สถานะ : นายกรัฐมนตรีไม่รับรอง รายงานผลการรับฟังความคิดเห็น
ร่างพระราชบัญญัติสวัสดิการการรักษาพยาบาลลูกจ้างผู้รับบำเหน็จรายเดือนและผู้ได้รับบำเหน็จพิเศษรายเดือน พ.ศ. ....
ประเภทร่าง เสนอโดยประชาชน เป็นร่างการเงิน
เสนอโดย นายวิชาญ ชัยชมภู กับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 26,471 คน
ข้อมูลประกอบการพิจารณา

     ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ กำหนดให้มีสวัสดิการการรักษาพยาบาลสำหรับลูกจ้างผู้รับบำเหน็จรายเดือนและผู้ได้รับบำเหน็จพิเศษรายเดือนตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง

     เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 อันเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลแก่กลุ่มบุคคลที่เป็นบุคลากรภาครัฐ มิได้บังคับใช้ไปถึงลูกจ้างผู้รับบำเหน็จรายเดือนและผู้ได้รับบำเหน็จพิเศษรายเดือนตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้างด้วย ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของลูกจ้างผู้รับบำเหน็จรายเดือน ผู้ได้รับบำเหน็จพิเศษรายเดือน และบุคคลในครอบครัวเป็นอย่างมาก ดังนั้น เพื่อให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวที่ใช้แรงงาน ฝีมือ ความชำนาญเป็นพิเศษและประสบการณ์เสริม การปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการทำงานของภาครัฐมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้

     สาระสำคัญโดยสรุป : กำหนดคำนิยาม "การรักษาพยาบาล" "ค่ารักษาพยาบาล" "สถานพยาบาล" "สถานพยาบาลของทางราชการ" "สถานพยาบาลของเอกชน" "ผู้มีสิทธิ" และ "บุคคลในครอบครัว" การให้สิทธิแก่ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามเงื่อนไขที่กำหนด การสิ้นสุดการรักษาพยาบาลเมื่อพ้นสภาพลูกจ้าง การกำหนดเงื่อนไขในการใช้สิทธิของผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว เงื่อนไขไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการหรือรับเกินสิทธิและการส่งคืนเงิน และเกณฑ์การจ่ายเงินสวัสดิการ การเบิกเงินรักษาพยาบาล การส่งคืนเงินของผู้มีสิทธิและสถานพยาบาล

ผู้ที่เกี่ยวข้อง

1. ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง

     1.1 กระทรวงการคลัง

     1.2 สำนักงบประมาณ

2. ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยอ้อม

     2.1 สำนักนายกรัฐมนตรี

     2.2 กระทรวงกลาโหม

     2.3 กระทรวงการต่างประเทศ

     2.4 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

     2.5 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

     2.6 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

     2.7 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

     2.8 กระทรวงคมนาคม

     2.9 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

     2.10 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

     2.11 กระทรวงพลังงาน

     2.12 กระทรวงพาณิชย์

     2.13 กระทรวงมหาดไทย

     2.14 กระทรวงยุติธรรม

     2.15 กระทรวงแรงงาน

     2.16 กระทรวงวัฒนธรรม

     2.17 กระทรวงศึกษาธิการ

     2.18 กระทรวงสาธารณสุข

     2.19 กระทรวงอุตสาหกรรม

     2.20 สำนักงานศาลยุติธรรม

     2.21 สำนักงานศาลปกครอง

     2.22 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

     2.23 สำนักงานอัยการสูงสุด

     2.24 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

     2.25 สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

     2.26 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

     2.27 สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

     2.28 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

     2.29 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

     2.30 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

     2.31 สำนักงานประกันสังคม

     2.32 สมาคมผู้ประกอบการสถานพยาบาล

3. ผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป

     ประชาชน

ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็น

     1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดคำนิยาม "การรักษาพยาบาล" "ค่ารักษาพยาบาล" "สถานพยาบาล" "สถานพยาบาลของทางราชการ" "สถานพยาบาลของเอกชน" "ผู้มีสิทธิ" และ "บุคคลในครอบครัว" (ร่างมาตรา 3)

     2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดเกี่ยวกับการให้สิทธิแก่ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามเงื่อนไขที่กำหนด การสิ้นสุดการรักษาพยาบาลเมื่อพ้นสภาพลูกจ้าง การกำหนดเกี่ยวกับการเพิ่มเงื่อนไขในการใช้สิทธิของผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว บุคคลที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการหรือรับเกินสิทธิและการส่งคืนเงิน เกณฑ์การจ่ายเงินสวัสดิการ การเบิกเงินรักษาพยาบาล การส่งคืนเงินของผู้มีสิทธิและสถานพยาบาล (ร่างมาตรา 4 ถึงร่างมาตรา 14)

     3. ท่านเห็นว่ากฎหมายว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้างที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน มีปัญหาในทางปฏิบัติอย่างไร และการเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้หรือไม่ อย่างไร

     4. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี)