โดยที่ในปัจจุบันกิจการประปาส่วนใหญ่ของประเทศนั้นอยู่ในความดูแลของการประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค และการประปาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งยังขาดกฎหมายที่ให้อำนาจหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐ เพื่อกำหนดกรอบแนวทางในการกำหนดนโยบายและแผนแม่บทการบริหารและพัฒนากิจการประปาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้ง ขาดการกำกับดูแล มาตรฐานและคุณภาพในการให้บริการน้ำประปาแก่ประชาชนให้เหมาะสมแก่การอุปโภคบริโภค จึงสมควรให้มีกฎหมายเพื่อกำหนดนโยบาย มาตรฐาน การกำกับดูแล และแผนการบริหารและพัฒนาเกี่ยวกับการประปาของประเทศ เพื่อสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประชาชนได้รับบริการการประปาได้อย่างสะดวกประหยัด ปลอดภัย และทั่วถึง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
1. ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง
1. กระทรวงมหาดไทย
2. กระทรวงสาธารณสุข
3. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
4. กรมอนามัย
5. กรุงเทพมหานคร
6. เมืองพัทยา
7. การประปานครหลวง
8. การประปาส่วนภูมิภาค
2. ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยอ้อม
1. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. กระทรวงพลังงาน
3. กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
4. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
5. กรมชลประทาน
6. กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
7. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
8. องค์การจัดการน้ำเสีย
9. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
10. สมาคมการประปาแห่งประเทศไทย
11. สมาคมน้ำบาดาลไทย
3. ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยทั่วไป
1. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
2. สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย
3. สมาคมอนุรักษ์ดินและน้ำแห่งประเทศไทย
4. สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต
5. ประชาชน
1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการยกเลิกการขอสัมปทานเพื่อประกอบกิจการประปา
2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับกิจการประปา และให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำนโยบาย การบริหารและพัฒนาการประปาของประเทศ และกำหนดให้อธิบดีกรมอนามัยเป็นเลขานุการ และกำหนดให้กรมอนามัยทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการ
3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับประเด็นการอนุญาตประกอบกิจการประปา มาตรฐานการประกอบกิจการประปา หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ได้รับใบอนุญาต การพิจารณาข้อพิพาทและการอุทธรณ์ พนักงานเจ้าหน้าที่ และบทกำหนดโทษ
4. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการยื่นคำขอใบอนุญาตกิจการประปาขนาดเล็ก ให้ทำ ณ ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่จะตั้งสถานที่ผลิตน้ำประปา ส่วนการยื่นคำขอใบอนุญาตกิจการประปาขนาดใหญ่ ให้ทำ ณ กรมอนามัย และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการตรวจสอบกิจการ เอกสารหลักฐานคุณภาพน้ำประปา หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องของผู้รับใบอนุญาต
5. ท่านเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร ในปัจจุบันประเทศไทยขาดกฎหมายที่ให้อำนาจหน้าที่
แก่หน่วยงานของรัฐ เพื่อกำหนดกรอบแนวทางในการกำหนดนโยบายและแผนแม่บทการบริหารและพัฒนากิจการประปาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และการเสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้
6. ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี)