สถานะ : ปิดรับฟังความคิดเห็น รายงานผลการรับฟังความคิดเห็น
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ประเภทร่าง เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่เป็นร่างการเงิน
เสนอโดย นายวิรัช พันธุมะผล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กับคณะ
ข้อมูลประกอบการพิจารณา

แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 78 โดยมีสาระสำคัญ คือ

1. กำหนดให้พนักงานฝ่ายปกครองระดับชำนาญการขึ้นไปหรือตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจเอกขึ้นไปที่สำเร็จการศึกษาระดับนิติศาสตรบัณฑิตที่เนติบัณฑิตยสภารับรองหรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่

(1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 80

(2) เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตราย
แก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นโดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด

(3)  เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับบุคคลนั้น ตามมาตรา 66 (2) แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่
ไม่อาจรอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้ อันควรสงสัยว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดมาแล้วและจะหลบหนี

(4) เป็นการจับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หนีหรือจะหลบหนีในระหว่างถูกปล่อยชั่วคราวตามมาตรา 117 (ร่างมาตรา 3)

ผู้ที่เกี่ยวข้อง

  1. ศาลยุติธรรม
  2. สำนักงานอัยการสูงสุด
  3. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  4. ประชาชนทั่วไป

ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็น

ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดให้พนักงานฝ่ายปกครองระดับชำนาญการขึ้นไปหรือตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจเอกขึ้นไปที่สำเร็จการศึกษาระดับนิติศาสตรบัณฑิตที่เนติบัณฑิตยสภารับรองหรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่

1. กำหนดให้พนักงานฝ่ายปกครองระดับชำนาญการขึ้นไปหรือตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจเอกขึ้นไปที่สำเร็จการศึกษาระดับนิติศาสตรบัณฑิตที่เนติบัณฑิตยสภารับรองหรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่

(1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 80

(2) เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตราย
แก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นโดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด

(3)  เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับบุคคลนั้น ตามมาตรา 66 (2) แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่
ไม่อาจรอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้ อันควรสงสัยว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดมาแล้วและจะหลบหนี

(4) เป็นการจับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หนีหรือจะหลบหนีในระหว่างถูกปล่อยชั่วคราวตามมาตรา 117 (ร่างมาตรา 3)