สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
พรรคการเมืองเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560
ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
สาระสำคัญ
โดยที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ได้ใช้บังคับ
มาระยะหนึ่งมีบทบัญญัติที่ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการทำให้พรรคการเมืองเข้มแข็งและมีความเป็นสถาบันการเมือง สร้างภาระขั้นตอนทางธุรการให้กับพรรคการเมือง และมีบทกำหนดโทษ
ที่ไม่ได้สัดส่วน และสร้างข้อจำกัดในการใช้เสรีภาพรวมกลุ่มกันจัดตั้งพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมการจัดตั้งพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมืองและแก้ไขปรับปรุงเรื่องข้อห้ามของพรรคการเมือง เรื่องการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งและการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง แก้ไขเพิ่มเติม
เรื่องรายรับของพรรคการเมือง การรายงานการรับการบริจาคการสิ้นสุดของพรรคการเมือง
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ดังต่อไปนี้
1. ยกเลิกการบังคับเงินทุนประเดิมของพรรคการเมืองตามมาตรา 9 วรรคสอง (ร่างมาตรา 3)
2. ยกเลิกการกำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำของค่าบำรุงพรรคการเมืองและการกำหนดการเลิกพรรคการเมืองไว้ในข้อบังคับพรรคการเมือง (ร่างมาตรา 4 และร่างมาตรา 5)
3. ยกเลิกการกำหนดการเลิกพรรคการเมืองไว้ในข้อบังคับพรรค โดยเปลี่ยนให้ใช้มติที่ประชุมใหญ่พรรคการเมืองในการเลิกพรรคการเมือง (ร่างมาตรา 4 และร่างมาตรา 28)
4. ยกเลิกการกำหนดจำนวนสมาชิกพรรคการเมืองขั้นต่ำ และการตั้งสาขาพรรคการเมืองครบทุกภาค (ร่างมาตรา 6 ร่างมาตรา 7 และร่างมาตรา 35)
5. กำหนดให้สามารถลงมติในที่ประชุมใหญ่พรรคการเมืองผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ (ร่างมาตรา 8)
6. ปรับปรุงเงื่อนไขการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยให้มีตัวแทนประจำจังหวัดเป็นเขตจังหวัด แทนการใช้เขตเลือกตั้ง (ร่างมาตรา 9)
7. แก้ไขหลักการการส่งผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อในเรื่องการคำนึงถึง “ความเท่าเทียมชายและหญิง” เป็น “ความเท่าเทียมระหว่างเพศ” และเพิ่มบุคคลที่มี
ความหลากหลายทางเพศ ในกรณีที่จะมีการกำหนดสัดส่วนขั้นต่ำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(ร่างมาตรา 10)
8. ยกเลิกการกำหนดขั้นตอนการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และสัดส่วนคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ โดยให้แต่ละพรรคการเมืองกำหนดขั้นตอนและสัดส่วนของคณะกรรมการสรรหาไว้ในข้อบังคับ
พรรคการเมือง (ร่างมาตรา 11 ถึงร่างมาตรา 18)
9. แก้ไขชื่อหมวด 5 จาก “รายได้ของพรรคการเมือง” เป็น “รายรับของพรรคการเมือง” ปรับปรุงเงื่อนไขการหารายรับของพรรคการเมือง โดยให้สามารถจัดทำหลักฐานเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้การเพิ่มจำนวนเงินขั้นต่ำจากห้าพันบาทเป็นหนึ่งแสนบาทในกรณีต้องเปิดเผย
ชื่อผู้บริจาคเงินให้พรรคการเมือง เพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้บริจาคเงินให้พรรคการเมือง โดยปรับจำนวนเงินให้สอดคล้องกับกิจกรรมระดมทุนของพรรคการเมือง (ร่างมาตรา 19
ถึงร่างมาตรา 25)
10. ปรับปรุงการจัดสรรเงินสนับสนุนพรรคการเมืองของกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง
โดยให้ตามจำนวนสมาชิกพรรคการเมือง (ร่างมาตรา 26)
11. ยกเลิกอำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการยุบพรรคการเมือง และการเพิกถอนสิทธิสมัคร
รับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมือง
(ร่างมาตรา 27 ร่างมาตรา 29 ร่างมาตรา 34 และร่างมาตรา 38)
12. ปรับปรุงเงื่อนไขการสิ้นสภาพของพรรคการเมือง โดยให้เหลือเพียงการไม่แก้ไขข้อบังคับพรรคให้ครบถ้วนและภายในระยะเวลาที่กำหนด การไม่จัดประชุมใหญ่พรรคการเมืองติดต่อกันสองปี การมีหนี้สินล้นพ้นตัว และการให้ที่ประชุมใหญ่พรรคการเมืองมีมติเลิกพรรคการเมือง (ร่างมาตรา 28)
13. ยกเลิกการกำหนดโทษการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งออกจากบทกำหนดโทษ (ร่างมาตรา 30 ถึงร่างมาตรา 33 ร่างมาตรา 36 ถึงร่างมาตรา 37 และร่างมาตรา 39 ถึงร่างมาตรา 45)
1. พรรคการเมือง ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด และสมาชิกพรรคการเมือง
2. คณะกรรมการการเลือกตั้ง
3. ศาลรัฐธรรมนูญ
1. สมควรยกเลิกการบังคับเงินทุนประเดิมของพรรคการเมือง หรือไม่
2. สมควรยกเลิกการกำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำของค่าบำรุงพรรคการเมืองและการกำหนดการเลิกพรรคการเมืองไว้ในข้อบังคับพรรคการเมือง หรือไม่
3. สมควรยกเลิกการกำหนดการเลิกพรรคการเมืองไว้ในข้อบังคับพรรค โดยเปลี่ยนให้ใช้
มติที่ประชุมใหญ่พรรคการเมืองในการเลิกพรรคการเมือง หรือไม่
4. สมควรยกเลิกการกำหนดจำนวนสมาชิกพรรคการเมืองขั้นต่ำ และการตั้งสาขาพรรคการเมืองครบทุกภาค หรือไม่
5. สมควรกำหนดให้สามารถลงมติในที่ประชุมใหญ่พรรคการเมืองผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ หรือไม่
6. สมควรปรับปรุงเงื่อนไขการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยให้มีตัวแทนประจำจังหวัดเป็นเขตจังหวัด แทนการใช้เขตเลือกตั้ง หรือไม่
7. สมควรแก้ไขหลักการการส่งผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อในเรื่อง
การคำนึงถึง “ความเท่าเทียมชายและหญิง” เป็น “ความเท่าเทียมระหว่างเพศ” และเพิ่มบุคคล
ที่มีความหลากหลายทางเพศ ในกรณีที่จะมีการกำหนดสัดส่วนขั้นต่ำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
หรือไม่
8. สมควรยกเลิกการกำหนดขั้นตอนการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และสัดส่วนคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ โดยให้แต่ละพรรคการเมืองกำหนดขั้นตอนและสัดส่วนของคณะกรรมการสรรหาไว้ในข้อบังคับ
พรรคการเมือง หรือไม่
9. สมควรแก้ไขชื่อหมวด 5 จาก “รายได้ของพรรคการเมือง” เป็น “รายรับของ
พรรคการเมือง” ปรับปรุงเงื่อนไขการหารายรับของพรรคการเมือง โดยให้สามารถจัดทำหลักฐาน
เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้การเพิ่มจำนวนเงินขั้นต่ำจากห้าพันบาทเป็นหนึ่งแสนบาทในกรณีต้องเปิดเผยชื่อผู้บริจาคเงินให้พรรคการเมือง เพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้บริจาคเงิน
ให้พรรคการเมือง โดยปรับจำนวนเงินให้สอดคล้องกับกิจกรรมระดมทุนของพรรคการเมือง หรือไม่
10. สมควรปรับปรุงการจัดสรรเงินสนับสนุนพรรคการเมืองของกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง
โดยให้ตามจำนวนสมาชิกพรรคการเมือง หรือไม่
11. สมควรยกเลิกอำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการยุบพรรคการเมืองและการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมือง หรือไม่
12. สมควรปรับปรุงเงื่อนไขการสิ้นสภาพของพรรคการเมือง โดยให้เหลือเพียงการไม่แก้ไขข้อบังคับพรรคให้ครบถ้วนและภายในระยะเวลาที่กำหนด การไม่จัดประชุมใหญ่พรรคการเมืองติดต่อกันสองปี การมีหนี้สินล้นพ้นตัว และการให้ที่ประชุมใหญ่พรรคการเมืองมีมติเลิกพรรคการเมือง หรือไม่
13. สมควรยกเลิกการกำหนดโทษการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งออกจากบทกำหนดโทษ หรือไม่
14. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี)