารถสุการปฎิบัติได้จริง ความท้าทายเหล่านี้ว่าทุกประเทศพยายามจะดำเนินการ อาจมีทั้งที่ ผิดบ้าง ถูกบ้าง ทางครั้งเอ็นจีโอต้องพิจารณา เพราะอาจทำได้ดีว่ารัฐบาล ถ้าอาเซียนสามารถจัดการปัญหาได้ก็จะในการสร้างประชาคมที่ยั่งยืนได้
นายอภิสิทธิ์ ยังได้ชื่นชมที่เยาวชนกล่าวถึงความรู้สึกความเป็นเจ้าของร่วมกัน เยาวชนหลายๆประเทศคิดเหมือนกับเยาวชนไทย คือ เราไม่ใช่แค่รู้ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของอาเซียน แต่เราต้องสร้างความรู้สึกร่วม เมื่อเรามีคุณค่าร่วมกัน มีแนวทางร่วมกัน เมื่อมีความพยายามให้อาเซียนบนต่อสู้บน FTA เราไม่สามารถขาดผู้นำที่เข้มแข็งได้ ต้องทำให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง
เมื่อประเทศไทยเป็นประธานอาเซียนเราได้ตั้งณะกรรมการสิทธิมนุษยชนขึ้นมา ซึ่งผ่านความยากลำบากกว่าจตั้งขึ้นมาได้ แต่หากพิจารณาถึงการทำงานของคณะกรรมการในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมา เรายังมีการวิพากษ์วิจารณ์ สถานการณ์ในเมียนมาร์ และแม้แต่ในประเทศไทยเอง และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนทำอะไร อย่างน้อยในอาเซียนล่าสุดที่จะให้ภาคประชาสังคมเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น ก็ไม่สามารถเป็นเข้าร่วมในอาเซียนซัมมิทได้ อีกประการคือ การให้ประชาชนรู้สึกจริงๆไม่ใช่การประชุมผ่านผู้นำ เพราะเราต้องมองสองระดับ คือ องค์กร ต้องเพิ่มความร่วมมือของตัวของประชาชน เรากำลังจัดสมัชชารัฐสภาอาเซียน ประชาชนจะมีส่วนร่วมอย่างไร การมีส่วนร่วมกับสมาชิกอาเซียน แนวทางของประชาสังคม ผู้แทน ภาคธุรกิจ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ถ้าแก้ไขปัญหาปรไม่มีระบบที่มีประสิทธิภาพ นี่จะเป็นปัญหาระยะยาว และมาตรฐานที่สร้างการมีส่วนร่วม เราใช้ อาเซียน เวย์ ของเรา เราปรับได้ ความร่วมมือทางการเมืองเป็นปัญหาท้าทาย เราต้องรู้ว่าความร่วมมือทางการเมือง ถ้ามองกันถี่ถ้วนเราจะเห็นปัญหาต่างๆเหมือน เบรกซิทที่ EU ประสบ เป็นสิ่งที่หวังว่าผู้นำรัฐบาล ผู้นำความคิด ต้อคำนึงถึงเรื่องนี้ นายอภิสิทธิ์กล่าวตอนท้ายว่า ขอฝากความหวังกับเยาวชนอาเซียนว่าจะเพิ่มความร่วมมือได้ จะทำให้เกิดความยั่งยืนในประชาคมอาเซียนได้