สถานะ : ปิดรับฟังความคิดเห็น รายงานผลการรับฟังความคิดเห็น
ร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ประเภทร่าง เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่เป็นร่างการเงิน
เสนอโดย นายพิสิฐ ลี้อาธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กับคณะ
ข้อมูลประกอบการพิจารณา

โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มเติมบทบัญญัติของพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 ให้มีความเหมาะสมกับรูปแบบของรัฐวิสาหกิจ
ที่มีความหลากหลายในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเพื่อให้สอดคล้องกับบทนิยามของคำว่า “รัฐวิสาหกิจ” ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลัง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งการตีความคำว่า “รัฐวิสาหกิจ” ของกฎหมายแต่ละฉบับมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ เพื่อให้การตีความและการบังคับใช้กฎหมายมีความเป็นเอกภาพ โดยกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาให้คำนึงถึงแหล่งที่มาของทุนเป็นสำคัญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

2. สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

ร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้

แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามของคำว่า “รัฐวิสาหกิจ” โดยไม่จำต้องคำนึงเกี่ยวกับรูปแบบและลักษณะของกิจการ หากกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น กิจการของรัฐหรือกองทุน
ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้จัดตั้งขึ้น หน่วยธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ หรือหน่วยงานของรัฐ มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบให้ถือเป็น “รัฐวิสาหกิจ” ตามพระราชบัญญัตินี้ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 4)

ผู้ที่เกี่ยวข้อง

  1. กระทรวงคมนาคม
  2. กระทรวงพลังงาน
  3. กระทรวงมหาดไทย
  4. กระทรวงอุตสาหกรรม
  5. กระทรวงการคลัง
  6. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  7. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  8. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  9. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  10. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  11. กระทรวงกลาโหม
  12. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  13. กระทรวงพาณิชย์
  14. สำนักนายกรัฐมนตรี
  15. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  16. สำนักงานอัยการสูงสุด
  17. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
  18. ประชาชน

ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็น

  1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่ากับการแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามของคำว่า “รัฐวิสาหกิจ” โดยไม่จำต้องคำนึงเกี่ยวกับรูปแบบและลักษณะของกิจการ หากกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น กิจการของรัฐหรือกองทุนซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้จัดตั้งขึ้น หน่วยธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของหรือหน่วยงานของรัฐ มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบให้ถือเป็น “รัฐวิสาหกิจ” ตามพระราชบัญญัตินี้ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 4)
  2. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี)