สถานะ : ปิดรับฟังความคิดเห็น รายงานผลการรับฟังความคิดเห็น
ร่างพระราชบัญญัติพืชควบคุมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ พ.ศ. ....
ประเภทร่าง เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นร่างการเงิน
เสนอโดย นายอนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กับคณะ
ข้อมูลประกอบการพิจารณา

ให้มีกฎหมายว่าด้วยพืชควบคุมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ โดยมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้

                    1.   กำหนดบทนิยาม (ร่างมาตรา 4) เช่น

                          “พืชควบคุม” หมายความว่า พืชที่มีสารเสพติดเป็นองค์ประกอบ ที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

                          “ผลิตภัณฑ์ควบคุม” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเสพติดในสัดส่วนที่คณะกรรมการกำหนด และต้องได้รับการสั่งจ่ายจากผู้มีสิทธิสั่งจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้

                          “บริโภค” หมายความว่า การนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใดโดยรู้อยู่ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ควบคุม

                          “ปลูก” หมายความว่า การเพาะปลูกหรือการกระทำไม่ว่าด้วยวิธีใดโดยมีวัตถุประสงค์ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น

                          “แปรรูป” หมายความว่า การปรุงแต่งหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพหรือคุณสมบัติของพืชควบคุม

                          “ผู้มีสิทธิสั่งจ่าย” หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาเวชกรรม
ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพสัตวแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพสัตวแพทย์ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพ
การแพทย์แผนไทย และอื่น ๆ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

                    2.   กำหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการพืชควบคุมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์แห่งชาติ" ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อัยการสูงสุดเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม อธิบดีกรมศุลกากร อธิบดีกรมสรรพสามิต อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เลขาธิการ
คณะกรรมการอาหารและยา นายกแพทยสภา นายกสภาการแพทย์แผนไทย นายกสภาเภสัชกรรม นายกสภาสัตวแพทย์ ประธานกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนจีน นายกทันตแพทยสภา ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติประธานหอการค้าไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินเจ็ดคนซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ ให้ผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการและรองผู้อำนวยการที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ช่วยเลขานุการ (ร่างมาตรา 6)

                    3.   กำหนดให้กรรมการมีอำนาจหน้าที่ เช่น กำหนดประเภทของสถานประกอบการที่ได้รับอนุญาต หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข ต่าง ๆ ในการนำเข้า นำผ่าน ส่งออก ครอบครองปลูก แปรรูป ผลิตและจำหน่าย พิจารณาพักและเพิกถอนใบอนุญาต กำหนดหลักเกณฑ์การตรวจวิเคราะห์ ออกระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของสถาบัน และสามารถแต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นมาทำหน้าที่ตามที่มอบหมายได้ (ร่างมาตรา 9)

                    4.   กำหนดให้มีสถาบันพืชควบคุมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์แห่งชาติ โดยเป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะนิติบุคคล ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี และให้ถือว่าข้าราชการของสถาบันเป็นข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มีสิทธิและสวัสดิการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนอื่น (ร่างมาตรา 11)

                    5.   กำหนดให้สถาบันพืชควบคุมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์แห่งชาติเป็นหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการพืชควบคุมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์แห่งชาติ มีหน้าที่และอำนาจ เช่น รับซื้อผลิตภัณฑ์ควบคุมจากผู้รับอนุญาตปลูกหรือผลิต จำหน่ายให้กับผู้มีสิทธิสั่งจ่าย รับแจ้ง และขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ควบคุม กำหนดขนาดพื้นที่เพาะปลูก ดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดจากพืช (ร่างมาตรา 13)

                    6.   กำหนดให้ทรัพย์สินของสถาบันพืชควบคุมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์แห่งชาติไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับดี และรายได้ของสถาบันมาจากเงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลพึงจัดสรรให้เป็นรายปีโดยตรงอย่างเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจ ค่าธรรมเนียมขายในอัตราไม่เกินร้อยละสิบของราคาผลิตภัณฑ์ควบคุม ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน เบี้ยปรับ และค่าบริการต่าง ๆ ของสถาบัน รายได้จากการจำหน่ายพืชและผลิตภัณฑ์ควบคุม รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้รับมาจากการใช้ที่ราชพัสดุ (ร่างมาตรา 14)

                    7.   กำหนดให้รายได้ของสถาบันพืชควบคุมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์แห่งชาติกึ่งหนึ่งนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน (ร่างมาตรา 15)

                    8.   กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ควบคุมไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ (ร่างมาตรา 26)

                    9.   กำหนดให้การปลูก แปรรูปผลิต จำหน่าย ขนส่ง ครอบครอง นำเข้า ส่งออก จะต้องขออนุญาต (ร่างมาตรา 28) เว้นแต่ เป็นการนำติดตัวเข้ามาในราชอาณาจักรไม่เกินจำนวนที่จำเป็นต้องใช้เฉพาะตัวได้สามสิบวัน หรือเป็นการนำเข้ามาโดยหน่วยงานราชการที่มีหน้าที่ตามกฎหมายซึ่งต้องแสดงรายละเอียดการนำเข้าต่อสถาบันภายในสามสิบวันนับแต่ดำเนินการ หรือเป็นการนำเข้าของสถานพยาบาลที่จำเป็นสำหรับใช้ในผู้ป่วยเฉพาะรายไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือเป็นการครอบครองของผู้ป่วยสำหรับบริโภคทางการแพทย์ หรือเป็นการปลูกสำหรับใช้ประโยชน์เฉพาะครัวเรือนของตนในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยความยินยอมของคณะกรรมการชุมชน หรือคณะกรรมการหมู่บ้าน (ร่างมาตรา 29)

                          ผู้ปลูกพืชควบคุมที่ไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หากทำเพื่อจำหน่ายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                          ผู้ผลิต นำเข้า ส่งออกพืชควบคุมที่ไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท หากทำเพื่อจำหน่ายต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสามแสนบาท (ร่างมาตรา 47)

                          ผู้มีไว้ครอบครองเพื่อจำหน่ายพืชควบคุมที่ไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หากมีเกินจำนวนที่คณะกรรมการประกาศกำหนดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท (ร่างมาตรา 48)

                    10. กำหนดให้ผู้รับอนุญาตที่จะเลิกกิจการต้องแจ้งแก่ผู้อนุญาตทราบล่วงหน้า (ร่างมาตรา 30) และให้สามารถขายของที่เหลือให้แก่ผู้รับอนุญาตรายอื่นได้ (รางมาตรา 32) กรณีผู้รับอนุญาตตายและมีทายาท สามารถขออนุญาตประกอบกิจการต่อได้จนกว่าใบอนุญาตจะสิ้นอายุ หากตรวจสอบแล้วพบว่ามีคุณสมบัติเป็นไปตามกฎหมายกำหนด ให้แสดงความจำนงเป็นผู้รับอนุญาตในการประกอบกิจการต่อไปได้ (ร่างมาตรา 33) สำหรับการนำเข้าจะต้องผ่านการตรวจสอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านนำเข้าตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง (ร่างมาตรา 34)

                    11. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปในสถานที่ของผู้รับอนุญาตในระหว่างเวลาทำการโดยต้องแสดงหนังสือที่ได้รับมอบหมายให้กระทำการจากผู้อนุญาตก่อน และสามารถนำพืชควบคุมหรือผลิตภัณฑ์ควบคุมมาเป็นตัวอย่างในการตรวจวิเคราะห์ ยึดหรืออายัดของที่มีไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ โดยผู้รับอนุญาต
และผู้มีหน้าที่ต้องอำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามสมควร (ร่างมาตรา 35) โดยในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตร (ร่างมาตรา 36) และให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา (ร่างมาตรา 37)

                    12. กำหนดให้ผู้รับอนุญาตอาจถูกพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาตได้ หากผู้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยคณะกรรมการให้ความเห็นชอบแก่ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตครั้งละไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน หากฟ้องผู้รับอนุญาตต่อศาล ผู้อนุญาตมีสิทธิสั่งพักใช้ได้ตามที่สมควรหรือจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดก็ได้ (ร่างมาตรา 38)

                    13. กำหนดให้ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ควบคุม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท (ร่างมาตรา 49) เว้นได้เป็นการกระทำตามคำสั่งของผู้มีสิทธิสั่งจ่าย (ร่างมาตรา 44)

                    14. กำหนดให้ผู้ที่จะนำผ่านซึ่งพืชควบคุมหรือผลิตภัณฑ์ควบคุมที่จะออกนอกราชอาณาจักร จะต้องมีใบอนุญาตของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศที่ส่งออก และจะต้องนำผ่านออกไปนอกราชอาณาจักรไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันนำเข้า หากเกินกำหนดเวลาพนักงานศุลกากรต้องรายงานให้ผู้อำนวยการทราบ และผู้อำนวยการมีอำนาจออกคำสั่งให้นำออกไปนอกราชอาณาจักรภายในหกสิบวันนับแต่ออกคำสั่งและสามารถยึดพืชควบคุมหรือผลิตภัณฑ์ควบคุมให้เป็นของสถาบันได้หากผู้นำผ่านไม่ปฏิบัติตาม (ร่างมาตรา 45)

