โดยที่จะกำหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการการออมเพื่อการเกษียณแห่งชาติขึ้น เพื่อกำหนดนโยบายและบริหารจัดการกองทุนต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพ ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการการออมเพื่อการเกษียณแห่งชาติ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าวและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการออมเพื่อการเกษียณแห่งชาติ จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ในเรื่องเกี่ยวกับการให้นายจ้างจัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้าง อำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลของคณะกรรมการการออมเพื่อการเกษียณแห่งชาติ การกำหนดอัตราในการจ่ายเงินสะสมและสมทบ ตลอดจนสิทธิของลูกจ้าง จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ขึ้น
สาระสำคัญ
1. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 5 โดยกำหนดให้นายจ้างซึ่งเป็นนิติบุคคลและมีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่ลูกจ้าง เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีที่ลูกจ้างตาย ออกจากงาน หรือลาออกจากกองทุน โดยลูกจ้างจ่ายเงินสะสมและนายจ้างจ่ายเงินสมทบตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุนนั้น ซึ่งจะจัดตั้งเป็นกองทุนนายจ้างเดียวหรือกองทุนหลายนายจ้าง และอาจมีนโยบายการลงทุนนโยบายเดียวหรือหลายนโยบายก็ได้
2. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา มาตรา 10 วรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยกำหนดให้ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนโดยให้นายจ้างหักจากค่าจ้างทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง การจ่ายเงินสะสมของลูกจ้างและการจ่ายเงินสมทบของลูกจ้างต้องไม่ต่ำกว่าที่คณะกรรมการการออมเพื่อการเกษียณแห่งชาติกำหนด
3. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา มาตรา 10/1 โดยให้ในกรณีที่เห็นว่าท้องที่หนึ่งท้องที่ใดเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ สาธารณภัย หรือเหตุการณ์ใดที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ให้คณะกรรมการการออมเพื่อการเกษียณแห่งชาติมีอำนาจกำหนดประเภทธุรกิจ ระยะเวลา หรือเงื่อนไขใด เพื่อให้ลูกจ้างหรือนายจ้างหยุดหรือเลื่อนการส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบเข้ากองทุนได้คราวละไม่เกินหนึ่งปี
4. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 12 โดยให้คณะกรรมการการออมเพื่อการเกษียณแห่งชาติ มีอำนาจและหน้าที่กำกับและควบคุมโดยทั่วไปเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ และคณะกรรมการการออมเพื่อการเกษียณแห่งชาติอาจมอบอำนาจให้หน่วยงานใดในสังกัดปฏิบัติหน้าที่แทน และจะมอบหมายให้แต่งตั้งพนักงานของหน่วยงานนั้นเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้
5. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 23 กำหนดให้ลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพเพราะเหตุซึ่งมิใช่ตาย ทุพพลภาพ เกษียณอายุ หรือเหตุอื่นตามที่คณะกรรมการการออมเพื่อการเกษียณแห่งชาติกำหนด ผู้จัดการกองทุนต้องคงเงินของลูกจ้างไว้ โดยลูกจ้างและนายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน และให้จ่ายเงินออกจากกองทุนแก่กองทุนใหม่หรือกองทุนอื่นใดอันมีวัตถุประสงค์เป็นการออมเพื่อการเกษียณของลูกจ้างโดยให้จ่ายรวมทั้งหมดในคราวเดียวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เข้าเป็นสมาชิกของกองทุนใหม่ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่นายทะเบียนประกาศกำหนด
6. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 23/2 โดยเมื่อลูกจ้างรายใดสิ้นสมาชิกภาพตามข้อบังคับของกองทุนด้วยเหตุเกษียณอายุ ให้ผู้จัดการกองทุนจ่ายเงินจากกองทุนแก่ลูกจ้างเป็นงวด และให้ลูกจ้างรายนั้นยังคงเป็นสมาชิกของกองทุนต่อไปได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน โดยลูกจ้างอาจประสงค์นำส่งเงินสะสมเข้ากองทุนต่อไปก็ได้ ทั้งนี้ เงินสะสมคงค้างของลูกจ้างและเงินสะสม ให้กองทุนนำไปลงทุนต่อได้ความสมัครใจของลูกจ้าง
7. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 23/4 ในกรณีที่นายจ้างถอนตัวจากกองทุนหลายนายจ้างและยังมิได้จัดให้มีกองทุนใหม่ หรือลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพเพราะออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด หรือกองทุนเลิก หากลูกจ้างได้แสดงเจตนา ให้ผู้จัดการกองทุนหรือผู้ชำระบัญชีโอนเงินทั้งหมดที่คงไว้ในกองทุน หรือเงินที่เหลือจากการขอรับเงินเป็นงวด ไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการชราภาพ ให้ผู้จัดการกองทุนหรือผู้ชำระบัญชีดำเนินการตามที่ลูกจ้างได้แสดงเจตนาไว้ โดยที่นายทะเบียนอาจประกาศกำหนดวิธีการและเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้
8. เพิ่มเติมบทเฉพาะกาล โดยกำหนดให้นายจ้างจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่ลูกจ้างให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาสามปี โดยกำหนดอัตราจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบสำหรับกรณีดังกล่าวไว้ด้วย
9. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเพื่อควบคุมดูแลการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้เป็นไปตามบทเฉพาะกาล
1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้นายจ้างซึ่งเป็นนิติบุคคลและมีลูกจ้างตั้งแต่ ๑ คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่ลูกจ้าง เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีที่ลูกจ้างตาย ออกจากงาน หรือลาออกจากกองทุน โดยลูกจ้างจ่ายเงินสะสมและนายจ้างจ่ายเงินสมทบตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุนนั้น ซึ่งจะจัดตั้งเป็นกองทุนนายจ้างเดียวหรือกองทุนหลายนายจ้าง และอาจมีนโยบายการลงทุนนโยบายเดียวหรือหลายนโยบายก็ได้
2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนโดยให้นายจ้างหักจากค่าจ้างทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง การจ่ายเงินสะสมของลูกจ้างและการจ่ายเงินสมทบของลูกจ้างต้องไม่ต่ำกว่าที่คณะกรรมการการออมเพื่อการเกษียณแห่งชาติกำหนด
3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้ในกรณีที่เห็นว่าท้องที่หนึ่งท้องที่ใดเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ สาธารณภัย หรือเหตุการณ์ใดที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ให้คณะกรรมการการออมเพื่อการเกษียณแห่งชาติมีอำนาจกำหนดประเภทธุรกิจ ระยะเวลา หรือเงื่อนไขใด เพื่อให้ลูกจ้างหรือนายจ้างหยุดหรือเลื่อนการส่งเงินสะสมหรือเงินสมทบเข้ากองทุนได้คราวละไม่เกินหนึ่งปี
4. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้คณะกรรมการการออมเพื่อการเกษียณแห่งชาติ มีอำนาจและหน้าที่กำกับและควบคุมโดยทั่วไปเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ และคณะกรรมการการออมเพื่อการเกษียณแห่งชาติอาจมอบอำนาจให้หน่วยงานใดในสังกัดปฏิบัติหน้าที่แทน และจะมอบหมายให้แต่งตั้งพนักงานของหน่วยงานนั้นเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้
5. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้ลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพเพราะเหตุซึ่งมิใช่ตาย ทุพพลภาพ เกษียณอายุ หรือเหตุอื่นตามที่คณะกรรมการการออมเพื่อการเกษียณแห่งชาติกำหนด ผู้จัดการกองทุนต้องคงเงินของลูกจ้างไว้ โดยลูกจ้างและนายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน และให้จ่ายเงินออกจากกองทุนแก่กองทุนใหม่หรือกองทุนอื่นใดอันมีวัตถุประสงค์เป็นการออมเพื่อการเกษียณของลูกจ้างโดยให้จ่ายรวมทั้งหมดในคราวเดียวภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่เข้าเป็นสมาชิกของกองทุนใหม่
6. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดว่าเมื่อลูกจ้างรายใดสิ้นสมาชิกภาพตามข้อบังคับของกองทุนด้วยเหตุเกษียณอายุ ให้ผู้จัดการกองทุนจ่ายเงินจากกองทุนแก่ลูกจ้างเป็นงวด และให้ลูกจ้างรายนั้นยังคงเป็นสมาชิกของกองทุนต่อไปได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุน โดยลูกจ้างอาจประสงค์นำส่งเงินสะสมเข้ากองทุนต่อไปก็ได้ ทั้งนี้ เงินสะสมคงค้างของลูกจ้างและเงินสะสม ให้กองทุนนำไปลงทุนต่อได้ความสมัครใจของลูกจ้าง
7. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้ในกรณีที่นายจ้างถอนตัวจากกองทุนหลายนายจ้างและ ยังมิได้จัดให้มีกองทุนใหม่ หรือลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพเพราะออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด หรือกองทุนเลิก หากลูกจ้างได้แสดงเจตนา ให้ผู้จัดการกองทุนหรือผู้ชำระบัญชีโอนเงินทั้งหมดที่คงไว้ในกองทุน หรือเงินที่เหลือจากการขอรับเงินเป็นงวด ไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการชราภาพ ให้ผู้จัดการกองทุนหรือผู้ชำระบัญชีดำเนินการตามที่ลูกจ้างได้แสดงเจตนาไว้ โดยที่นายทะเบียนอาจประกาศกำหนดวิธีการและเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้
8. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้นายจ้างจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่ลูกจ้างให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาสามปี โดยกำหนดอัตราจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบสำหรับกรณีดังกล่าวไว้ด้วย