สถานะ : ปิดรับฟังความคิดเห็น รายงานผลการรับฟังความคิดเห็น
ร่างพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ประเภทร่าง เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นร่างการเงิน
เสนอโดย นายวิเชียร ชวลิต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับคณะ
ข้อมูลประกอบการพิจารณา

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564

สาระสำคัญ

โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564 ได้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจำนวนห้าร้อยคน โดยกำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวนสี่ร้อยคน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวนหนึ่งร้อยคน และกำหนดให้มีบัตรเลือกตั้งแบบละหนึ่งใบเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิในการเลือกพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต รวมทั้งการคำนวณสัดส่วนผู้สมัครรับเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองที่จะได้รับเลือกตั้งให้เป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กันโดยตรงกับจำนวนคะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับการเลือกตั้ง มารวมกันทั้งประเทศ รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ การออกเสียงลงคะแนน การนับคะแนน การรวมคะแนนการประกาศผลการเลือกตั้ง และการอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญนี้ จึงต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ดังต่อไปนี้

1. แก้ไขเพิ่มเติมคำนิยาม “เขตเลือกตั้ง” (ร่างมาตรา 3)

2. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ (ร่างมาตรา 4)

3. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี เขตเลือกตั้ง
หน่วยเลือกตั้ง และที่เลือกตั้ง (ร่างมาตรา 5)

4. เพิ่มเติมเกี่ยวกับหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งในการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (ร่างมาตรา 6 )

5. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจสอบสิทธิการสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ร่างมาตรา 7 และร่างมาตรา 8)

6. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ (ร่างมาตรา 9)

7. เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ (ร่างมาตรา 10)

8. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง (ร่างมาตรา 11)

9. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทุจริตการเลือกตั้ง (ร่างมาตรา 12)

10. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการออกเสียงลงคะแนน (ร่างมาตรา 13 ร่างมาตรา 14 และร่างมาตรา 15)

11. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนับคะแนนและการรวมคะแนน (ร่างมาตรา 16 ร่างมาตรา 17
ร่างมาตรา 18 และร่างมาตรา 19)

12. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคำนวณสัดส่วนเพื่อหาผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (ร่างมาตรา 20 และร่างมาตรา 21)

13. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกาศผลการเลือกตั้งผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (ร่างมาตรา 22)

14. ยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับการคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อใหม่ เพราะเหตุที่การเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม (ร่างมาตรา 23)

15. กำหนดบทเฉพาะกาลรองรับให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งและประกาศเขตเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด เพื่อประโยชน์ของพรรคการเมืองในการส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกภายหลังประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทั้งนี้ มิให้นำบทบัญญัติในมาตรา 17 มาตรา 28 และมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาใช้บังคับกับการแบ่งเขตเลือกตั้งตามมาตรานี้ (ร่างมาตรา 24)

16. กำหนดบทเฉพาะกาลโดยในวาระเริ่มแรก มิให้นำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ มาใช้บังคับจนกว่าจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรกภายหลังประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ (ร่างมาตรา 25)

ผู้ที่เกี่ยวข้อง

  1.  พรรคการเมือง
  2.  คณะกรรมการการเลือกตั้ง
  3.  กระทรวงมหาดไทย

ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็น

  1. สมควรแก้ไขเพิ่มเติมคำนิยาม “เขตเลือกตั้ง” หรือไม่
  2. สมควรแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ หรือไม่
  3. สมควรแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี เขตเลือกตั้งหน่วยเลือกตั้ง และที่เลือกตั้ง หรือไม่
  4. สมควรเพิ่มเติมเกี่ยวกับหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งในการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ หรือไม่
  5. สมควรแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจสอบสิทธิการสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง หรือไม่
  6. สมควรแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ หรือไม่
  7. สมควรเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ หรือไม่
  8. สมควรแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง หรือไม่
  9. สมควรแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทุจริตการเลือกตั้ง หรือไม่
  10. สมควรแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการออกเสียงลงคะแนน หรือไม่
  11. สมควรแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนับคะแนนและการรวมคะแนน หรือไม่
  12. สมควรแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคำนวณสัดส่วนเพื่อหาผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ หรือไม่
  13. สมควรแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกาศผลการเลือกตั้งผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ หรือไม่
  14. สมควรยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับการคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อใหม่ เพราะเหตุที่การเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หรือไม่
  15. สมควรกำหนดบทเฉพาะกาลรองรับให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งและประกาศเขตเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด เพื่อประโยชน์ของพรรคการเมืองในการส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกภายหลังประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ทั้งนี้ มิให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๑๗ มาตรา ๒๘ และมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ มาใช้บังคับกับการแบ่งเขตเลือกตั้งตามมาตรานี้ หรือไม่
  16. สมควรกำหนดบทเฉพาะกาลโดยในวาระเริ่มแรก มิให้นำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้มาใช้บังคับจนกว่าจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรกภายหลังประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ หรือไม่
  17. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี)