สถานะ : เปิดรับฟังความคิดเห็น
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ประเภทร่าง เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นร่างการเงิน
เสนอโดย นายพิสิฐ ลี้อาธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับคณะ
ข้อมูลประกอบการพิจารณา

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของประมวลรัษฎากร เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาพความเปลี่ยนแปลงของการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันยิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับการประชุมของบริษัทด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ การที่ผู้มอบฉันทะจะต้องดำเนินการเสียอากรและขีดฆ่าแสตมป์อาจเป็นการล่าช้าและเป็นข้ออุปสรรคสำคัญในการประชุมบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้มอบฉันทะเป็นชาวต่างประเทศหรือเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนและมีที่ตั้งสำนักงานในต่างประเทศ รวมทั้งกรณีที่มีการจัดประชุมด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้สาระสำคัญ

                    แก้ไขบัญชีอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร โดยการกำหนดให้การมอบฉันทะสำหรับการลงมติในที่ประชุมของบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียอากร รวมทั้งให้กรรมการของบริษัทสามารถเป็นผู้เสียอากรและเป็นผู้ขีดฆ่าแสตมป์

ลักษณะแห่งตราสาร

ค่าอากรแสตมป์

ผู้ที่ต้องเสียอากร

ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสมป์

8. ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติใน
    ที่ประชุมของบริษัท

    (ก) มอบฉันทะสำหรับการประชุม
         ครั้งเดียว

 

    (ข) มอบฉันทะสำหรับการประชุม
         กว่าครั้งเดียว

 

    ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร

    (1) การมอบฉันทะเพื่อใช้ในการ
          ประชุมตามกฎหมายว่าด้วย
          การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

 

 

20 บาท

 

 

100 บาท

 

 

 

 

 

 

 

 

ผู้มอบฉันทะ หรือ

กรรมการบริษัท

* ผู้มอบฉันทะ

ผู้มอบฉันทะ หรือ

กรรมการบริษัท

* ผู้มอบฉันทะ

 

 

 

 

 

 

ผู้มอบฉันทะ หรือ

กรรมการบริษัท

* ผู้มอบฉันทะ

ผู้มอบฉันทะ หรือ

กรรมการบริษัท

* ผู้มอบฉันทะ

 

 

 

 

* พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พุทธศักราช ๒๔๘๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไข
   เพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2526

ผู้ที่เกี่ยวข้อง

  1.  กระทรวงการคลัง
  2.  กระทรวงพาณิชย์
  3.   กระทรวงอุตสาหกรรม
  4.   สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
  5.   สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  6.   ผู้ประกอบการธุรกิจ
  7.   สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  8.    ประชาชนทั่วไป

ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็น

ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้การมอบฉันทะสำหรับการลงมติในที่ประชุมของบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียอากร รวมทั้งให้กรรมการของบริษัทสามารถเป็นผู้เสียอากรและเป็นผู้ขีดฆ่าแสตมป์