โดยที่ปัจจุบันประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กำหนดสิทธิของผู้ใช้อำนาจปกครองว่ามีสิทธิทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอนนั้น มีการบังคับใช้มาเป็นระยะเวลานาน อีกทั้งพบว่าการลงโทษนั้น หลายกรณีกลับกลายเป็นการกระทำในลักษณะทารุณกรรมหรือทำร้ายอันส่งผลกระทบต่อร่างกายหรือจิตใจของบุตร เป็นการเฆี่ยนตีบุตร หรือทำโทษด้วยวิธีการอื่นอันเป็นการด้อยค่า ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของบุตร และไม่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาการกระทำผิดหรือพฤติกรรมของบุตรที่จำเป็นต้องว่ากล่าวสั่งสอน ประกอบกับการปรับแก้ไขสิทธิของผู้ใช้อำนาจปกครองในการทำโทษบุตรนี้ เป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคี ข้อเสนอแนะทั่วไป ฉบับที่ 8 (ค.ศ. 2006) (General Comment No. 8 (2006) The Right of the Child of Protection from Corporal Punishment and other Cruel or Degrading Forms of Punishment) ที่ออกตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และประเทศไทยได้ตอบรับและให้คำมั่นโดยสมัครใจที่จะปฏิบัติตามภายใต้กลไก Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ 2 (พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2563) อีกด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ตารางเปรียบเทียบ (เอกสารแนบ)
ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง
1. กระทรวงยุติธรรม
2. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยอ้อม
1. สำนักงานศาลยุติธรรม
2. สำนักงานอัยการสูงสุด
3. สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
4. สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์
5. ภาคประชาสังคม
- มูลนิธิคุ้มครองเด็ก
- มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
- มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี
ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยทั่วไป
- ประชาชน
1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดสิทธิของผู้ใช้อำนาจปกครองในการทำโทษบุตรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอนตามสมควร โดยการทำโทษนั้นต้องไม่เป็นการกระทำทารุณกรรม หรือทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ ไม่เป็นการเฆี่ยนตี หรือทำโทษอื่นใดอันเป็นการด้อยค่า
2. ท่านเห็นว่ากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน มีปัญหาอย่างไรบ้าง และเมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมตามร่างกฎหมายฉบับนี้แล้ว จะสามารถแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ได้หรือไม่ อย่างไร
3. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี)