โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติกระบวนการพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นกิจการขนาดย่อม ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในระบบเศรษฐกิจปัจจุบันและประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราว ให้สามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้และมีกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน ทั้งนี้ ลูกหนี้ยังคงเป็นผู้บริหารกิจการตามแผนฟื้นฟูกิจการ อีกทั้งกำหนดจำนวนหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เพื่อให้สามารถร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน โดยเพิ่มเติมกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แบบเร่งรัดเพื่อใช้เป็นทางเลือกให้แก่ลูกหนี้ อีกทั้งสมควรกำหนดกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูฐานะของลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดา และให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งคุ้มครองเจ้าหนี้และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทำให้กระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ตารางเปรียบเทียบ (เอกสารแนบ)
1. กรมบังคับคดี
2. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
3. สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
4. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
5. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
6. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
7. สำนักงานศาลยุติธรรม
8. ธนาคารแห่งประเทศไทย
9. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
10. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
11. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
12. สมาคมธนาคารไทย
13. สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ
14. ประชาชน
1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการเปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้ที่อาจยื่นคำร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และจำนวนหนี้ที่อาจยื่นคำร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ที่เป็นกิจการขนาดย่อม
2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ไขบทนิยามในกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นกิจการขนาดย่อมคำว่า "ลูกหนี้" ให้ตัดส่วนที่กำหนดว่าจะต้องเป็นวิสาหกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อมที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ไขกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นกิจการขนาดย่อม จากเดิมที่ให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีการฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการ เป็นให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ฟื้นฟูกิจการได้โดยไม่ต้องแนบแผน และให้ลูกหนี้เป็นผู้ทำแผนภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้ว
4. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ไขข้อพิจารณาของศาลที่จะเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นกิจการขนาดย่อมตามร่างมาตรา 90/115
5. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ไขอัตราโทษในความผิดหมวด 3/2 กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นกิจการขนาดย่อม
6. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่จะให้มีการเพิ่มกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แบบเร่งรัดเป็นหมวด 3/3 และเห็นด้วยหรือไม่กับหลักเกณฑ์ วิธีการ และบทกำหนดโทษตามหมวดดังกล่าว
7. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่จะให้มีการเพิ่มกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดาเป็นหมวด 3/4 และเห็นด้วยหรือไม่กับหลักเกณฑ์ วิธีการ และบทกำหนดโทษตามหมวดดังกล่าว
8. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการในกรณีเป็นที่สงสัยว่าบุคคลมีพฤติการณ์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือมีพฤติการณ์ไปในทางทุจริต และกำหนดโทษกรณีขัดขืนหมายเรียกหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
9. ท่านเห็นว่าปัจจุบันกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มีปัญหาอย่างไรบ้าง และร่างพระราชบัญญัตินี้จะแก้ปัญหาได้หรือไม่ เพียงใด
10. ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะอื่นๆ (ถ้ามี)