โดยที่พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน
แต่ผู้สูงอายุกลับไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐอย่างเพียงพอเหมาะสม อีกทั้งกฎหมายดังกล่าวยังเป็นกฎหมายแม่บทในการคุ้มครอง ส่งเสริม และสนับสนุนผู้สูงอายุในเรื่องต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ อำนาจและหน้าที่ของกรมกิจการผู้สูงอายุ ส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุจากสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพเป็นสิทธิได้รับบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า เพื่อสร้างหลักประกันด้านรายได้ที่เพียงพอในแต่ละเดือนไม่น้อยกว่าระดับรายได้ตามเส้นแบ่งความยากจนที่กำหนดโดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสอดคล้องกับนโยบายและมาตรการของรัฐบาลในการให้เงินบำนาญพื้นฐานเพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุเพื่อให้ได้รับสวัสดิการที่จำเป็นและเพียงพอแก่การยังชีพตามหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และยังได้เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. เปลี่ยนชื่อพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เป็น “พระราชบัญญัติผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2546” (ร่างมาตรา 3)
2. แก้ไขนิยามกองทุน จาก “กองทุนผู้สูงอายุ” เป็น “กองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ” และแก้ไขนิยามคณะกรรมการ จาก “คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ” เป็น “คณะกรรมการผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ” (ร่างมาตรา 4)
3. ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ (ร่างมาตรา 5 และร่างมาตรา 6)
4. กำหนดอำนาจและหน้าที่กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ ในส่วนที่เกี่ยวกับการคุ้มครอง ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ รวมทั้ง รับผิดชอบงานธุรการและงานวิชาการของคณะกรรมการ และอำนาจและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแต่เดิมเป็นหน้าที่ของสำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ร่างมาตรา 7)
5. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการจัดทำทะเบียนรายชื่อของผู้สูงอายุที่มีสิทธิหรือเข้าเกณฑ์ได้รับสิทธิหรือจะได้รับบำนาญพื้นฐาน โดยให้เป็นหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นยกเว้นองค์การบริหารส่วนจังหวัด และกำหนดหน้าที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่และอำนาจจัดทำงบประมาณประจำปีเพื่อจ่ายบำนาญพื้นฐาน (ร่างมาตรา 8)
6. ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสิทธิผู้สูงอายุให้ได้รับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนในด้านการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพเป็นรายเดือนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม (ร่างมาตรา 9)
7. ยกเลิกสิทธิที่จะได้รับการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย เนื่องจากได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสิทธิผู้สูงอายุขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 10)
8. จัดตั้งกองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับใช้จ่ายสวัสดิการต่าง ๆ และบำนาญพื้นฐานให้แก่ผู้สูงอายุ แทนกองทุนผู้สูงอายุเดิม (ร่างมาตรา 11)
9. กำหนดอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ของกองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ กำหนดผู้แทนกองทุนผู้สูงอายุบำนาญพื้นฐานแห่งชาติในกิจการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอก จัดตั้งสำนักงานกองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติเพื่อทำหน้าที่ธุรการและวิชาการให้กับกองทุน และกำหนดวิธีการบริหารจัดการกองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ (ร่างมาตรา 12)
10. แก้ไของค์ประกอบเงินกองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ (ร่างมาตรา 13 และ ร่างมาตรา 14)
11. กำหนดวิธีการเรียกเก็บเงินบำรุงกองทุนจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้าสุรา ยาสูบ น้ำมันเชื้อเพลิง หรือรถ โดยให้กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรเป็นผู้ดำเนินการเรียกเก็บเงินบำรุงกองทุน และให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตในส่วนดังกล่าวได้รับการยกเว้น ลดหย่อน หรือคืนเงินบำรุงกองทุน (ร่างมาตรา 15)
12. ยกเลิกหลักเกณฑ์การยกเว้น ลดหย่อน หรือคืนเงินบำรุงกองทุนแก่ผู้เสียภาษีสรรพสามิต
ในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้าสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 15/3 ที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้แล้ว (ร่างมาตรา 16)
13. กำหนดรายได้กองทุนให้มีรายได้จากการออกสลากตามกฎหมายว่าด้วยสำนักงาน
สลากกินแบ่งรัฐบาล เงินบำรุงที่ได้จากส่วนแบ่งจากค่าสัมปทานหรือการอนุญาตในกิจการสื่อสาร วิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม ค่าภาคหลวงแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ เงินบำรุงจากภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ เงินบำรุงที่รัฐได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน ทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนที่คลังได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารทุนหมุนเวียน เงินบำรุงที่ได้จากภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยส่งเสริม
การลงทุนและเงินบำรุงที่ได้จากส่วนแบ่งรายได้จากค่าสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม (ร่างมาตรา 17)
14. กำหนดหลักเกณฑ์การลดหย่อนการคำนวณภาษีเงินได้สำหรับผู้บริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่กองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ (ร่างมาตรา 18)
15. กำหนดให้มีระบบงานและฐานข้อมูลกองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ (ร่างมาตรา 19)
16. กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติขึ้นแทนคณะกรรมการบริหารกองทุน (ร่างมาตรา 20)
17. แก้ไขชื่อคณะกรรมการบริหารกองทุน เป็นคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ เพื่อให้สามารถนำหลักเกณฑ์การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้น การประชุม และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ รวมถึงการจัดทำงบดุลและบัญชีเพื่อส่งผู้สอบบัญชีมาใช้บังคับแก่คณะกรรมการดังกล่าว (ร่างมาตรา 21)
18. กำหนดอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ (ร่างมาตรา 22)
19. กำหนดอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ ได้แก่คณะอนุกรรมการบริหารกิจการบำนาญพื้นฐาน เพื่อพิจารณากลั่นกรองแผนงานโครงการ ประมาณการวงเงินของกองทุน เพื่อสมทบงบประมาณประจำปีในการจ่ายบำนาญพื้นฐาน และคณะอนุกรรมการลงทุนและจัดหาผลประโยชน์และรายได้แก่กองทุน ให้มีหน้าที่เกี่ยวกับการพิจารณากำหนดกรอบวงเงิน วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการนำเงินกองทุนบางส่วนไปลงทุนเพื่อจัดหารายได้กองทุน รวมถึงการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอื่นตามความจำเป็น
กำหนดหลักเกณฑ์การได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนอื่นของคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการ (ร่างมาตรา 23)
20. กำหนดรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวงนั้น (ร่างมาตรา 24)
21. กำหนดบทเฉพาะกาล ให้ในระยะแรกของการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้แล้วให้ปรับเปลี่ยนชื่อ “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” เป็น “บำนาญพื้นฐาน” โดยให้จ่ายแก่ประชาชนผู้สูงอายุในอัตราเดียวเท่ากันทุกเดือนจำนวนไม่น้อยกว่าเส้นแบ่งความยากจน จำนวนสามพันบาท และให้มีการศึกษาเพื่อปรับปรุงอัตราการจ่าย
ทุกสามปี (ร่างมาตรา 25)
22. กำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับ
บทเฉพาะกาลที่กำหนดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาปรับอัตราการรับบำนาญพื้นฐานของผู้สูงอายุให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาตามมาตรา 25 (ร่างมาตรา 26)
1. กระทรวงการคลัง
2. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
3. กระทรวงคมนาคม
4. กระทรวงพลังงาน
5. กระทรวงมหาดไทย
6. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
7. สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการเปลี่ยนชื่อพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เป็น “พระราชบัญญัติผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2546” (ร่างมาตรา 3)
2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ไขนิยามกองทุน จาก “กองทุนผู้สูงอายุ” เป็น “กองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ” และแก้ไขนิยามคณะกรรมการ จาก “คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ” เป็น “คณะกรรมการผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ” (ร่างมาตรา 4)
3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ (ร่างมาตรา 5 และร่างมาตรา 6)
4. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีหน้าที่และอำนาจในส่วนที่เกี่ยวกับการคุ้มครอง ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ รวมทั้ง รับผิดชอบงานธุรการและงานวิชาการของคณะกรรมการ และหน้าที่และอำนาจอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแต่เดิมเป็นหน้าที่และอำนาจของสำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ร่างมาตรา 7)
5. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการจัดทำทะเบียนรายชื่อของผู้สูงอายุที่มีสิทธิหรือเข้าเกณฑ์ได้รับสิทธิหรือจะได้รับบำนาญพื้นฐาน โดยให้เป็นหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่น ยกเว้นองค์การบริหารส่วนจังหวัด และกำหนดหน้าที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่และอำนาจจัดทำงบประมาณประจำปีเพื่อจ่ายบำนาญพื้นฐาน (ร่างมาตรา 8)
6. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสิทธิผู้สูงอายุให้ได้รับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนในด้านการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพเป็นรายเดือนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม (ร่างมาตรา 9)
7. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการยกเลิกสิทธิที่จะได้รับการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย เนื่องจากได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสิทธิผู้สูงอายุขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 10)
8. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดตั้งกองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับใช้จ่ายสวัสดิการต่าง ๆ และบำนาญพื้นฐานให้แก่ผู้สูงอายุ แทนกองทุนผู้สูงอายุเดิม (ร่างมาตรา 11)
9. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ของกองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ กำหนดผู้แทนกองทุนผู้สูงอายุบำนาญพื้นฐานแห่งชาติในกิจการที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอก จัดตั้งสำนักงานกองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติเพื่อทำหน้าที่ธุรการและวิชาการให้กับกองทุน และกำหนดวิธีการบริหารจัดการกองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ (ร่างมาตรา 12)
10. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ไของค์ประกอบเงินกองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ (ร่างมาตรา 13 และร่างมาตรา 14)
11. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดวิธีการเรียกเก็บเงินบำรุงกองทุนจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้าสุรา ยาสูบ น้ำมันเชื้อเพลิง หรือรถ โดยให้กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรเป็นผู้ดำเนินการเรียกเก็บเงินบำรุงกองทุน และให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตในส่วนดังกล่าวได้รับการยกเว้น ลดหย่อน หรือคืนเงินบำรุงกองทุน (ร่างมาตรา 15)
12. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการยกเลิกหลักเกณฑ์การยกเว้น ลดหย่อน หรือคืนเงินบำรุงกองทุนแก่ผู้เสียภาษีสรรพสามิต ในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้าสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 15/3 ที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้แล้ว (ร่างมาตรา 16)
13. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดรายได้กองทุนให้มีรายได้จากการออกสลากตามกฎหมายว่าด้วยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เงินบำรุงที่ได้จากส่วนแบ่งจากค่าสัมปทานหรือการอนุญาตในกิจการสื่อสาร วิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม ค่าภาคหลวงแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ เงินบำรุงจากภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ เงินบำรุงที่รัฐได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน ทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนที่คลังได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารทุนหมุนเวียน เงินบำรุงที่ได้จากภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยส่งเสริมการลงทุนและเงินบำรุงที่ได้จากส่วนแบ่งรายได้จากค่าสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม (ร่างมาตรา 17)
14. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดหลักเกณฑ์การลดหย่อนการคำนวณภาษีเงินได้สำหรับผู้บริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่กองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ (ร่างมาตรา 18)
15. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้มีระบบงานและฐานข้อมูลกองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ (ร่างมาตรา 19)
16. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติขึ้นแทนคณะกรรมการบริหารกองทุน (ร่างมาตรา 20)
17. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ไขชื่อคณะกรรมการบริหารกองทุน เป็น “คณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ” เพื่อให้สามารถนำหลักเกณฑ์การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้น การประชุม และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ รวมถึงการจัดทำงบดุลและบัญชีเพื่อส่งผู้สอบบัญชีมาใช้บังคับแก่คณะกรรมการดังกล่าว (ร่างมาตรา 21)
18. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ (ร่างมาตรา 22)
19. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ ได้แก่คณะอนุกรรมการบริหารกิจการบำนาญพื้นฐาน เพื่อพิจารณากลั่นกรองแผนงานโครงการ ประมาณการวงเงินของกองทุน เพื่อสมทบงบประมาณประจำปีในการจ่ายบำนาญพื้นฐาน และคณะอนุกรรมการลงทุนและจัดหาผลประโยชน์และรายได้แก่กองทุน ให้มีหน้าที่เกี่ยวกับการพิจารณากำหนดกรอบวงเงิน วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการนำเงินกองทุนบางส่วนไปลงทุนเพื่อจัดหารายได้กองทุน รวมถึงการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอื่นตามความจำเป็น กำหนดหลักเกณฑ์การได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนอื่นของคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการ (ร่างมาตรา 23)
20. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ หรือระเบียบเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวงนั้น (ร่างมาตรา 24)
21. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดบทเฉพาะกาล ให้ในระยะแรกของการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้แล้วให้ปรับเปลี่ยนชื่อ “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” เป็น “บำนาญพื้นฐาน” โดยให้จ่ายแก่ประชาชนผู้สูงอายุในอัตราเดียวเท่ากันทุกเดือนจำนวนไม่น้อยกว่าเส้นแบ่งความยากจน จำนวนสามพันบาท และให้มีการศึกษาเพื่อปรับปรุงอัตราการจ่ายทุกสามปี (ร่างมาตรา 25)
22. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับบทเฉพาะกาลที่กำหนดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาปรับอัตราการรับบำนาญพื้นฐานของผู้สูงอายุให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาตามมาตรา 25 (ร่างมาตรา 26)