โดยที่มีความจำเป็นต้องรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ และคุ้มครองรักษาผลประโยชน์ของชาวสวนลำไยในด้านการผลิตและจำหน่ายลำไย สมควรจัดระบบและควบคุมการผลิตและจำหน่ายลำไยและผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากลำไยของชาวสวนลำไย โดยให้ชาวสวนลำไยและเจ้าของโรงงานผู้รับซื้อและแปรรูป ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงเข้ามาร่วมมือกับทางราชการ ตั้งแต่การผลิตลำไยไปจนถึงการจัดสรรเงินรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ทั้งในและนอกราชอาณาจักรระหว่างชาวสวนลำไยและเจ้าของโรงงานผู้รับซื้อลำไยและผลิตภัณฑ์ เพื่อให้อุตสาหกรรมลำไยเติบโตโดยมีเสถียรภาพ และเกิดความเป็นธรรมแก่ชาวสวนลำไย เจ้าของโรงงานผู้รับซื้อลำไย และประชาชนผู้บริโภค จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
สาระสำคัญ
ร่างพระราชบัญญัติลำไย พ.ศ. .... มีหลักการให้มีกฎหมายว่าด้วยลำไย โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. กำหนดบทนิยามเพื่ออธิบายความหมายของถ้อยคำที่ใช้ในร่างพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 3)
2. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และออกระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 4)
3. กำหนดวัตถุประสงค์ของร่างพระราชบัญญัติลำไย พ.ศ. .... เพื่อรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศและคุ้มครองรักษาผลประโยชน์ของชาวสวนลำไยในด้านการผลิตและจำหน่าย และให้เกิดความเป็นธรรมแก่โรงงานและผู้บริโภค การจัดระบบและควบคุมการผลิตและจำหน่ายลำไยให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 5-7)
4. กำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการลำไย (ร่างมาตรา 8-18)
5. กำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร (ร่างมาตรา 19-21)
6. กำหนดวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของกองทุนลำไยและผลิตภัณฑ์ (ร่างมาตรา 22-30)
7. กำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชาวสวนลำไย (ร่างมาตรา 31-39)
8. กำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติของโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ซึ่งรับซื้อลำไยหรือผลิตภัณฑ์ หรือผลผลิตจากเกษตรกรผู้ปลูกลำไย (ร่างมาตรา 40-42)
9. กำหนดเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกลำไย (ร่างมาตรา 43-44)
10. กำหนดเกี่ยวกับราคาลำไยและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายลำไยและผลิตภัณฑ์ (ร่างมาตรา 45-53)
11. กำหนดเกี่ยวกับการควบคุมและอุทธรณ์ (ร่างมาตรา 54-56)
12. กำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการลำไยแห่งประเทศไทย ในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม (ร่างมาตรา 57-58)
13. กำหนดอำนาจและหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ (ร่างมาตรา 59-60)
14. กำหนดบทลงโทษ (ร่างมาตรา 61-71)
1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2. กระทรวงพาณิชย์
3. กระทรวงอุตสาหกรรม
4. เกษตรชาวสวนลำไย
5. สหกรณ์การเกษตรและวิสาหกิจชุมชน
6. สมาคมชาวสวนลำไย
7. โรงงานผู้รับซื้อลำไยและผลิตภัณฑ์
8. ประชาชนทั่วไป
1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดบทนิยามเพื่ออธิบายความหมายของถ้อยคำที่ใช้ในร่างพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 3)
2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และออกระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 4)
3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดวัตถุประสงค์ของร่างพระราชบัญญัติลำไย พ.ศ. .... (ร่างมาตรา 5-7)
4. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการลำไย (ร่างมาตรา 8-18)
5. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร (ร่างมาตรา 19-21)
6. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของกองทุนลำไยและผลิตภัณฑ์ (ร่างมาตรา 22-30)
7. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชาวสวนลำไย (ร่างมาตรา 31-39)
8. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติของโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ซึ่งรับซื้อลำไยหรือผลิตภัณฑ์ หรือผลผลิตจากเกษตรกรผู้ปลูกลำไย (ร่างมาตรา 40-42)
9. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกลำไย (ร่างมาตรา 43-44)
10. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดเกี่ยวกับราคาลำไยและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายลำไยและผลิตภัณฑ์ (ร่างมาตรา 45-53)
11. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดเกี่ยวกับการควบคุมและอุทธรณ์ (ร่างมาตรา 54-56)
12. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการลำไยแห่งประเทศไทย ในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม (ร่างมาตรา 57-58)
13. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ (ร่างมาตรา 59-60)
14. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดบทลงโทษ (ร่างมาตรา 61-71)
15. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี)