ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีหลักการเพื่อปรับปรุงพระราชบัญญัติคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554 โดยมีเหตุผลเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 129 กำหนดให้คณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจเรียกเอกสารจากบุคคล หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้ และกำหนดผลบังคับทางกฎหมายเป็นมาตรการเชิงบังคับ โดยให้เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีที่รับผิดชอบในกิจการที่คณะกรรมาธิการสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาที่จะต้องสั่งการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดหรือในกำกับ ให้ข้อเท็จจริง ส่งเอกสาร หรือแสดงความคิดเห็นตามที่คณะกรรมาธิการเรียก ซึ่งเปลี่ยนแปลงหลักการและสาระสำคัญเกี่ยวกับอำนาจของคณะกรรมาธิการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินกิจการในการสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐสภาตามหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมาธิการมีกลไกและผลบังคับทางกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับหลักการและสาระสำคัญเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมาธิการในกิจการที่กระทำหรือในการสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องใด ๆ ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จึงต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ตารางเปรียบเทียบ (เอกสารแนบ)
1. ผู้เกี่ยวข้องโดยตรง
1) คณะกรรมาธิการสามัญและคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
2) สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
3) สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
4) สำนักนายกรัฐมนตรี
5) กระทรวงกลาโหม
6) กระทรวงการคลัง
7) กระทรวงการต่างประเทศ
8) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
9) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
10) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
11) กระทรวงคมนาคม
12) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
13) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
14) กระทรวงพลังงาน
15) กระทรวงพาณิชย์
16) กระทรวงมหาดไทย
17) กระทรวงยุติธรรม
18) กระทรวงแรงงาน
19) กระทรวงวัฒนธรรม
20) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
21) กระทรวงศึกษาธิการ
22) กระทรวงสาธารณสุข
23) กระทรวงอุตสาหกรรม
24) สำนักงานอัยการสูงสุด
25) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
26) สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
27) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
28) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
29) สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
2. ผู้เกี่ยวข้องโดยอ้อม
- ไม่มี
3. ผู้เกี่ยวข้องทั่วไป
- ประชาชน
1. ท่านเห็นด้วยกับการกำหนดบทนิยามของถ้อยคำต่าง ๆ ตามร่างมาตรา 4 หรือไม่ อย่างไร
2. ท่านเห็นด้วยกับการกำหนดกระบวนการให้คณะกรรมาธิการมีหนังสือขอให้บุคคลนั้นส่งเอกสาร หรือเชิญมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็น ตามร่างมาตรา 7 หรือไม่ อย่างไร
3. ท่านเห็นด้วยกับการกำหนดหลักการเกี่ยวกับการเชิญบุคคลมาแถลงข้อเท็จริง หรือแสดงความคิดเห็น ตามร่างมาตรา 8 หรือไม่ อย่างไร
4. ท่านเห็นด้วยกับการกำหนดให้บุคคลที่มาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นต่อคณะกรรมาธิการมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ตามร่างมาตรา 10 หรือไม่ อย่างไร
5. ท่านเห็นด้วยกับการกำหนดข้อยกเว้นความรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญาหรือทางวินัยให้แก่ผู้ที่ให้ถ้อยคำ หรือส่งมอบวัตถุ เอกสาร หรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องต่อคณะกรรมาธิการ ตามร่างมาตรา 11 หรือไม่ อย่างไร
6. ท่านเห็นด้วยกับการกำหนดให้กรรมาธิการที่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ให้ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ตามร่างมาตรา 12 หรือไม่ อย่างไร
7. ท่านเห็นด้วยกับการกำหนดให้นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีซึ่งไม่สั่งการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดหรือในกำกับให้ข้อเท็จจริง ส่งเอกสาร หรือแสดงความเห็นตามร่างมาตรา 6 ให้ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ตามร่างมาตรา 13 หรือไม่ อย่างไร
8. ท่านเห็นว่าที่ผ่านมาการใช้อำนาจเรียกตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 129 มีปัญหาและมีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร และการเสนอร่างพระราชบัญญัตินี้จะช่วยแก้ไขปัญหาและจะก่อให้เกิดความเหมาะสมได้หรือไม่ อย่างไร
9. ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี)