โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 43 (4) กำหนดให้บุคคลและชุมชนมีสิทธิจัดให้มีระบบสวัสดิการของชุมชนรวมทั้งมีสิทธิที่จะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือรัฐในการดำเนินการดังกล่าวด้วย ขณะที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบัน ชุมชนทั่วประเทศได้มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนในระดับตำบลขึ้น เพื่อดำเนินการจัดสวัสดิการที่หลากหลายให้แก่สมาชิกโดยความสมัครใจเป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงและการช่วยเหลือเกื้อกูลกันของชุมชน ซึ่งเป็นรากฐานของชุมชนเข็มแข็ง ภายใต้หลักการ “ให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี” ดังนั้น เพื่อให้การรับรองสิทธิของบุคคลและชุมชนตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยดังกล่าวเกิดผลในทางปฏิบัติ และเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนและองค์กรชุมชนมีส่วนร่วมและมีบทบาทในการพัฒนาความเข็มแข็งของชุมชนและสังคมให้มีความมั่นคงในชีวิตและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม จึงควรมีกฎหมายส่งเสริมสนับสนุนและรองรับสถานภาพทางกฎหมายและการดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการชุมชนในการจัดระบบสวัสดิการของชุมชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
สาระสำคัญ
1. กำหนดให้บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิจัดให้มีระบบสวัสดิการของชุมชนขึ้นโดยสมัครใจเพื่อตอบสนองความต้องการการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิก บนพื้นฐานของการพึ่งตนเองและการช่วยเหลือเกื้อกูล โดยสมาชิกมีส่วนร่วมสมทบเงินหรือทรัพย์สินจัดตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชนใดจะจัดสวัสดิการประเภทใดให้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจร่วมกันของสมาชิก โดยพิจารณาจากปัญหาและความต้องการของสมาชิก สถานะทางการเงิน ความสามารถในการบริหารจัดการและความยั่งยืนของกองทุนสวัสดิการชุมชนด้วย ระบบสวัสดิการของชุมชน มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
(1) สนับสนุนและส่งเสริมให้บุคคลและชุมชนร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลกันสร้างสวัสดิการให้กับประชาชนในชุมชนเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
(2) สนับสนุนและส่งเสริมการสร้างหลักประกันความมั่นคงของประชาชนในชุมชน
(3) เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนจากฐานราก
(4) บูรณาการการจัดสวัสดิการของหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ โดยชุมชนเป็นแกนหลัก
(ร่างมาตรา 5)
2. กำหนดให้ภายใต้กรอบวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 กองทุนสวัสดิการชุมชนอาจจะประกอบกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้
(1) สร้างวินัยการประหยัด จิตสำนึกแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันของประชาชนในชุมชนเพื่อประโยชน์สู่การพึ่งตนเองและการพึ่งพาซึ่งกันและกันในฐานะที่เป็นทั้งผู้ให้และผู้รับความช่วยเหลือ
(2) จัดกิจกรรมสวัสดิการที่หลากหลายเพื่อช่วยเหลือปัญหาเฉพาะหน้าและการสนับสนุนการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของสมาชิกตั้งแต่เกิดจนตาย
(3) ส่งเสริมความมั่งคงในอาชีพและรายได้ของสมาชิกและเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน
(4) ส่งเสริมให้สมาชิก ปกป้อง รักษา ฟื้นฟูภูมิปัญหาวิถีชีวิตที่ดีงามและทุนทางสังคม ตลอดจนอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
(5) สร้างระบบการเชื่อมโยงทรัพยากรเพื่อการจัดสวัสดิการของกองทุนสวัสดิการชุมชน
และกิจกรรมด้านการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน
(6) สนับสนุนให้ประชาชนในชุมชนมีโอกาสเข้าถึงระบบสวัสดิการทางสังคมและระบบสวัสดิการของชุมชน
(ึ7) พัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับ คุณภาพชีวิต สวัสดิภาพ และสวัสดิการของและประชาชน
ในชุมชน (ร่างมาตรา 6)
3. กำหนดให้กองทุนสวัสดิการที่ได้จดทะเบียนแล้วมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีอำนาจ ก่อตั้งสิทธิหรือทำนิติกรรมใด ๆ ภายใต้วัตถุประสงค์ และดำเนินกิจกรรม (ร่างมาตรา 9)
4. กำหนดให้ทุนและทรัพย์สินในการดำเนินการของกองทุนสวัสดิการชุมชนอาจประกอบด้วย
(1) เงินสมทบจากสมาชิก
(2) เงินสนับสนุนจากมาตรา 36
(3) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่ได้รับบริจาค
(4) เงินสนับสนุนจากภาคเอกชน
(5) ดอกผล รายได้ หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนสวัสดิการชุมชน
(6) ผลประโยชน์จากการแบ่งปันการจัดการทรัพยากรธรรมชาติหรือวัฒนธรรมของชุมชน
(ึ7) เงินสนับสนุนตามโครงการความร่วมมือจากแหล่งอื่นทั้งในและต่างประเทศ
(ร่างมาตรา 11)
5. กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมระบบสวัสดิการของชุมชนแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “กสสช.” ประกอบด้วย
(1) นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธาน
(2) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาจากการเลือกของ (5) และ (6) เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง
(3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง
(4) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
(5) ผู้แทนกองทุนสวัสดิการชุมชน จำนวนหกคน เป็นกรรมการ
(6) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านกฎหมาย ด้านการเงินหรือเศรษฐศาสตร์ ด้านสื่อสารมวลชน ภาคประชาสังคมภาคเอกชนด้านละหนึ่งคน และผู้แทนวิทยาลัยพัฒนาศาสตร์ ป่วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนา
ให้ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เป็นกรรมการและเลขานุการและให้ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ไม่เกินสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการหลักเกณฑ์และวิธีการได้มาซึ่งกรรมการให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด (ร่างมาตรา 12)
6. กำหนดให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนแม่บทการส่งเสริมระบบสวัสดิการของชุมชนตามมาตรา 21 (1)
(2) เสนอแนะและให้ความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการจัดระบบสวัสดิการของชุมชน
(3) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีให้มีหรือแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือ
มติคณะรัฐมนตรีให้เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมสวัสดิการของชุมชน
(4) เสนอแนะมาตรการด้านการเงิน การคลัง การภาษีอากร หรือด้านอื่นเพื่อส่งเสริมระบบสวัสดิการของชุมชน ต่อคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี
(5) ประสานนโยบายและแผน สร้างความร่วมมือกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมระบบสวัสดิการของชุมชน
(6) กำหนดมาตรการส่งเสริม สนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนาความเข้มแข็งของกองทุนสวัสดิการชุมชนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของระบบสวัสดิการของชุมชน
(ึ7) วางระเบียบว่าด้วยการจัดสรรงบประมาณสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชน ในกรณีที่รัฐบาลมีนโยบาย
(8) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย หรือกฎหมายอื่นบัญญัติ ให้เป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ (ร่างมาตรา 19)
ึ7. กำหนดให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เป็นฝ่ายเลขานุการ
และให้มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(1) จัดทำแผนแม่บทการส่งเสริมระบบสวัสดิการของชุมชนเสนอคณะกรรมการพิจารณา
(2) รวบรวมข้อมูล ศึกษา วิจัยและพัฒนา เกี่ยวกับการส่งเสริมระบบสวัสดิการของชุมชน
(3) เป็นหน่วยงานในการ ประสานงาน เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ งานหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดระบบสวัสดิการของชุมชน
(4) ประสานงานและร่วมมือกับหน่วยงานราชการทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์กรของรัฐอื่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน ในการส่งเสริมสนับสนุนจัดระบบสวัสดิการของชุมชนตามพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(5) จัดทำฐานข้อมูล สถิติ แผนงาน และโครงการ เกี่ยวกับการจัดระบบสวัสดิการของชุมชน
(6) รับรองการจดแจ้งสถานภาพกองทุนสวัสดิการของชุมชน และจดทะเบียนกองทุนสวัสดิการของชุมชนนิติบุคคล
(ึ7) จัดทำทะเบียนกลางเกี่ยวกับการจดแจ้งสถานภาพกองทุนสวัสดิการของชุมชนและการจดทะเบียนกองทุนสวัสดิการของชุมชนนิติบุคคล การยุบเลิก การยุบรวม กองทุนสวัสดิการของชุมชน
(8) สนับสนุน ส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งให้แก่กองทุนสวัสดิการของชุมชน
(9) รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้ง
(10) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของสำนักงานเสนอต่อคณะกรรมการ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะ
(11) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (ร่างมาตรา 21)
8. กำหนดให้มีคณะกรรมการสนับสนุนการขับเคลื่อนระบบสวัสดิการของชุมชน ระดับจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “คสสจ.” ประกอบด้วย
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ
(2) ผู้แทนกองทุนสวัสดิการของชุมชนในพื้นที่จังหวัดที่คัดเลือกกันเองจำนวนหนึ่งคน
เป็นรองประธานกรรมการ
(3) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ พัฒนาการชุมชนจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เกษตรจังหวัด ผู้แทนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(4) ผู้แทนกองทุนสวัสดิการชุมชนในพื้นที่จังหวัดซึ่งคัดเลือกกันเอง จำนวนหกคนเป็นกรรมการ
(5) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งโดยคำแนะนำของเครือข่ายสวัสดิการชุมชน-จำนวนไม่เกินห้าคน โดยแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันการศึกษาในจังหวัด ผู้บริหารองค์การบริหารท้องถิ่น ผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย ผู้แทนองค์กรภาคธุรกิจ หรือสภาองค์กรชุมชน
(6) ผู้แทนกองทุนสวัสดิการชุมชนที่เป็นกรรมการตาม (4) จำนวนหนึ่งคน และพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม
ให้ประธานกรรมการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดจำนวนหนึ่งคนและจากกองทุนสวัสดิการชุมชนภายในพื้นที่จังหวัด จำนวนหนึ่งคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเลือกและการพ้นจากตำแหน่งของรองประธานกรรมการผู้แทนกองทุนสวัสดิการชุมชน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด (ร่างมาตรา 22)
9. กำหนดให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดรับผิดชอบในงานธุรการของ คสสจ. และให้มีหน้าที่และอำนาจภายในเขตพื้นที่ของจังหวัด ดังต่อไปนี้
(1) รับคำขอรับรองสถานภาพของกองทุนสวัสดิการชุมชน และคับคำร้องขอยุบเลิกกองทุนสวัสดิการชุมชนเพื่อส่ง คสสจ.
(2) รวบรวมข้อมูล สถิติ แผนงาน และโครงการ เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการชุมชนเพื่อส่งให้สำนักงานประมวลผล
(3) เป็นศูนย์กลาง ประสานงาน เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ งานหรือกิจกรรมเกี่ยวกับ
การจัดสวัสดิการของกองทุนสวัสดิการชุมชนในจังหวัด
(4) จัดการประชุม คสสจ.
(5) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ คสสจ. มอบหมาย
การดำเนินงานตามมาตรานี้ให้มีส่วนร่วมจากผู้แทนกองทุนสวัสดิการชุมชน ใน คสสจ. ด้วย (ร่างมาตรา 31)
10. กำหนดให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริม สนับสนุน การจัดระบบสวัสดิการของชุมชน ตามพระราชบัญญัตินี้
เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมระบบสวัสดิการของชุมชน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนสวัสดิการชุมชนตามที่เห็นสมควร (ร่างมาตรา 36)
11. กำหนดให้กรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดส่งเสริมสนับสนุนกองทุนสวัสดิการของชุมชนเป็นเงินอุดหนุนจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้การสมทบและอุดหนุนงบประมาณ (ร่างมาตรา 3ึ7)
1) สำนักนายกรัฐมนตรี
2) กระทรวงมหาดไทย
2.1 สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
2.2 อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
2.3 อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
3) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
4) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
5) กระทรวงสาธารณสุข
6) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
7) ประชาชนทั่วไป
1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิจัดให้มีระบบสวัสดิการของชุมชนขึ้นโดยสมัครใจ เพื่อตอบสนองความต้องการการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิก บนพื้นฐานของการพึ่งตนเองและการช่วยเหลือเกื้อกูล โดยสมาชิกมีส่วนร่วมสมทบเงินหรือทรัพย์สินจัดตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชนใดจะจัดสวัสดิการประเภทใดให้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจร่วมกันของสมาชิก โดยพิจารณาจากปัญหาและความต้องการของสมาชิก สถานะทางการเงิน ความสามารถในการบริหารจัดการและความยั่งยืนของกองทุนสวัสดิการชุมชนด้วย
ระบบสวัสดิการของชุมชน มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
(1) สนับสนุนและส่งเสริมให้บุคคลและชุมชนร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลกันสร้างสวัสดิการให้กับประชาชนในชุมชนเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
(2) สนับสนุนและส่งเสริมการสร้างหลักประกันความมั่นคงของประชาชนในชุมชน
(3) เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนจากฐานราก
(4) บูรณาการการจัดสวัสดิการของหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ โดยชุมชนเป็นแกนหลัก
(ร่างมาตรา 5)
2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้ภายใต้กรอบวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 กองทุนสวัสดิการชุมชนอาจจะประกอบกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้
(1) สร้างวินัยการประหยัด จิตสำนึกแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันของประชาชนในชุมชนเพื่อประโยชน์สู่การพึ่งตนเองและการพึ่งพาซึ่งกันและกันในฐานะที่เป็นทั้งผู้ให้และผู้รับความช่วยเหลือ
(2) จัดกิจกรรมสวัสดิการที่หลากหลายเพื่อช่วยเหลือปัญหาเฉพาะหน้าและการสนับสนุนการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของสมาชิกตั้งแต่เกิดจนตาย
(3) ส่งเสริมความมั่งคงในอาชีพและรายได้ของสมาชิกและเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน
(4) ส่งเสริมให้สมาชิก ปกป้อง รักษา ฟื้นฟูภูมิปัญหาวิถีชีวิตที่ดีงามและทุนทางสังคม ตลอดจนอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
(5) สร้างระบบการเชื่อมโยงทรัพยากรเพื่อการจัดสวัสดิการของกองทุนสวัสดิการชุมชน
และกิจกรรมด้านการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน
(ุ6) สนับสนุนให้ประชาชนในชุมชนมีโอกาสเข้าถึงระบบสวัสดิการทางสังคมและระบบสวัสดิการของชุมชน
(7) พัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับ คุณภาพชีวิต สวัสดิภาพ และสวัสดิการของและประชาชน
ในชุมชน (ร่างมาตรา ุ6)
3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้กองทุนสวัสดิการที่ได้จดทะเบียนแล้วมีฐานะเป็นนิติบุคคล
มีอำนาจ ก่อตั้งสิทธิหรือทำนิติกรรมใด ๆ ภายใต้วัตถุประสงค์ และดำเนินกิจกรรม (ร่างมาตรา 9)
4. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้ทุนและทรัพย์สินในการดำเนินการของกองทุนสวัสดิการชุมชนอาจประกอบด้วย
(1) เงินสมทบจากสมาชิก
(2) เงินสนับสนุนจากมาตรา 3ุ6
(3) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่ได้รับบริจาค
(4) เงินสนับสนุนจากภาคเอกชน
(5) ดอกผล รายได้ หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนสวัสดิการชุมชน
(ุ6) ผลประโยชน์จากการแบ่งปันการจัดการทรัพยากรธรรมชาติหรือวัฒนธรรมของชุมชน
(7) เงินสนับสนุนตามโครงการความร่วมมือจากแหล่งอื่นทั้งในและต่างประเทศ
(ร่างมาตรา 11)
5. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมระบบสวัสดิการของชุมชนแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “กสสช.” ประกอบด้วย
(1) นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธาน
(2) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาจากการเลือกของ (5) และ (ุ6) เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง
(3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง
(4) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
(5) ผู้แทนกองทุนสวัสดิการชุมชน จำนวนหกคน เป็นกรรมการ
(ุ6) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านกฎหมาย ด้านการเงินหรือเศรษฐศาสตร์ ด้านสื่อสารมวลชน ภาคประชาสังคมภาคเอกชนด้านละหนึ่งคน และผู้แทนวิทยาลัยพัฒนาศาสตร์ ป่วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนา
ให้ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เป็นกรรมการและเลขานุการและให้ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ไม่เกินสองคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
หลักเกณฑ์และวิธีการได้มาซึ่งกรรมการให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด (ร่างมาตรา 12)
ุ6. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนแม่บทการส่งเสริมระบบสวัสดิการของชุมชนตามมาตรา 21 (1)
(2) เสนอแนะและให้ความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการจัดระบบสวัสดิการของชุมชน
(3) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีให้มีหรือแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือ
มติคณะรัฐมนตรีให้เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมสวัสดิการของชุมชน
(4) เสนอแนะมาตรการด้านการเงิน การคลัง การภาษีอากร หรือด้านอื่นเพื่อส่งเสริมระบบสวัสดิการของชุมชน ต่อคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี
(5) ประสานนโยบายและแผน สร้างความร่วมมือกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมระบบสวัสดิการของชุมชน
(ุ6) กำหนดมาตรการส่งเสริม สนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนาความเข้มแข็งของกองทุนสวัสดิการชุมชนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของระบบสวัสดิการของชุมชน
(7) วางระเบียบว่าด้วยการจัดสรรงบประมาณสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชน ในกรณีที่รัฐบาลมีนโยบาย
(8) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย หรือกฎหมายอื่นบัญญัติ ให้เป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ (ร่างมาตรา 19)
7. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เป็นฝ่ายเลขานุการและให้มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(1) จัดทำแผนแม่บทการส่งเสริมระบบสวัสดิการของชุมชนเสนอคณะกรรมการพิจารณา
(2) รวบรวมข้อมูล ศึกษา วิจัยและพัฒนา เกี่ยวกับการส่งเสริมระบบสวัสดิการของชุมชน
(3) เป็นหน่วยงานในการ ประสานงาน เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ งานหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดระบบสวัสดิการของชุมชน
(4) ประสานงานและร่วมมือกับหน่วยงานราชการทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์กรของรัฐอื่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน ในการส่งเสริมสนับสนุนจัดระบบสวัสดิการของชุมชนตามพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(5) จัดทำฐานข้อมูล สถิติ แผนงาน และโครงการ เกี่ยวกับการจัดระบบสวัสดิการของชุมชน
(ุ6) รับรองการจดแจ้งสถานภาพกองทุนสวัสดิการของชุมชน และจดทะเบียนกองทุนสวัสดิการของชุมชนนิติบุคคล
(7) จัดทำทะเบียนกลางเกี่ยวกับการจดแจ้งสถานภาพกองทุนสวัสดิการของชุมชนและการจดทะเบียนกองทุนสวัสดิการของชุมชนนิติบุคคล การยุบเลิก การยุบรวม กองทุนสวัสดิการของชุมชน
(8) สนับสนุน ส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งให้แก่กองทุนสวัสดิการของชุมชน
(9) รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้ง
(10) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของสำนักงานเสนอต่อคณะกรรมการ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะ
(11) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (ร่างมาตรา 21)
8. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้มีคณะกรรมการสนับสนุนการขับเคลื่อนระบบสวัสดิการของชุมชน ระดับจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “คสสจ.” ประกอบด้วย
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ
(2) ผู้แทนกองทุนสวัสดิการของชุมชนในพื้นที่จังหวัดที่คัดเลือกกันเองจำนวนหนึ่งคน
เป็นรองประธานกรรมการ
(3) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ พัฒนาการชุมชนจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เกษตรจังหวัด ผู้แทนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(4) ผู้แทนกองทุนสวัสดิการชุมชนในพื้นที่จังหวัดซึ่งคัดเลือกกันเอง จำนวนหกคนเป็นกรรมการ
(5) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งโดยคำแนะนำของเครือข่ายสวัสดิการชุมชน-จำนวนไม่เกินห้าคน โดยแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันการศึกษาในจังหวัด ผู้บริหารองค์การบริหารท้องถิ่น ผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย ผู้แทนองค์กรภาคธุรกิจ หรือสภาองค์กรชุมชน
(ุ6) ผู้แทนกองทุนสวัสดิการชุมชนที่เป็นกรรมการตาม (4) จำนวนหนึ่งคน และพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม
ให้ประธานกรรมการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดจำนวนหนึ่งคนและจากกองทุนสวัสดิการชุมชนภายในพื้นที่จังหวัด จำนวนหนึ่งคน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเลือกและการพ้นจากตำแหน่งของรองประธานกรรมการผู้แทนกองทุนสวัสดิการชุมชน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด (ร่างมาตรา 22)
9. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดรับผิดชอบในงานธุรการของ คสสจ. และให้มีหน้าที่และอำนาจภายในเขตพื้นที่ของจังหวัด ดังต่อไปนี้
(1) รับคำขอรับรองสถานภาพของกองทุนสวัสดิการชุมชน และคับคำร้องขอยุบเลิกกองทุนสวัสดิการชุมชนเพื่อส่ง คสสจ.
(2) รวบรวมข้อมูล สถิติ แผนงาน และโครงการ เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการชุมชนเพื่อส่งให้สำนักงานประมวลผล
(3) เป็นศูนย์กลาง ประสานงาน เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ งานหรือกิจกรรมเกี่ยวกับ
การจัดสวัสดิการของกองทุนสวัสดิการชุมชนในจังหวัด
(4) จัดการประชุม คสสจ.
(5) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ คสสจ. มอบหมาย
การดำเนินงานตามมาตรานี้ให้มีส่วนร่วมจากผู้แทนกองทุนสวัสดิการชุมชน ใน คสสจ. ด้วย (ร่างมาตรา 31)
10. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริม สนับสนุน การจัดระบบสวัสดิการของชุมชน ตามพระราชบัญญัตินี้
เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมระบบสวัสดิการของชุมชน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนสวัสดิการชุมชนตามที่เห็นสมควร (ร่างมาตรา 3ุ6)
11. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้กรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดส่งเสริมสนับสนุนกองทุนสวัสดิการของชุมชนเป็นเงินอุดหนุนจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้การสมทบและอุดหนุนงบประมาณ (ร่างมาตรา 37)
12. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี)