สถานะ : ปิดรับฟังความคิดเห็น
ร่างพระราชบัญญัติอาหาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ประเภทร่าง เสนอโดยประชาชน เป็นร่างการเงิน
เสนอโดย นางสาวสารี อ๋องสมหวัง กับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 21,345 คน
ข้อมูลประกอบการพิจารณา

โดยที่พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มีบทบัญญัติบางประการที่เป็นข้อจำกัดในการควบคุมความปลอดภัยอาหารและการโฆษณาอาหาร สมควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรการควบคุมอาหารโดยกำหนดควบคุมอาหารตามระดับความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือผลกระทบต่อผู้บริโภค แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณาอาหารและกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการโฆษณาอาหาร กำหนดให้มีผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ทำหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาอนุญาตอาหารเพื่อให้ทางธุรกิจ กำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอาหารให้รับผิดชอบต่อผู้บริโภค ตลอดจนแก้ไขบทกำหนดโทษและอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
            1. ยกเลิกบทนิยามคำว่า “อาหารควบคุมเฉพาะ” “ตำรับอาหาร” “โรงงาน” และแก้ไขบทนิยามคำว่า “ผลิต” และ “ผู้อนุญาต” และเพิ่มบทนิยามคำว่า “วัตถุสัมผัสอาหาร” “เอกสารกำกับอาหาร” “ข้อความ” “ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร” “โฆษณา” “สื่อโฆษณา” “สถานที่” “กระบวนการพิจารณาอนุญาตอาหาร” และ “เลขาธิการ” (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 4)
            2. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีอำนาจประกาศกำหนดกลุ่มอาหารโดยแบ่งเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ อาหารควบคุม และอาหารจดแจ้ง กำหนดอาหารที่ต้องประเมิน
ความปลอดภัย และกำหนดหลักเกณฑ์การใช้วัตถุสัมผัสอาหาร การจำหน่ายอาหาร การขนส่ง การเก็บรักษาและการโฆษณา (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 6)
            3. แก้ไขเพิ่มเติมชื่อตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และผู้อำนวยการกอง กองอาหาร ในองค์ประกอบคณะกรรมการให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ชื่อตำแหน่งผู้แทนของสภาองค์กรของผู้บริโภคตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการอาหารให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและผู้อนุญาต กำหนดการดำเนินงานของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระในระหว่างการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ แก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เหตุในการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกำหนดองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งเพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาอนุญาตอาหาร (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 และมาตรา 10 และเพิ่มมาตรา 12 วรรคสอง และวรรคสาม และมาตรา 13/1)
            4. แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตผลิตอาหารเพื่อจำหน่าย กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขใบอนุญาต และกำหนดหลักเกณฑ์ในการขอผ่อนผันการต่ออายุใบอนุญาต (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 14 และมาตรา 16 (2) และเพิ่มมาตรา 16/1 และมาตรา 18 วรรคสาม) 
            5. แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณาอาหารและกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการพิจารณาอนุญาตอาหาร และหลักเกณฑ์ในการติดตาม ตรวจสอบ หรือเฝ้าระวังอาหาร รวมทั้งกำหนดอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้มีอำนาจในการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดและค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บ อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดและค่าขึ้นบัญชีที่จะจัดเก็บ และหลักเกณฑ์ในการรับเงินและจ่ายเงินดังกล่าว (เพิ่มหมวด 2/1 กระบวนการพิจารณา อนุญาตอาหาร มาตรา 19/1 - มาตรา 19/5)
            6. การแก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้รับอนุญาตผลิตเพื่อการส่งออกต้องจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับอาหารนั้นต่อผู้อนุญาต และต้องจัดเก็บเอกสารหรือหลักฐานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ รวมทั้งกำหนดห้ามจำหน่ายอาหารเพื่อการส่งออกในราชอาณาจักร (แก้ไขชื่อหมวด 3 หน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 24 และเพิ่มมาตรา 24/1 - มาตรา 24/4)
            7. กำหนดการควบคุมอาหารเสื่อมคุณภาพ แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะของอาหารปลอมและอาหารผิดมาตรฐาน และแก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจของผู้อนุญาตเกี่ยวกับการออกคำสั่งเพื่อการควบคุมอาหาร และประกาศผลตรวจสอบให้ประชาชนทราบ ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจโฆษณาข่าวสารเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งและการเข้าดำเนินการแทนผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอาหารดังกล่าวให้ประชาชนทราบ และมีอำนาจโฆษณาคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอาหารฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้ประชาชนทราบ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 25 (4) มาตรา 27 (4) และ (5) มาตรา 28 มาตรา 29 และมาตรา 30 และเพิ่มมาตรา 30/1 - มาตรา 30/3)
            8. กำหนดมาตรการเพื่อควบคุมอาหารในแต่ละกลุ่ม โดยกำหนดให้อาหารควบคุมเฉพาะต้องขึ้นทะเบียน อาหารควบคุมต้องแจ้งรายการ และอาหารจดแจ้งต้องจดแจ้ง และกำหนดการขอรับใบแทนใบสำคัญของอาหารดังกล่าว รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ในการดำเนินการและการแก้ไขเปลี่ยนแปลง (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 22 และแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 5 อาหารควบคุมเฉพาะ อาหารควบคุม และอาหารจดแจ้ง มาตรา 31 - มาตรา 42 และเพิ่มมาตรา 42/1 - มาตรา 42/10)
            9. กำหนดมาตรการในการควบคุมการโฆษณาอาหาร กำหนดหลักเกณฑ์การโฆษณา และกำหนดให้การโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารต้องได้รับใบอนุญาต 
(เพิ่มหมวด 5/1 การโฆษณา มาตรา 42/11 - มาตรา 42/19)
            10. แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับเรียกให้หยุดหรือเข้าไปในยานพาหนะเพื่อตรวจสอบอาหาร การค้น การยึดหรืออายัด และแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์
การดำเนินการกับสิ่งที่ยึดหรืออายัดไว้ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 43 (2) (4) และ (5) และมาตรา 44 และเพิ่มมาตรา 43 (6) (7) (8) (9) (10) และวรรคสาม มาตรา 43/1 มาตรา 43/2 และมาตรา 44/1)
            11. แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาต (แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 7 การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา 46 และเพิ่ม
มาตรา 46/1 - มาตรา 46/3)
            12. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอุทธรณ์ (เพิ่มหมวด 7/1 การอุทธรณ์ มาตรา 46/4 - มาตรา 46/6)
            13. แก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย และแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบให้เหมาะสม (แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 8 บทกำหนดโทษ มาตรา 47 - มาตรา 75 และเพิ่มมาตรา 75/1 - มาตรา 75/25)
            14. แก้ไขเพิ่มเติมอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติ

 


ตารางเปรียบเทียบร่างแก้ไขเพิ่มเติม (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ)
 

ผู้ที่เกี่ยวข้อง

ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง
1.    กระทรวงสาธารณสุข 
2.    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
3.    กรมอนามัย
4.    กรมการแพทย์
5.    กรมควบคุมโรค
6.    กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
7.    กรมวิทยาศาสตร์บริการ. 
8.    สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
9.    สภาองค์กรของผู้บริโภค


ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยอ้อม
1.    กระทรวงกลาโหม
2.    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
3.    กรมการค้าภายใน
4.    กรมศุลกากร
5.    สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

ผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป
    -  ประชาชน

ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็น

1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการยกเลิกบทนิยามคำว่า “อาหารควบคุมเฉพาะ” “ตำรับอาหาร” “โรงงาน” และแก้ไขบทนิยามคำว่า “ผลิต” และ “ผู้อนุญาต” และเพิ่มบทนิยามคำว่า “วัตถุสัมผัสอาหาร” “เอกสารกำกับอาหาร” “ข้อความ” “ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร” “โฆษณา” “สื่อโฆษณา” “สถานที่” “กระบวนการพิจารณาอนุญาตอาหาร” และ “เลขาธิการ” 

2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีอำนาจประกาศกำหนดกลุ่มอาหารโดยแบ่งเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ อาหารควบคุม และอาหารจดแจ้ง กำหนดอาหารที่ต้องประเมินความปลอดภัย และกำหนดหลักเกณฑ์การใช้วัตถุสัมผัสอาหาร การจำหน่ายอาหาร การขนส่ง การเก็บรักษาและการโฆษณา 

3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบคณะกรรมการอาหาร หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการอาหาร คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งเพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาอนุญาตอาหาร 

4. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตผลิตอาหารเพื่อจำหน่าย กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขใบอนุญาต และกำหนดหลักเกณฑ์ในการขอผ่อนผันการต่ออายุใบอนุญาต 

5. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการแก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้รับอนุญาตผลิตเพื่อการส่งออกต้องจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับอาหารนั้นต่อผู้อนุญาต และต้องจัดเก็บเอกสารหรือหลักฐานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ รวมทั้งกำหนดห้ามจำหน่ายอาหารเพื่อการส่งออกในราชอาณาจักร

6. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดการควบคุมอาหารเสื่อมคุณภาพ ลักษณะของอาหารปลอมและอาหารผิดมาตรฐาน หน้าที่และอำนาจของผู้อนุญาตเกี่ยวกับการดำเนินการตามกฎหมายเพื่อการควบคุมอาหาร 

7. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมอาหาร โดยกำหนดให้อาหารควบคุมเฉพาะต้องขึ้นทะเบียน อาหารควบคุมต้องแจ้งรายการ และอาหารจดแจ้งต้องจดแจ้ง และกำหนดการขอรับใบแทนใบสำคัญของอาหารดังกล่าว รวมทั้ง กำหนดหลักเกณฑ์ในการดำเนินการและการแก้ไขเปลี่ยนแปลง 

8. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดมาตรการในการควบคุมการโฆษณาอาหาร กำหนดหลักเกณฑ์การโฆษณา และกำหนดให้การโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารต้องได้รับใบอนุญาต 

9. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการแก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับเรียกให้หยุดหรือเข้าไปในยานพาหนะเพื่อตรวจสอบอาหาร การค้น การยึดหรืออายัด และแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การดำเนินการกับสิ่งที่ยึดหรืออายัดไว้ 

10. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการเพิ่มเติม หมวด 7 การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาต และ หมวด 7/1 การอุทธรณ์

11. ท่านเห็นว่าพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มีบทบัญญัติบางประการที่เป็นข้อจำกัดในการควบคุมความปลอดภัยอาหารและการโฆษณาอาหารหรือไม่ อย่างไร และร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้หรือไม่ เพียงใด

12. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี)