สถานะ : ปิดรับฟังความคิดเห็น รายงานผลการรับฟังความคิดเห็น พิจารณาแล้ว
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. ....
ประเภทร่าง เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่เป็นร่างการเงิน
เสนอโดย นายอนุทิน ชาญวีรกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับคณะ
ข้อมูลประกอบการพิจารณา

 

กรอบระยะเวลาการดำเนินงานสำหรับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้

29 กันยายน 2566 - 13 พฤศจิกายน 2566

 

ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ.  .... ฉบับนี้
เสนอแก้ไขเนื่องจากพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มีบทบัญญัติบางมาตราที่อาจจะขัดต่อหลักการของอนุสัญญาประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิก หรือหลักสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในประเด็นเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินและสิทธิในการประกอบอาชีพของประชาชน การเลือกปฏิบัติ ขาดความเสมอภาค และบังคับใช้กฎหมายโดยไม่เท่าเทียมกัน รวมทั้งมีบทกำหนดโทษที่ไม่เป็นธรรม ซ้ำช้อน และไม่ได้สัดส่วนกับการลงโทษในความผิดทั่วไป เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว รวมทั้งบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและชาวประมงผู้ประกอบอาชีพโดยสุจริตให้ได้รับความเป็นธรรม ตลอดจนส่งเสริมการทำประมงให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศและเกิดประโยชน์สูงสุด จึงแก้ไขเพิ่มเติมเจตนารมณ์ของกฎหมายให้เกิดความชัดเจนและครอบคลุมกิจการประมง และการจัดระเบียบการประมงในประเทศไทยและรองรับการจัดระเบียบการประมงทะเลในน่านน้ำอื่นภายใต้กติการะหว่างประเทศ ทั้งในฐานะของรัฐชายฝั่ง รัฐเจ้าของธง รัฐเจ้าของท่า และรัฐเจ้าของตลาด เพื่อป้องกันมิให้มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยเจตนา เพื่อรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำให้อยู่ในภาวะที่เป็นแหล่งอาหารของมนุษยชาติอย่างยั่งยืน และรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมให้ดำรงอยู่ในสภาพที่เหมาะสมตามแนวทาง กฎเกณฑ์และมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับนับถือในนานาประเทศ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการที่ถูกต้องตามกฎหมายให้ได้รับความสะดวก และได้รับการคุ้มครองในการประกอบอาชีพ รวมทั้งการจัดให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบและพิจารณาลงโทษ และคณะกรรมการมาตรการทางปกครองในการพิจารณาออกคำสั่งตามระดับความรุนแรงของการกระทำความผิดสภาพการกระทำผิด และการกระทำความผิดซ้ำ ตลอดจนกำหนดโทษทางปกครองและโทษทางอาญา
ที่เหมาะสม เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพและป้องกันการกระทำผิด

 

ตารางเปรียบเทียบ ร่างแก้ไขเพิ่มเติม (คลิกเอกสารประกอบ)

ผู้ที่เกี่ยวข้อง

  1. สำนักนายกรัฐมนตรี
  2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  3. กระทรวงการต่างประเทศ
  4. กระทรวงคมนาคม
  5. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  6. กระทรวงพาณิชย์
  7. กระทรวงมหาดไทย
  8. กระทรวงแรงงาน
  9. กระทรวงอุตสาหกรรม
  10. สำนักงานศาลยุติธรรม
  11. กองทัพเรือ
  12. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  13. สำนักงานอัยการสูงสุด
  14. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
  15. ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
  16. สภาเกษตรกรแห่งชาติ
  17. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
  18. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  19. สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย
  20. สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย
  21. ประชาชน

ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็น

  1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดคำนิยามของคำว่า “ทะเลหลวง” “ประมงพื้นบ้าน” และ “ประมงพาณิชย์”
  2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการยกเลิกคำนิยามคำว่า “โรงงาน” และบทบัญญัติเกี่ยวกับการประกอบกิจการของโรงงาน
  3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติและคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด และคุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการทั้ง 2 คณะ
  4. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดให้เจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือสามารถ
    วางประกันสัตว์น้ำได้ ในกรณีที่มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการประมง
  5. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดห้ามมิให้มีการจ่ายเงินรางวัลนำจับตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดนี้
  6. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดให้มีการใช้มาตรการทางปกครองควบคู่กับ
    การใช้โทษทางอาญา
  7. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดให้การกระทำความผิดนอกน่านน้ำไทยของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยเท่านั้น เป็นการกระทำความผิดในราชอาณาจักรไทย ต่อเมื่อเรือประมงนั้นอยู่ในน่านน้ำไทย และได้รับแจ้งให้รัฐไทยดำเนินคดีกับเรือประมงนั้น
  8. ท่านเห็นด้วยหรือไม่  อย่างไร กับการกำหนดให้เจ้าของเรือประมงไทยที่มีขนาดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเมื่อต้องการนำเรือออกจากท่าเพื่อไปทำการประมงต้องติดตั้งอุปกรณ์ติดตามเรือประมง
  9. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการรวมกฎหมายเกี่ยวกับบริหารจัดการการประมงไว้ในฉบับเดียวกัน ทั้งการทำการประมงในน่านน้ำไทย การทำการประมงนอกน่านน้ำไทย การประมงน้ำจืด การส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูป และการตรวจสอบ
  10. ปัจจุบันการดำเนินการตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ท่านคิดว่ามีปัญหาหรือไม่อย่างไร และการเสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้หรือไม่อย่างไร
  11. ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี)