ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ประเภทร่าง เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นร่างการเงิน
เสนอโดย นายปรีดา บุญเพลิง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กับคณะ
ข้อมูลประกอบการพิจารณา
แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ โดยมีสาระสำคัญ คือ
- กำหนดให้คณะกรรมการหรือผู้ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการ ดำเนินการ ทบทวน กฎ ประกาศ หรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ทุกหกเดือน หากกฎ ประกาศ หรือระเบียบใดก่อให้เกิดปัญหาหรือละเมิดสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ต่อสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้รายงานตามลำดับสายการบังคับบัญชาจนถึงรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการแก้ไขภายในสามสิบวัน พร้อมกับรายงานต่อประธานคณะกรรมาธิการ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชน และกองทุน เพื่อทราบภายในเจ็ดวันทำการนับจากวันที่พบปัญหา หากคณะกรรมการหรือผู้ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการเพิกเฉย หรือไม่ดำเนินการ ให้คณะกรรมการและสายการบังคับบัญชาทั้งหมดจนถึงรัฐมนตรีที่รับผิดชอบดำเนินการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด และจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย (ร่างมาตรา 3)
- กำหนดให้ข้าราชการทุกประเภทที่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มีสิทธิลาออกจากการเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ โดยทำเป็นหนังสือขอลาออกจากหน่วยงานต้นสังกัดถึงคณะกรรมการ เมื่อคณะกรรมการอนุมัติแล้ว ให้กองทุนส่งคืนเงินสะสมและสมทบ และดอกเบี้ยพร้อมผลประโยชน์ต่าง ๆ คืนให้แก่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการผู้นั้น ภายในเจ็ดวันหลังได้รับอนุมัติ (ร่างมาตรา 4)
- กำหนดให้ข้าราชการที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สามารถสมัครเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ โดยทำเป็นหนังสือจากหน่วยงานต้นสังกัดไปถึงคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และเมื่อคณะกรรมการอนุมัติแล้วให้สมาชิกผู้นั้นได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนทันที (ร่างมาตรา 5)
- กำหนดให้การคำนวณบำนาญให้ตั้งเงินเดือนเดือนสุดท้ายหารด้วยสมาสิบคูณด้วยจนำวนปีเวลาราชการไม่เกินสามสิบปี และให้ใช้สูตรคำนวณบำนาญนี้กับข้าราชการประจำทุกประเภท ทั้งที่เป็นและไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่มีชีวิตอยู่ทุกคน (ร่างมาตรา 6)
- กำหนดเพิ่มสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีสิทธิที่จะเลือกรับหรือไม่รับเงินประเดิมและเงินชดเชยก็ได้ เมื่อผู้นั้นออกจากราชการโดยมีคุณสมบัติครบตามมาตรา 48 กรณีที่สมาชิกเลือกรับบำนาญให้ปฏิบัติดังนี้
(1) กรณีถ้าไม่เลือกรับเงินประเดิมและเงินชดเชยให้มีสิทธิได้รับเงินสะสมและเงินสมทบพร้อมผลประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่มาตรา ๔๖ กำหนดไว้ และในการคำนวณบำนาญให้ตั้งเงินเดือนเดือนสุดท้ายหารด้วยสามสิบคูณด้วยจำนวนปีเวลาราชการไม่เกินสามสิบปี ให้กรมบัญชีกลางดำเนินการคำนวณบำนาญให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับจากคำสั่งต้นสังกัดอนุมัติ
(2) กรณีถ้าเลือกรับเงินประเดิมและเงินชดเชย ผู้นั้นต้องมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเลือกรับบำนาญตามมาตรา 48 แต่ต้องมีระยะเวลาหักเงินบำนาญไม่เกินสิบปีและหักไม่เกินร้อยละห้าของเงินบำนาญโดยไม่คิดดอกเบี้ย และเมื่อหักเงินครบก็ให้กรมบัญชีกลางดำเนินการคำนวณบำนาญตามมาตรา 63 ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับจากคำสั่งต้นสังกัดอนุมัติ (ร่างมาตรา 7)
- กำหนดให้เพิ่มข้าราชการทุกประเภทที่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่ได้รับเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม และเงินชดเชยแล้ว และได้คำนวณสูตรคำนวณบำนาญแบบเดิมคืออัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการหารด้วยห้าสิบ แต่ต้องไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้ายไปแล้วให้ดำเนินการ ดังนี้
(1) เงินสะสมและเงินสมทบที่รับไปแล้วตามมาตรา 46 ไม่ต้องส่งคืนเงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(2) เงินประเดิมและเงินชดเชยที่ได้รับไปแล้วไม่ต้องส่งคืนกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้ดำเนินการหักกลบลบหนี้จากเงินบำนาญที่ลดลง โดยการเปรียบเทียบส่วนต่างระหว่างผลลัพธ์ของสูตรคำนวณบำนาญปัจจุบันที่แก้ไขแล้วตามมาตรา 63 คืออัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายหารด้วยสามสิบคูณด้วยจำนวนปีเวลาราชการไม่เกินสามสิบปีลบกับผลลัพธ์สูตรคำนวณบำนาญแบบเดิม คืออัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย คูณด้วยเวลาราชการหารด้วยห้าสิบ แต่ต้องไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย เมื่อทราบยอดจำนวนเงินบำนาญที่ลดลงรวมกันทั้งหมดแล้ว และถูกหักถึงจุดคุ้มทุน หรือเลยจุดคุ้มทุนแล้วให้กรมบัญชีกลางดำเนินการคำนวณบำนาญที่แก้ไขใหม่ คือให้ตั้งเงินเดือนเดือนสุดท้ายหารด้วยสามสิบคูณด้วยจำนวนปีเวลาราชการไม่เกินสามสิบปี พร้อมทั้งให้กรมบัญชีกลางจ่ายเงินส่วนที่หักเกินคืนให้แก่ราชการบำนาญทุกประเภทที่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ร่างมาตรา 7)
- กำหนดให้เพิ่มกรมบัญชีกลางดำเนินการจ่ายคืนเงินบำเหน็จดำรงชีพที่ลดลงไปจากสูตรคำนวณบำนาญแบบเดิม คือ อัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย คูณด้วยเวลาราชการหารด้วยห้าสิบแต่ต้องไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้ายให้แก่ข้าราชการบำนาญทุกประเภทที่เป้นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญทุกคน ภายในสามสิบวันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ร่างมาตรา 7)
- กำหนดให้เพิ่มค่าครองชีพทุกปีให้แก่ราชการบำนาญทุกประเภททั้งที่เป็นและไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แต่ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของเงินบำนาญที่รับอยู่ในแต่ละเดือน หรือในรอบปี ภายในสามสิบวันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ร่างมาตรา 7)
ผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
- กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
- สมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- ข้าราชการซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
- ประชาชนทั่วไป
ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็น
- ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดให้คณะกรรมการหรือผู้ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการ ดำเนินการ ทบทวน กฎ ประกาศ หรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ทุกหกเดือน หากกฎ ประกาศ หรือระเบียบใดก่อให้เกิดปัญหาหรือละเมิดสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ต่อสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้รายงานตามลำดับสายการบังคับบัญชาจนถึงรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการแก้ไขภายในสามสิบวัน พร้อมกับรายงานต่อประธานคณะกรรมาธิการ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชน และกองทุน เพื่อทราบภายในเจ็ดวันทำการนับจากวันที่พบปัญหา หากคณะกรรมการหรือผู้ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการเพิกเฉย หรือไม่ดำเนินการ ให้คณะกรรมการและสายการบังคับบัญชาทั้งหมดจนถึงรัฐมนตรีที่รับผิดชอบดำเนินการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด และจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย (ร่างมาตรา 3)
- ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดให้ข้าราชการทุกประเภทที่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มีสิทธิลาออกจากการเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ โดยทำเป็นหนังสือขอลาออกจากหน่วยงานต้นสังกัดถึงคณะกรรมการ เมื่อคณะกรรมการอนุมัติแล้ว ให้กองทุนส่งคืนเงินสะสมและสมทบ และดอกเบี้ยพร้อมผลประโยชน์ต่าง ๆ คืนให้แก่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการผู้นั้น ภายในเจ็ดวันหลังได้รับอนุมัติ (ร่างมาตรา 4)
- ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดให้ข้าราชการที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สามารถสมัครเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ โดยทำเป็นหนังสือจากหน่วยงานต้นสังกัดไปถึงคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และเมื่อคณะกรรมการอนุมัติแล้วให้สมาชิกผู้นั้นได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนทันที (ร่างมาตรา 5)
- ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดให้การคำนวณบำนาญให้ตั้งเงินเดือนเดือนสุดท้ายหารด้วยสมาสิบคูณด้วยจนำวนปีเวลาราชการไม่เกินสามสิบปี และให้ใช้สูตรคำนวณบำนาญนี้กับข้าราชการประจำทุกประเภท ทั้งที่เป็นและไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่มีชีวิตอยู่ทุกคน (ร่างมาตรา ๖)
- ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดเพิ่มสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีสิทธิที่จะเลือกรับหรือไม่รับเงินประเดิมและเงินชดเชยก็ได้ เมื่อผู้นั้นออกจากราชการโดยมีคุณสมบัติครบตามมาตรา 48 กรณีที่สมาชิกเลือกรับบำนาญให้ปฏิบัติดังนี้
(1) กรณีถ้าไม่เลือกรับเงินประเดิมและเงินชดเชยให้มีสิทธิได้รับเงินสะสมและเงินสมทบพร้อมผลประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่มาตรา 46 กำหนดไว้ และในการคำนวณบำนาญให้ตั้งเงินเดือนเดือนสุดท้ายหารด้วยสามสิบคูณด้วยจำนวนปีเวลาราชการไม่เกินสามสิบปี ให้กรมบัญชีกลางดำเนินการคำนวณบำนาญให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับจากคำสั่งต้นสังกัดอนุมัติ
(2) กรณีถ้าเลือกรับเงินประเดิมและเงินชดเชย ผู้นั้นต้องมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเลือกรับบำนาญตามมาตรา 48 แต่ต้องมีระยะเวลาหักเงินบำนาญไม่เกินสิบปีและหักไม่เกินร้อยละห้าของเงินบำนาญโดยไม่คิดดอกเบี้ย และเมื่อหักเงินครบก็ให้กรมบัญชีกลางดำเนินการคำนวณบำนาญตามมาตรา 63 ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับจากคำสั่งต้นสังกัดอนุมัติ (ร่างมาตรา 7)
- ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดให้เพิ่มข้าราชการทุกประเภทที่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่ได้รับเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม และเงินชดเชยแล้ว และได้คำนวณสูตรคำนวณบำนาญแบบเดิมคืออัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการหารด้วยห้าสิบ แต่ต้องไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้ายไปแล้วให้ดำเนินการ ดังนี้
(1) เงินสะสมและเงินสมทบที่รับไปแล้วตามมาตรา ๔๖ ไม่ต้องส่งคืนเงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(2) เงินประเดิมและเงินชดเชยที่ได้รับไปแล้วไม่ต้องส่งคืนกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้ดำเนินการหักกลบลบหนี้จากเงินบำนาญที่ลดลง โดยการเปรียบเทียบส่วนต่างระหว่างผลลัพธ์ของสูตรคำนวณบำนาญปัจจุบันที่แก้ไขแล้วตามมาตรา ๖๓ คืออัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายหารด้วยสามสิบคูณด้วยจำนวนปีเวลาราชการไม่เกินสามสิบปีลบกับผลลัพธ์สูตรคำนวณบำนาญแบบเดิม คืออัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย คูณด้วยเวลาราชการหารด้วยห้าสิบ แต่ต้องไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย เมื่อทราบยอดจำนวนเงินบำนาญที่ลดลงรวมกันทั้งหมดแล้ว และถูกหักถึงจุดคุ้มทุน หรือเลยจุดคุ้มทุนแล้วให้กรมบัญชีกลางดำเนินการคำนวณบำนาญที่แก้ไขใหม่ คือให้ตั้งเงินเดือนเดือนสุดท้ายหารด้วยสามสิบคูณด้วยจำนวนปีเวลาราชการไม่เกินสามสิบปี พร้อมทั้งให้กรมบัญชีกลางจ่ายเงินส่วนที่หักเกินคืนให้แก่ราชการบำนาญทุกประเภทที่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ร่างมาตรา 7)
- ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดให้เพิ่มกรมบัญชีกลางดำเนินการจ่ายคืนเงินบำเหน็จดำรงชีพที่ลดลงไปจากสูตรคำนวณบำนาญแบบเดิม คือ อัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย คูณด้วยเวลาราชการหารด้วยห้าสิบแต่ต้องไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้ายให้แก่ข้าราชการบำนาญทุกประเภทที่เป้นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญทุกคน ภายในสามสิบวันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ร่างมาตรา 7)
- ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดให้เพิ่มค่าครองชีพทุกปีให้แก่ราชการบำนาญทุกประเภททั้งที่เป็นและไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แต่ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของเงินบำนาญที่รับอยู่ในแต่ละเดือน หรือในรอบปี ภายในสามสิบวันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ร่างมาตรา 7)