โดยที่การบริหารราชการแผ่นดินทั้งในส่วนของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระภายใต้รัฐธรรมนูญ รวมถึงการบริหารจัดการภาคเอกชนในองค์กรบรรษัท องค์กรมหาชน และ
ภาคประชาชน นอกจากจะต้องมีวิธีการบริหารจัดการที่ดี เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลแล้ว ยังจำเป็นต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ทางด้านธรรมาภิบาล เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ ศรัทธา และไว้วางใจ ประกอบกับปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ดำเนินการบริหารราชการแผ่นดินตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินทั้งในส่วนของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ
ภายใต้รัฐธรรมนูญ รวมถึงการบริหารจัดการภาคเอกชนในองค์กรบรรษัท องค์กรมหาชน และ
ภาคประชาชน เกิดประสิทธิภาพ เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 65 ที่มีวัตถุประสงค์ให้การบริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ และให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติตามพระราชบัญญัติ
การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 5 และมาตรา 6 เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และขับเคลื่อนธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในทุกองค์กรและทุกภาคส่วน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องใช้ระบบคณะกรรมการ ในการจัดตั้งสภาธรรมาภิบาลแห่งชาติ และสภาธรรมาภิบาลระดับท้องถิ่น จัดสร้างเกณฑ์การประเมินองค์กรและโครงการต่าง ๆ ในกรอบของธรรมาภิบาล หรือทำการประเมินและให้ข้อเสนอแนะในเรื่องธรรมาภิบาลขององค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ องค์กรอิสระและภาคเอกชนในโครงการที่องค์กรเหล่านั้นได้ดำริ หรือตามภารกิจขององค์กรในกรอบของตัวชี้วัดธรรมาภิบาลที่สร้างขึ้น เพื่อให้เกิดการใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
สาระสำคัญ
1. กำหนดคำนิยาม “หน่วยงานของรัฐ” ให้หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือ
ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณหรือกฎหมายอื่น องค์การมหาชน องค์กรอิสระ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ หน่วยงานของรัฐสภา มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่มีกฎหมายกำหนด (ร่างมาตรา 3)
2. กำหนดขอบเขตของหลักธรรมาภิบาล ได้แก่ หลักคุณธรรม หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า (ร่างมาตรา 5)
3. กำหนดให้มีคณะกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติ กำหนดองค์ประกอบ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่ง องค์ประชุมของคณะกรรมการฯ และการตั้งคณะอนุกรรมการ รวมถึงกำหนดให้กรรมการได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด (ร่างมาตรา 6 – ร่างมาตรา 14)
4. กำหนดให้คณะกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติ มีหน้าที่ตรวจสอบและสอดส่องการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและหลักธรรมาภิบาล จัดตั้งสภาธรรมาภิบาลแห่งชาติและสภาธรรมาภิบาลระดับท้องถิ่น จัดสร้างเกณฑ์การประเมินองค์กรและโครงการต่าง ๆ ในกรอบของธรรมาภิบาล เสนอและปรับปรุงเกณฑ์ในการประเมินด้านธรรมาภิบาลในหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน ประเมินและให้ข้อเสนอแนะในเรื่องธรรมาภิบาลขององค์กรต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน
ในโครงการที่องค์กรเหล่านั้นได้ดำริ หรือตามภารกิจขององค์กรในกรอบของตัวชี้วัดธรรมาภิบาล
ที่สร้างขึ้น และจัดตั้งสถาบันพัฒนาธรรมาภิบาลแห่งชาติเพื่อให้ความรู้และส่งเสริมนวัตกรรม
ธรรมาภิบาลเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ รวมถึงส่งเสริมการนำนวัตกรรมธรรมาภิบาลไปใช้ในการพัฒนาประเทศ ตลอดจนพัฒนาการศึกษาในทุกมิติเกี่ยวกับธรรมาภิบาลเพื่อนำความรู้และ
ความเข้าใจในหลักธรรมาภิบาลให้กับประชาชน (ร่างมาตรา 15)
5. กำหนดให้คณะกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติ มีการบังคับใช้กฎหมายในการเป็นองค์กรที่ทำการประเมินและให้ข้อเสนอแนะในเรื่องธรรมาภิบาลขององค์กรต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนในโครงการที่องค์กรเหล่านั้นได้ดำริหรือตามภารกิจขององค์กรในกรอบของตัวชี้วัดธรรมาภิบาลที่สร้างขึ้น เป็นองค์กรในการจัดตั้งสถาบันพัฒนาธรรมาภิบาลแห่งชาติเพื่อให้ความรู้และส่งเสริมนวัตกรรมธรรมาภิบาลเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ และเป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมการนำนวัตกรรมธรรมาภิบาลไปใช้ในการพัฒนาประเทศ รวมถึงพัฒนาการศึกษาในทุกมิติเกี่ยวกับธรรมาภิบาลเพื่อนำความรู้และความเข้าใจในหลักธรรมาภิบาลให้กับประชาชน (ร่างมาตรา 16)
6. กำหนดให้คณะกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติมีการบริหารองค์กรออกเป็น ส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น และสถาบันพัฒนาธรรมาภิบาลแห่งชาติ (ร่างมาตรา 17)
7. กำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหาทำหน้าที่ในการสรรหาและคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติ (ร่างมาตรา 18)
8. กำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติ (สำนักงาน ธ.ภ.ช.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของประธานกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติ (ร่างมาตรา 21)
9. กำหนดให้กิจการของสำนักงานคณะกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน โดยเลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างของสำนักงานฯ ต้องได้รับความคุ้มครองและประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมาย (ร่างมาตรา 22)
10. กำหนดอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติ กำหนดให้มีเลขาธิการคณะกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติ รวมถึงกำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง (ร่างมาตรา 23 – ร่างมาตรา 27)
11. กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติมีรายได้จากเงินที่รัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิม เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความเหมาะสม รายได้และผลประโยชน์อันได้มาจากการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการและสำนักงานฯ และเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้สำนักงานฯ รวมถึงรายได้และดอกผลจากทรัพย์สินของสำนักงานฯ (ร่างมาตรา 28)
1. หน่วยงานของรัฐ ประกอบด้วย
(1) ส่วนราชการ (ราชการส่วนกลาง และราชการส่วนภูมิภาค)
(2) หน่วยงานของรัฐสภา องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรอัยการ
(3) องค์การมหาชน
2. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
3. ธนาคารแห่งประเทศไทย
4. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)
5. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
6. คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)
7. ประชาชนทั่วไป