ผู้ที่เกี่ยวข้อง

                    1.   กระทรวงสาธารณสุข

                          1.1 กรมการแพทย์

                          1.2 กรมสุขภาพจิต

                          1.3 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

                          1.4 กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

                          1.5 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

                          1.6 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

                    2.   กระทรวงมหาดไทย

                    3.   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

                          3.1 กรมวิชาการเกษตร

                          3.2 กรมส่งเสริมการเกษตร

                          3.3 กรมส่งเสริมสหกรณ์

                    4.   กระทรวงการคลัง

                          4.1 กรมศุลกากร 

                          4.2 กรมสรรพสามิต

                    5.   กระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

                    6.   กระทรวงอุตสาหกรรม

                    7.   สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

                    8.   สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

                    9.   สำนักงานอัยการสูงสุด

                    10. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

                    11. แพทยสภา

                    12. สภาการแพทย์แผนไทย

                    13. สภาเภสัชกรรม

                    14. สัตวแพทยสภา

                    15. ทันตแพทยสภา

                    16. สภาเกษตรกรแห่งชาติ

                    17. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

                    18. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็น

  1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดบทนิยาม เช่น "พืชควบคุม" หมายความว่า พืชที่มีสารเสพติดเป็นองค์ประกอบ ที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา "ผลิตภัณฑ์ควบคุม" หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเสพติดในสัดส่วนที่คณะกรรมการกำหนด และต้องได้รับการสั่งจ่ายจากผู้มีสิทธิสั่งจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ "บริโภค" หมายความว่า การนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใดโดยรู้อยู่ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ควบคุม "ปลูก" หมายความว่า การเพาะปลูกหรือการกระทำไม่ว่าด้วยวิธีใดโดยมีวัตถุประสงค์ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น "แปรรูป" หมายความว่า การปรุงแต่งหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพหรือคุณสมบัติของพืชควบคุม "ผู้มีสิทธิสั่งจ่าย" หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตกรรมผู้ประกอบวิชาชีพสัตวแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพสัตวแพทย์ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และอื่น ๆ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ร่างมาตรา 4)
  2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการพืชควบคุมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์แห่งชาติ" ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อัยการสูงสุดเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม อธิบดีกรมศุลกากร อธิบดีกรมสรรพสามิต อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา นายกแพทยสภา นายกสภาการแพทย์แผนไทย นายกสภาเภสัชกรรม นายกสภาสัตวแพทย์ ประธานกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนจีนนายกทันตแพทยสภา ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประธานหอการค้าไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินเจ็ดคนซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ ให้ผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการและรองผู้อำนวยการที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ช่วยเลขานุการ (ร่างมาตรา 6)
  3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้กรรมการมีอำนาจหน้าที่ เช่น กำหนดประเภทของสถานประกอบการที่ได้รับอนุญาต หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข ต่าง ๆ ในการนำเข้า นำผ่าน ส่งออก ครอบครองปลูก แปรรูป ผลิตและจำหน่าย พิจารณาพักและเพิกถอนใบอนุญาต กำหนดหลักเกณฑ์การตรวจวิเคราะห์ ออกระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของสถาบัน และสามารถแต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นมาทำหน้าที่ตามที่มอบหมายได้ (ร่างมาตรา 9)
  4. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้มีสถาบันพืชควบคุมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์แห่งชาติ โดยเป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะนิติบุคคล ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี และให้ถือว่าข้าราชการของสถาบันเป็นข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มีสิทธิและสวัสดิการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนอื่น (ร่างมาตรา 11)
  5. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้สถาบันพืชควบคุมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์แห่งชาติเป็นหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการพืชควบคุมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์แห่งชาติ มีหน้าที่และอำนาจ เช่น รับซื้อผลิตภัณฑ์ควบคุมจากผู้รับอนุญาตปลูกหรือผลิต จำหน่ายให้กับผู้มีสิทธิสั่งจ่าย รับแจ้ง และขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ควบคุม กำหนดขนาดพื้นที่เพาะปลูก ดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดจากพืช (ร่างมาตรา 13)
  6. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้ทรัพย์สินของสถาบันพืชควบคุมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์แห่งชาติไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับดี และรายได้ของสถาบันมาจากเงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลพึงจัดสรรให้เป็นรายปีโดยตรงอย่างเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจ ค่าธรรมเนียมขายในอัตราไม่เกินร้อยละสิบของราคาผลิตภัณฑ์ควบคุม ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน เบี้ยปรับ และค่าบริการต่าง ๆ ของสถาบัน รายได้จากการจำหน่ายพืชและผลิตภัณฑ์ควบคุม รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้รับมาจากการใช้ที่ราชพัสดุ (ร่างมาตรา 14)
  7. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้รายได้ของสถาบันพืชควบคุมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์แห่งชาติกึ่งหนึ่งนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน (ร่างมาตรา 15)
  8. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์ควบคุมไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ (ร่างมาตรา 26)
  9. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้การปลูก แปรรูปผลิต จำหน่าย ขนส่ง ครอบครอง นำเข้า ส่งออก จะต้องขออนุญาต (ร่างมาตรา 28) เว้นแต่ เป็นการนำติดตัวเข้ามาในราชอาณาจักรไม่เกินจำนวนที่จำเป็นต้องใช้เฉพาะตัวได้สามสิบวัน หรือเป็นการนำเข้ามาโดยหน่วยงานราชการที่มีหน้าที่ตามกฎหมายซึ่งต้องแสดงรายละเอียดการนำเข้าต่อสถาบันภายในสามสิบวันนับแต่ดำเนินการ หรือเป็นการนำเข้าของสถานพยาบาลที่จำเป็นสำหรับใช้ในผู้ป่วยเฉพาะรายไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือเป็นการครอบครองของผู้ป่วยสำหรับบริโภคทางการแพทย์ หรือเป็นการปลูกสำหรับใช้ประโยชน์เฉพาะครัวเรือนของตนในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยความยินยอมของคณะกรรมการชุมชน หรือคณะกรรมการหมู่บ้าน (ร่างมาตรา 29) โดยผู้ปลูกพืชควบคุมที่ไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หากทำเพื่อจำหน่ายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับผู้ผลิต นำเข้า ส่งออกพืชควบคุมที่ไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท  หากทำเพื่อจำหน่ายต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสามแสนบาท (ร่างมาตรา 47) ผู้มีไว้ครอบครองเพื่อจำหน่ายพืชควบคุมที่ไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หากมีเกินจำนวนที่คณะกรรมการประกาศกำหนดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท (ร่างมาตรา 48)
  10. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้ผู้รับอนุญาตที่จะเลิกกิจการต้องแจ้งแก่ผู้อนุญาตทราบล่วงหน้า (ร่างมาตรา 30) และให้สามารถขายของที่เหลือให้แก่ผู้รับอนุญาตรายอื่นได้ (รางมาตรา 32) กรณีผู้รับอนุญาตตายและมีทายาทสามารถขออนุญาตประกอบกิจการต่อได้จนกว่าใบอนุญาตจะสิ้นอายุหากตรวจสอบแล้วพบว่ามีคุณสมบัติเป็นไปตามกฎหมายกำหนด ให้แสดงความจำนงเป็นผู้รับอนุญาตในการประกอบกิจการต่อไปได้ (ร่างมาตรา 33) สำหรับการนำเข้าจะต้องผ่านการตรวจสอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ด่านนำเข้าตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง (ร่างมาตรา 34)
  11. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปในสถานที่ของผู้รับอนุญาตในระหว่างเวลาทำการ โดยต้องแสดงหนังสือที่ได้รับมอบหมายให้กระทำการจากผู้อนุญาตก่อน และสามารถนำพืชควบคุมหรือผลิตภัณฑ์ควบคุมมาเป็นตัวอย่างในการตรวจวิเคราะห์ ยึดหรืออายัดของที่มีไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ โดยผู้รับอนุญาตและผู้มีหน้าที่ต้องอำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามสมควร (ร่างมาตรา 35) โดยในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตร (ร่างมาตรา 36) และให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา (ร่างมาตรา 37)
  12.  ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้ผู้รับอนุญาตอาจถูกพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาตได้ หากผู้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยคณะกรรมการให้ความเห็นชอบแก่ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตครั้งละไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน หากฟ้องผู้รับอนุญาตต่อศาล ผู้อนุญาตมีสิทธิสั่งพักใช้ได้ตามที่สมควรหรือจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดก็ได้ (ร่างมาตรา 38)
  13. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ควบคุม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท (ร่างมาตรา 49) เว้นได้เป็นการกระทำตามคำสั่งของผู้มีสิทธิสั่งจ่าย (ร่างมาตรา 44)
  14. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้ผู้ที่จะนำผ่านซึ่งพืชควบคุมหรือผลิตภัณฑ์ควบคุมที่จะออกนอกราชอาณาจักร จะต้องมีใบอนุญาตของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศที่ส่งออก และจะต้องนำผ่านออกไปนอกราชอาณาจักรไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันนำเข้า หากเกินกำหนดเวลาพนักงานศุลกากร
  15. ต้องรายงานให้ผู้อำนวยการทราบ และผู้อำนวยการมีอำนาจออกคำสั่งให้นำออกไปนอกราชอาณาจักรภายในหกสิบวันนับแต่ออกคำสั่ง และสามารถยึดพืชควบคุมหรือผลิตภัณฑ์ควบคุมให้เป็นของสถาบันได้หากผู้นำผ่านไม่ปฏิบัติตาม (ร่างมาตรา 45)