สถานะ : ปิดรับฟังความคิดเห็น รายงานผลการรับฟังความคิดเห็น
ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ประเภทร่าง เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นร่างการเงิน
เสนอโดย นายวรภพ วิริยะโรจน์ กับคณะ
ข้อมูลประกอบการพิจารณา

โดยที่พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานทำให้บทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน อีกทั้งยังพบว่าในหลายกรณีข้อพิพาทที่เกิดขึ้นมักจะเกิดขึ้นระหว่างรัฐกับเอกชนหรือเอกชนกับเอกชนที่ไม่ได้มีสถานะเท่าเทียมกัน ขาดอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งโอกาสในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม จนเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันในทางกฎหมาย ดังนั้น เพื่อปรับปรุงกฎหมายให้เกิดความเป็นธรรมต่อประชาชนทุกคนอย่างแท้จริงและสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงสมควรปรับปรุงบทบัญญัติในพระราชบัญญัติดังกล่าวให้มีมาตรการที่
เป็นธรรมในการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้อง
ตราพระราชบัญญัตินี้ โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

1. กำหนดให้นำเงินจากกองทุนสิ่งแวดล้อมมาใช้เยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้ได้รับความเสียหาย
จากภยันตรายที่เกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษหรือภาวะมลพิษ อันมีสาเหตุมาจากกิจการหรือโครงการ
ที่ริเริ่ม หรือดำเนินการโดยส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ร่างมาตรา 4)

2. กำหนดให้นำเงินจากกองทุนสิ่งแวดล้อมมาเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้ได้รับความเสียหายจากภยันตรายที่เกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษหรือภาวะมลพิษอันมีสาเหตุมาจากกิจการของเอกชน หรือความเสียหายจากการดำเนินโครงการหรือกิจการที่ก่อผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง โดยให้ถือว่าเงินเยียวยาความเสียหายนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้กองทุนสิ่งแวดล้อมเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากบุคคลที่จะต้องรับผิดตามกฎหมายต่อความเสียหายนั้น (ร่างมาตรา 3 - มาตรา 6)

3. กำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กำหนดหลักเกณฑ์ในการชดเชยเยียวยาความเดือดร้อนหรือความเสียหาย ให้กับผู้ได้รับความเสียหายจากโครงการที่ขอรับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นเงื่อนไขในการอนุญาตโครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 48 ด้วย (ร่างมาตรา 7)

4. กำหนดให้โครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเนื่องจากเป็นโครงการที่มีหรืออาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย หรือส่วนได้เสียของประชาชนหรือชุมชนอย่างรุนแรงนั้น ต้องมีการจัดทำประกันภัยความรับผิดในความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติประกาศกำหนดด้วย (ร่างมาตรา 8)

ผู้ที่เกี่ยวข้อง

  1. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  2. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  3. กระทรวงกลาโหม
  4. กระทรวงการคลัง
  5. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  6. กระทรวงคมนาคม
  7. กระทรวงมหาดไทย
  8. กระทรวงศึกษาธิการ
  9. กระทรวงสาธารณสุข
  10. กระทรวงอุตสาหกรรม
  11. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  12. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
  13. สำนักงบประมาณ
  14. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  15. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรม ชาติและสิ่งแวดล้อม
  16. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  17. กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย
  18. กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
  19. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม
  20. กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
  21. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  22. ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม
  23. นักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม
  24. ประชาชนทั่วไป

ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็น

  1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้นำเงินจากกองทุนสิ่งแวดล้อมมาใช้เยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้ได้รับความเสียหายจากภยันตรายที่เกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษหรือภาวะมลพิษ อันมีสาเหตุมาจากกิจการหรือโครงการที่ริเริ่ม หรือดำเนินการโดยส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ร่างมาตรา 4)
  2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้นำเงินจากกองทุนสิ่งแวดล้อมมาเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้ได้รับความเสียหายจากภยันตรายที่เกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษหรือภาวะมลพิษอันมีสาเหตุมาจากกิจการของเอกชน หรือความเสียหายจากการดำเนินโครงการหรือกิจการที่ก่อผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง โดยให้ถือว่าเงินเยียวยาความเสียหายนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้กองทุนสิ่งแวดล้อมเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากบุคคลที่จะต้องรับผิดตามกฎหมายต่อความเสียหายนั้น (ร่างมาตรา 3 - มาตรา 6)
  3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กำหนดหลักเกณฑ์ในการชดเชยเยียวยาความเดือดร้อนหรือความเสียหาย ให้กับผู้ได้รับความเสียหายจากโครงการที่ขอรับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นเงื่อนไขในการอนุญาตโครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 48 ด้วย (ร่างมาตรา 7)
  4. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้โครงการหรือกิจการหรือการดำเนินการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเนื่องจากเป็นโครงการที่มีหรืออาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย หรือส่วนได้เสียของประชาชนหรือชุมชนอย่างรุนแรงนั้น ต้องมีการจัดทำประกันภัยความรับผิดในความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติประกาศกำหนดด้วย (ร่างมาตรา 8)