โดยที่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2560 เรื่อง การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลงวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดมาตรการ และกลไกเพื่อแก้ปัญหาในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งใช้บังคับมาเป็นเวลานาน และบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบันที่มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่เกิดขึ้น จึงต้องมีการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อพัฒนาองค์กรและระบบทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับบริบททางสังคม และเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ให้องค์กรสามารถเติบโตได้อย่างเข้มแข็ง และสามารถปรับตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน และเพื่อให้เป็นไปตามหลักการแห่งกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประกอบกับมาตรา 279 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้การยกเลิกคำสั่งดังกล่าว ให้กระทำเป็น พระราชบัญญัติ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2560 เรื่อง การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลงวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2560 มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2560 เรื่อง การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลงวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2560 ดังต่อไปนี้
2.1 ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2560 เรื่อง การบริหารงานบุคคล ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลงวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2560 (ร่างมาตรา 3)
2.2 กำหนดให้มาตราใดในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ที่ถูกยกเลิกหรืองดใช้ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 16/2560 เรื่อง การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลงวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2560 ให้นํามามีผลบังคับใช้ (ร่างมาตรา 4)
2.3 กำหนดให้คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2560 เรื่อง การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ลงวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2560 ยังคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่และมีอำนาจตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 จนกว่าจะมีคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 (ร่างมาตรา 5)
2.4 กำหนดให้ภายใต้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงาน ก.ค.ศ. ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่ง ก.ค.ศ. ตามความในมาตรา 7 และ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ ตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ให้เสร็จสิ้นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ร่างมาตรา 6)
1. ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
2. ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยอ้อม
2.1 กระทรวงศึกษาธิการ
2.2 กระทรวงวัฒนธรรม
2.3 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
2.4 สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
2.5 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
2.6 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.7 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
2.8 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
2.9 กรมส่งเสริมการเรียนรู้
2.10 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
3. ผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป
ประชาชน
1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2560 เรื่อง การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลงวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2560
2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดให้มาตราใดในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ที่ถูกยกเลิกหรืองดใช้ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2560 เรื่อง การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลงวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2560 ให้นํามามีผลบังคับใช้
3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดให้คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2560 เรื่อง การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลงวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2560 ยังคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่และมีอำนาจตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 จนกว่าจะมีคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
4. ท่านเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญในปัจจุบันมีปัญหาหรือไม่ อย่างไร และร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้หรือไม่ เพียงใด
5. ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ (ถ้ามี)