สถานะ : ปิดรับฟังความคิดเห็น รายงานผลการรับฟังความคิดเห็น พิจารณาแล้ว
ร่างพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ประเภทร่าง เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่เป็นร่างการเงิน
เสนอโดย นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับคณะ
ข้อมูลประกอบการพิจารณา

     โดยที่การดำเนินแนวนโยบายของรัฐบาลทั้งในอดีตและปัจจุบัน มักมีการมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐดำเนินกิจกรรม มาตรการ และโครงการตามนโยบายของรัฐบาลโดยให้หน่วยงานของรัฐนั้นเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการไปก่อน โดยรัฐบาลตกลงรับภาระชดเชยค่าใช้จ่ายนั้นในภายหลัง ซึ่งปรากฏว่ารัฐบาลมักไม่ชดเชยค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้ครบถ้วนตามที่ได้ตกลงไว้กับหน่วยงานของรัฐ รวมไปถึงในหลายหน่วยงานของรัฐ มีการทำความตกลงกับกระทรวงการคลังและออกระเบียบเพื่อเก็บรักษาเงินรายได้ส่วนหนึ่งไว้เป็นเงินนอกงบประมาณโดยไม่นำส่งกระทรวงการคลัง เมื่อเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นบ่อยครั้งจึงอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสี่ยงทางการคลังอันจะทำให้เกิดผลเสียอย่างร้ายแรงต่อรัฐในระยะยาว รวมถึงกระทบต่อการประเมินความคุ้มค่าและความโปร่งใสในการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อความมั่นคงมีเสถียรภาพทางการเงิน การคลังของประเทศ และความเป็นอิสระของผู้ประกอบการในการดำเนินกิจการ จึงจำเป็นต้องมีการเปิดเผยข้อมูลซึ่งมีผลเกี่ยวเนื่องกับความเสี่ยงทางการคลังต่อสาธารณะ เพื่อให้มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ตารางเปรียบเทียบ (เอกสารแนบ)

ผู้ที่เกี่ยวข้อง

     1. สำนักนายกรัฐมนตรี

     2. กระทรวงกลาโหม

     3. กระทรวงการคลัง

     4. กระทรวงการต่างประเทศ

     5. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

     6. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

     7. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

     8. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

     9. กระทรวงคมนาคม

     10. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

     11. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

     12. กระทรวงพลังงาน

     13. กระทรวงพาณิชย์

     14. กระทรวงมหาดไทย

     15. กระทรวงยุติธรรม

     16. กระทรวงแรงงาน

     17. กระทรวงวัฒนธรรม

     18. กระทรวงศึกษาธิการ

     19. กระทรวงสาธารณสุข

     20. กระทรวงอุตสาหกรรม

     21. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

     22. สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

     23. การรถไฟแห่งประเทศไทย

     24. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

     25. การประปาส่วนภูมิภาค

     26. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

     27. สถาบันพระปกเกล้า

     28. สำนักงานศาลยุติธรรม

     29. สำนักงานศาลปกครอง

     30. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

     31. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

     32. สำนักงานอัยการสูงสุด

     33. กรุงเทพมหานคร

     34. เมืองพัทยา

     35. ประชาชนทั่วไป

ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็น

     1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่หรือมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการกำหนดให้ต้องรายงานยอดคงค้างของภาระการชดเชยค่าใช้จ่ายของรัฐบาลตามมาตรา 28 ต่อสาธารณะผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของกระทรวงการคลัง

     2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่หรือมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการกำหนดให้เงินนอกงบประมาณของหน่วยงานของรัฐให้นำมาฝากไว้ที่กระทรวงการคลัง เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น และให้ความตกลงระหว่างหน่วยงานของรัฐกับกระทรวงการคลังที่กำหนดให้เงินนอกงบประมาณไม่ต้องฝากไว้ที่กระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นความตกลงที่เกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นอันสิ้นผลไป

     3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่หรือมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการกำหนดให้มีการเปิดเผยรายงานสถานะหนี้สาธารณะ หนี้ภาครัฐ และความเสี่ยงทางการคลังต่อสาธารณะผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของกระทรวงการคลัง เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานดังกล่าวแล้ว

     4. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี)