สถานะ : ปิดรับฟังความคิดเห็น รายงานผลการรับฟังความคิดเห็น
ร่างพระราชบัญญัติการรายงานการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม พ.ศ. ....
ประเภทร่าง เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นร่างการเงิน
เสนอโดย นายวรภพ วิริยะโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กับคณะ
ข้อมูลประกอบการพิจารณา

ให้มีกฎหมายว่าด้วยการรายงานการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม
โดยมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้

          1. กำหนดบทนิยาม (ร่างมาตรา 3) เช่น

              “สารมลพิษ” หมายความว่า ธาตุหรือสารประกอบ ที่เมื่อถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิดมลพิษหรือมีอยู่ในสิ่งแวดล้อม อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้

              “บัญชีรายชื่อสารมลพิษ” หมายความว่า บัญชีรายชื่อสารมลพิษที่อาจทำให้เกิดอันตรายหรือส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ สัตว์ พืช ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม และให้หมายความรวมถึงสารมลพิษตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม ซึ่งเป็นมลพิษที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

              (1) เป็นสารก่อมะเร็ง

              (2) เป็นสารก่อการกลายพันธุ์

              (3) เป็นสารที่มีพิษต่อระบบสิบพันธุ์

              (4) เป็นสารที่มีพิษเรื้อรัง

              (5) เป็นสารที่ก่อให้เกิดการแพ้

              (6) เป็นสารที่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ

              (7) เป็นสารที่ทำลายชั้นโอโซน

              (8) เป็นสารมลพิษอินทรีย์ตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม

              (9) สารอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใด ที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่ บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม

              “แหล่งกำเนิดมลพิษ” หมายความว่า ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม อาคาร สิ่งก่อสร้าง ยานพาหนะ สถานที่ประกอบกิจการใด ๆ หรือสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของสารมลพิษ

              “สารมลพิษซึ่งไม่มีแหล่งกำเนิดแน่นอน” หมายความว่า สารมลพิษที่อยู่กระจัดกระจายหรือเคลื่อนที่ได้ หรือปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดย่อย ๆ และไม่ได้มีที่มาจากแหล่งกำเนิดมลพิษที่มีหน้าที่
ต้องรายงานการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารมลพิษตามพระราชบัญญัตินี้

              “การปล่อยสารมลพิษ” หมายความว่า การปล่อยมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อมอันเป็นผลจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งมีลักษณะที่เกิดขึ้นประจำหรือไม่เป็นประจำ ไม่ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมถึง การหก การระเหย การปล่อย การทิ้ง การระบายน้ำทิ้ง หรือการปล่อยอากาศเสีย

              “การเคลื่อนย้ายสารมลพิษ” หมายความว่า การเคลื่อนย้ายมลพิษออกนอกเขตพื้นที่
สถานประกอบการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการบำบัด กำจัด หรือนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ  

              2. กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจ ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษาในเรื่องดังต่อไปนี้ เช่น กำหนดบัญชีรายชื่อสารพิษ เกณฑ์ปริมาณการผลิต มีไว้ในครอบครอง หรือปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม ประเภทและขนาดของแหล่งกำเนิดมลพิษที่ต้องจัดทำรายงาน บริเวณพื้นที่ที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการวิเคราะห์ คำนวณ ประเมินปริมาณสารมลพิษที่ปล่อยหรือเคลื่อนย้ายออกสู่สิ่งแวดล้อม แบบในการจัดทำรายงาน คุณสมบัติของอุปกรณ์ การตรวจวัดการปล่อยสารมลพิษ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการเผยแพร่ข้อมูล พิจารณากำหนดโทษทางปกครอง (ร่างมาตรา 5 และร่างมาตรา 6) กำหนดประเภทแหล่งกำเนิดสารมลพิษชนิดซึ่งไม่มีแหล่งกำเนิดแน่นอน (ร่างมาตรา 15) รวมถึงมีอำนาจและหน้าที่พิจารณาออกระเบียบ ประกาศ และหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัตินี้ เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม ให้ความเห็นชอบข้อกำหนดและวิธีการปฏิบัติงานที่กรมควบคุมมลพิษเสนอเกี่ยวกับการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล
การจัดทำฐานข้อมูล การประกันคุณภาพและควบคุมคุณภาพของระบบการจัดการฐานข้อมูล (ร่างมาตรา 24)

              3. กำหนดให้มีคณะกรรมการ ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่งจำนวนสี่คน ได้แก่ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนสภาอุตสาหกรรม ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ มีผลงานและประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและด้านคุณภาพ จำนวน
ไม่เกินหกคน (ร่างมาตรา 23)

              4. กำหนดให้บุคคล นิติบุคคล หรือหน่วยงานของรัฐที่ผลิต มีไว้ในครอบครอง เคลื่อนย้าย หรือปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมซึ่งสารมลพิษที่ปรากฏในบัญชีรายชื่อสารมลพิษและตามปริมาณที่คณะกรรมการประกาศกำหนด และประกอบกิจการตามประเภทและขนาดที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ต้องจัดทำรายงานข้อมูลชนิดและปริมาณการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารมลพิษ (ร่างมาตรา 7 และร่างมาตรา 8) หากไม่รายงานข้อมูลโดยไม่มีเหตุอันควร ต้องได้รับโทษปรับทางปกครองในอัตราไม่เกินร้อยละหนึ่งของรายได้ในปีที่กระทำความผิด (ร่างมาตรา 36) และหากมีการรายงานข้อมูลเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงห้าล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ร่างมาตรา 37)

               5. กำหนดให้หน่วยงานรัฐผู้รับผิดชอบและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นประเมินการปล่อยสารมลพิษจากแหล่งกำเนิดที่กำหนด และจัดส่งข้อมูลให้กรมควบคุมมลพิษภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
(ร่างมาตรา 16)

              6. กำหนดให้กรมควบคุมมลพิษมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ เช่น รับรายงานและรวบรวมข้อมูลจากผู้มีหน้าที่ต้องทำรายงาน วิเคราะห์ข้อมูลการประเมินสารมลพิษซึ่งไม่มีแหล่งกำเนิดแน่นอนเพื่อจัดทำฐานข้อมูล จัดทำฐานข้อมูลการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารมลพิษจากแหล่งกำเนิดมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมรวมถึงระบบประกันและควบคุมคุณภาพ และความปลอดภัยของข้อมูลดังกล่าว ประมวลและจัดทำข้อมูล พร้อมเผยแพร่ข้อมูลการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารมลพิษสู่สาธารณชน เป็นต้น (ร่างมาตรา 17
และร่างมาตรา 18)

              7. กำหนดให้กรมควบคุมมลพิษติดตามตรวจสอบให้บุคคล นิติบุคคล หรือหน่วยงานของรัฐจัดส่งรายงานอย่างถูกต้องและครบถ้วน (ร่างมาตรา 19 ถึงร่างมาตรา 22) หากจัดส่งรายงานข้อมูลไม่ถูกต้องครบถ้วนโดยไม่มีเหตุอันควร ต้องได้รับโทษปรับทางปกครองในอัตราไม่เกินร้อยละหนึ่งของรายได้ในปีที่กระทำความผิด (ร่างมาตรา 36) 

              8. กำหนดกรมควบคุมมลพิษมีหน้าที่และอำนาจเผยแพร่ข้อมูลการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัตินี้สู่สาธารณชน โดยสะดวก รวดเร็ว ไม่เสียค่าใช้จ่าย ผ่านทางอินเทอร์เน็ตและช่องทางอื่น ๆ ทั้งนี้ ภายใต้กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ (ร่างมาตรา 29
และร่างมาตรา 30)

              9. กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี่หน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้ เช่น ส่งข้อมูลที่ได้จาก
กระประเมินปริมาณสารมลพิษซึ่งไม่มีแหล่งกำเนิดแน่นอน ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบอนุญาต การพักใช้หรือการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ และเมื่อปรากฏว่าผู้ขออนุญาตดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ไม่ปฏิบัติหรือละเลยการจัดทำรายงาน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งไม่ออกใบอนุญาต รวมทั้งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตการประกอบกิจการนั้นได้
(ร่างมาตรา 31 และร่างมาตรา 32)

              10. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มีอำนาจเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือแจ้งข้อเท็จจริง หรือจัดทำคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสารหลักฐานใด ๆ เพื่อตรวจสอบหรือเพื่อประกอบการพิจารณา (ร่างมาตรา 33 ถึงร่างมาตรา 35) หากมีการจัดทำคำชี้แจงหรือชี้แจงด้วยวาจาตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งด้วยข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงห้าล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ร่างมาตรา 37) และหากไม่จัดทำคำชี้แจงหรือไม่มาชี้แจงด้วยวาจาตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับอีกวันละไม่เกินสองหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติตามคำสั่ง (ร่างมาตรา 38)
 

ผู้ที่เกี่ยวข้อง

  1. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
  2.  กระทรวงสาธารณสุข
  3.  กระทรวงอุตสาหกรรม
  4.  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  5.  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  6.  กรมควบคุมมลพิษ
  7.  องค์กรภาคประชาสังคมด้านการปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
  8.  ภาคประชาชน

ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็น

  1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดบทนิยาม เช่น คำว่า “สารมลพิษ” “บัญชีรายชื่อสารมลพิษ” “แหล่งกำเนิดมลพิษ” “สารมลพิษซึ่งไม่มีแหล่งกำเนิดแน่นอน” “การปล่อยสารมลพิษ” “การเคลื่อนย้ายสารมลพิษ” (ร่างมาตรา 3)
  2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจออกประกาศในราชกิจจานุเบกษาในเรื่องดังต่อไปนี้ เช่น กำหนดบัญชีรายชื่อสารพิษ เกณฑ์ปริมาณการผลิต มีไว้ในครอบครอง หรือปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม ประเภทและขนาดของแหล่งกำเนิดมลพิษที่ต้องจัดทำรายงาน บริเวณพื้นที่ที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการวิเคราะห์ คำนวณ ประเมินปริมาณสารมลพิษที่ปล่อยหรือเคลื่อนย้ายออกสู่สิ่งแวดล้อม แบบในการจัดทำรายงาน หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการเผยแพร่ข้อมูล พิจารณากำหนดโทษทางปกครอง (ร่างมาตรา 5 และร่างมาตรา 6) กำหนดประเภทแหล่งกำเนิดสารมลพิษชนิดซึ่งไม่มีแหล่งกำเนิดแน่นอน (ร่างมาตรา 15) รวมถึงให้มีอำนาจและหน้าที่พิจารณาออกระเบียบ ประกาศและหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัตินี้ เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม ให้ความเห็นชอบข้อกำหนดและวิธีการปฏิบัติงานที่กรมควบคุมมลพิษเสนอเกี่ยวกับการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล การจัดทำฐานข้อมูลการประกันคุณภาพและควบคุมคุณภาพของระบบการจัดการฐานข้อมูล (ร่างมาตรา 24)
  3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้คณะกรรมการ ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่งจำนวนสี่คน ได้แก่ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนสภาอุตสาหกรรม ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ มีผลงานและประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและด้านคุณภาพ จำนวนไม่เกินหกคน (ร่างมาตรา 23)
  4. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้บุคคล นิติบุคคล หรือหน่วยงานของรัฐที่ผลิต มีไว้ในครอบครอง เคลื่อนย้าย หรือปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมซึ่งสารมลพิษที่ปรากฏในบัญชีรายชื่อและตามปริมาณที่กำหนด และประกอบกิจการตามประเภทและขนาดที่กำหนด ต้องจัดทำรายงานข้อมูลชนิดและปริมาณการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารมลพิษ (ร่างมาตรา 7 และร่างมาตรา 8) หากไม่รายงานข้อมูลโดยไม่มีเหตุอันควร ต้องได้รับโทษปรับทางปกครองในอัตราไม่เกินร้อยละหนึ่งของรายได้ในปีที่กระทำความผิด (ร่างมาตรา 36) และหากมีการรายงานข้อมูลเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงห้าล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ร่างมาตรา 37)
  5. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้หน่วยงานรัฐผู้รับผิดชอบและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นประเมินการปล่อยสารมลพิษจากแหล่งกำเนิดที่กำหนด และจัดส่งข้อมูลให้กรมควบคุมมลพิษภายในเดือนมีนาคมของทุกปี (ร่างมาตรา 16)
  6. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้กรมควบคุมมลพิษมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ เช่นรับรายงานและรวบรวมข้อมูลจากผู้มีหน้าที่ต้องทำรายงาน วิเคราะห์ข้อมูลการประเมินสารมลพิษซึ่งไม่มีแหล่งกำเนิดแน่นอนเพื่อจัดทำฐานข้อมูล จัดทำฐานข้อมูลการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารมลพิษจากแหล่งกำเนิดมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมรวมถึงระบบประกันและควบคุมคุณภาพ และความปลอดภัยของข้อมูลดังกล่าว ประมวลและจัดทำข้อมูล พร้อมเผยแพร่ข้อมูลการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารมลพิษสู่สารธารณชน เป็นต้น (ร่างมาตรา 17 และร่างมาตรา 18)
  7. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้กรมควบคุมมลพิษติดตามตรวจสอบให้บุคคล นิติบุคคลหรือหน่วยงานของรัฐจัดส่งรายงานอย่างถูกต้องและครบถ้วน (ร่างมาตรา 19 ถึงร่างมาตรา 22) หากจัดส่งรายงานข้อมูลไม่ถูกต้องครบถ้วนโดยไม่มีเหตุอันควร ต้องได้รับโทษปรับทางปกครองในอัตราไม่เกินร้อยละหนึ่งของรายได้ในปีที่กระทำความผิด (ร่างมาตรา 36) 
  8. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่ากับการกำหนดให้กรมควบคุมมลพิษมีหน้าที่และอำนาจเผยแพร่ข้อมูลการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัตินี้สู่สาธารณชน โดยสะดวก รวดเร็วไม่เสียค่าใช้จ่าย ผ่านทางอินเทอร์เน็ตและช่องทางอื่น ๆ ทั้งนี้ ภายใต้กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ (ร่างมาตรา 29 และร่างมาตรา 30)
  9. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี่หน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้ เช่น ส่งข้อมูลที่ได้จากกระประเมินปริมาณสารมลพิษซึ่งไม่มีแหล่งกำเนิดแน่นอน ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบอนุญาต การพักใช้หรือการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ และเมื่อปรากฏว่าผู้ขออนุญาตดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ไม่ปฏิบัติหรือละเลยการจัดทำรายงาน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอพนาจออกคำสั่งไม่ออกใบอนุญาต รวมทั้งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตการประกอบกิจการนั้นได้ (ร่างมาตรา 31 และร่างมาตรา 32)
  10. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มีอำนาจเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือแจ้งข้อเท็จจริง หรือจัดทำคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสารหลักฐานใด ๆ เพื่อตรวจสอบหรือเพื่อประกอบการพิจารณา (ร่างมาตรา 33 ถึงร่างมาตรา 35) หากมีการจัดทำคำชี้แจงหรือชี้แจงด้วยวาจาตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งด้วยข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงห้าล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ร่างมาตรา 37) และหากไม่จัดทำคำชี้แจงหรือไม่มาชี้แจงด้วยวาจาตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับและให้ปรับอีกวันละไม่เกินสองหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติตามคำสั่ง (ร่างมาตรา 38)