รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 57 (2) กำหนดให้รัฐต้องอนุรักษ์ คุ้มครอง บำรุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการ และใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน โดยต้องให้ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินการและได้รับประโยชน์จากการดำเนินการดังกล่าว แต่เนื่องจากกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน มิได้กำหนดให้มีการจัดสรรค่าภาคหลวงปิโตรเลียมจากแหล่งปิโตรเลียมในทะเลให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่อย่างใด ส่งผลให้ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นที่มีแนวเขตติดต่อและอยู่ในระยะใกล้กับพื้นที่ตามสัมปทานของแหล่งปิโตรเลียมในทะเล ไม่ได้รับประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติจากแหล่งปิโตรเลียมในทะเลดังกล่าว ซึ่งถือเป็นข้อจำกัดทางด้านกฎหมายที่ทำให้สิทธิตามรัฐธรรมนูญของประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นไม่ได้รับความคุ้มครองเท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ตารางเปรียบเทียบ (เอกสารแนบ)
1. ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง
- กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
2. ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยอ้อม
2.1 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
2.2 สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
2.3 สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน
2.4 กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
2.5 สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย
2.6 สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย
3. ผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป
- ประชาชน
1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลที่มีแนวเขตติดต่อและมีระยะใกล้กับพื้นตามสัมปทานสำหรับแหล่งปิโตรเลียมในทะเลมากที่สุดได้รับการจัดสรรค่าภาคหลวงปิโตรเลียมที่จัดเก็บได้จากแหล่งปิโตรเลียมในทะเล
2. ท่านเห็นว่าพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 23(13)(ก) ที่กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลที่มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ตามสัมปทานได้รับการจัดสรรค่าภาคหลวงปิโตรเลียมที่จัดเก็บได้ภายในเขตมีปัญหาหรือไม่ อย่างไร และการเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้หรือไม่ อย่างไร
3. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี)