โดยที่ภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง หากมีการพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่องเป็นระบบและสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนแล้วย่อมจะทำให้การใช้ที่ดินในภาคใต้เป็นไปอย่างเหมาะสมกับสภาพและศักยภาพของพื้นที่ได้อย่างแท้จริง ทั้งยังจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ดังนั้น การกำหนดและดำเนินการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ให้เป็นระบบและสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การประกอบพาณิชยกรรมอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงการค้าและโลจิสติกส์ในภูมิภาคอันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ และเป็นการต่อยอดการพัฒนาจากฐานทรัพยากรและกิจกรรมเศรษฐกิจที่มีอยู่ในพื้นที่ เพิ่มโอกาสในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยให้มีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล ให้เกิดความยั่งยืนของการพัฒนาในระยะยาวและให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ดึงดูดการลงทุนกระจายความเจริญและยกระดับรายได้คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวม แต่ด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่เอื้อต่อการพัฒนาพื้นที่ตามแนวทางดังกล่าว ขาดการวางแผนการบริหารพื้นที่แบบองค์รวม การพัฒนาด้านต่าง ๆ จึงเป็นไปอย่างแยกส่วนและกระจัดกระจายและผลของ
การขาดการบูรณาการดังกล่าว ทำให้ไม่สามารถพัฒนาพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้
ได้อย่างเต็มศักยภาพ ทั้งการจัดทำระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ ยังขาดความต่อเนื่องและเชื่อมโยงกัน กรณีจึงสมควรกำหนดให้เป็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ เพื่อจะได้มี
การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ชัดเจนแน่นอนโดยเหมาะสมกับสภาพและศักยภาพของพื้นที่ สอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีการบูรณาการการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคให้ต่อเนื่องและเชื่อมโยงกันทั้งในและนอกระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้โดยยกระดับการพัฒนาเมือง
ให้มีความทันสมัยระดับนานาชาติที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยและการประกอบกิจการการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร รวมทั้งให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเป็นการเฉพาะเจาะจง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
1. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
2. สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
3. สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
4. สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
5. สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม
6. สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
7. สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8. สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน
9. สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
10. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
11. สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน
12. สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
13. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
14. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
15. สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
16. สำนักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
17. สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
18. สำนักงบประมาณ
19. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
20. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
21. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
22. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
23. สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
24. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
25. ธนาคารแห่งประเทศไทย
26. องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร
27. องค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง
28. องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี
29. องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช
30. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
31. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
32. สมาคมธนาคารไทย
33. สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย
34. สมาคมเทศบาลนครและเมือง
35. สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย
36. สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย
37. ประชาชน
1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดความหมายบทนิยาม และการกำหนดให้นายกรัฐมนตรี รักษาการตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีหน้าที่และอำนาจในการกำกับดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้และการกำหนดให้คณะกรรมการนโยบายระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้เป็นกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่และอำนาจในการกำหนดนโยบายและขับเคลื่อนดำเนินการพัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้
2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดให้มีการจัดทำนโยบายและแผน เพื่อการพัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ดำเนินการจัดทำนโยบายและแผนภาพรวม
3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ไปสู่การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง สร้างนวัตกรรมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันในด้านต่าง ๆ หรือเพื่อส่งเสริมให้เกิดกิจการที่เกี่ยวเนื่องหรือเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ หรือเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ความเชี่ยวชาญจากผู้ประกอบกิจการ
4. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ และการกำหนดให้พื้นที่จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ตลอดจนพื้นที่อื่นใดในภาคใต้ให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อดำเนินการพัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้
5. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการกำหนดบทลงโทษกับบุคคลที่ใช้ชื่อ เครื่องหมาย หรือถ้อยคำในประการที่น่าจะทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าเป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ
6. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่องให้เป็นระบบและสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนแล้วย่อมจะทำให้การใช้ที่ดินในภาคใต้เป็นไปอย่างเหมาะสมกับสภาพและศักยภาพของพื้นที่ได้อย่างแท้จริง ทั้งยังจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม และหากพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับจะสามารถพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่องให้เป็นระบบและเพิ่มขีดความสามารถของประเทศโดยรวมได้หรือไม่ อย่างไร
7. ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี)