เนื่องจากปัจจุบันประชาชนมีการกู้ยืมเงินเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน และเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ จำนวนมาก โดยทั้งในลักษณะการกู้ยืมเงินแบบสินเชื่อจากสถาบันการเงิน และการกู้ยืมจากบุคคลอื่น ซึ่งการกู้ยืมเงินในหลายลักษณะมีความจำเป็นต้องอาศัยการจดทะเบียนทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาประกอบการดำเนินการ เช่น นิติกรรมประเภทจำนอง นิติกรรมประเภทจำนำ และการทำนิติกรรมขายฝาก แต่เนื่องจากเจ้าหนี้หรือผู้ให้กู้ยืมจำนวนมากนิยมอาศัยวิธีการทำนิติกรรมประเภทขายฝากมากขึ้นโดยอาศัยช่องว่างของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องขายฝาก เพื่อกำหนดสินไถ่สูงเกินควร มีเจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา รวมทั้ง กรณีที่เมื่อถึงกำหนดเวลาไถ่ถอนซึ่งผู้ซื้อฝากมักหลีกเลี่ยงไม่ยอมให้มีการไถ่ ส่งผลกระทบโดยตรงกับผู้ขายฝากจำนวนมาก ซึ่งได้รับความเดือดร้อนจากการทำนิติกรรมขายฝากอย่างไม่เป็นธรรมและเกิดภาระให้แก่ผู้ขายฝากที่เกินสมควร ดังนั้น จึงต้องเพิ่มมาตรการในทางกฎหมายที่มีอยู่เดิม เพื่อเพิ่มกระบวนการตรวจสอบนิติกรรมขายฝาก โดยเปิดโอกาสให้แก่ผู้ขายหรือผู้ไถ่ ซึ่งมีสถานะเป็นลูกหนี้สามารถยื่นคำร้องในกรณีดังกล่าวได้
สาระสำคัญ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนี้
สัญญาหรือมิได้ดำเนินการไถ่ถอนโดยวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ให้แก่ผู้รับไถ่และให้ศาลพิจารณาไต่สวนคำร้องขอของผู้รับไถ่ โดยพิจารณาถึงความชอบด้วยกฎหมายของสัญญา มูลหนี้ และผลตอบแทนที่ผู้รับไถ่ได้รับ รวมถึงเจตนาของผู้ไถ่อันเป็นเหตุแห่งการยื่นคำร้องนั้น (ร่างมาตรา 3)
ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ แต่ยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาในสัญญา (ร่างมาตรา 4)