สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2560 ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
สาระสำคัญ
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564 กำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนห้าร้อยคนซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวนสี่ร้อยคนและ
มาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวนหนึ่งร้อยคน โดยใช้บัตรเลือกตั้งแบบละหนึ่งใบ และเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคการเมืองจะได้รับให้เป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กันโดยตรงกับจำนวนคะแนนรวมที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับเลือกตั้งรวมกันทั้งประเทศ และกำหนดให้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ การออกเสียงลงคะแนน การนับคะแนนการรวมคะแนน การประกาศผลการเลือกตั้ง และการอื่นที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จึงต้องแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้
1. แก้ไขบทนิยามคำว่า "เขตเลือกตั้ง" เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการเลือกตั้ง (ร่างมาตรา 3)
2. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 11 เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และแบบบัญชีรายชื่อที่เปลี่ยนแปลง (ร่างมาตรา 4)
3. แก้ไขเพิ่มเติม (4) ของมาตรา 12 เกี่ยวกับการยื่นบัญชีรายชื่อของผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ (ร่างมาตรา 5)
4. แก้ไขเพิ่มเติม (1) ของมาตรา 19 เพิ่มคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (ร่างมาตรา 6)
5. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 26 การคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีและการแบ่งเขต (ร่างมาตรา 7)
6. เพิ่มความเป็นมาตรา 30/1 กำหนดให้การออกเสียงลงคะแนนใช้เขตเลือกตั้งและที่เลือกตั้งของการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต (ร่างมาตรา 8)
7. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 36 เกี่ยวกับการแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ร่างมาตรา 9)
8. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 48 เกี่ยวกับหมายเลขที่จะใช้ออกเสียงลงคะแนนแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเพื่อให้ใช้หมายเลขเดียวกัน (ร่างมาตรา 10)
9. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 53 กรณีมีการเลือกตั้งใหม่ก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง เนื่องจากผู้ที่ได้คะแนนในลำดับที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง โดยตัดเรื่องการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อออก (ร่างมาตรา 11)
10. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 54 กรณีพบเหตุการกระทำตามมาตรา 53 หลังประกาศผลการเลือกตั้งโดยตัดเรื่องการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อออก (ร่างมาตรา 12)
11. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 56 เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อที่เปลี่ยนแปลง (ร่างมาตรา 13)
12. เพิ่มความเป็นส่วนที่ 3/1 มาตรา 61/1 มาตรา 61/2 และมาตรา 61/3หมายเลขที่จะใช้ออกเสียงลงคะแนนแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ร่างมาตรา 14)
13. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 73 เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการเลือกตั้ง (ร่างมาตรา 15)
14. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 84 กำหนดให้การออกเสียงลงคะแนนให้ใช้บัตรเลือกตั้งสองใบแยกเป็นบัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ (ร่างมาตรา 16)
15. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 91 โดยกำหนดวิธีการออกเสียงลงคะแนนให้ทำเครื่องหมายกากบาท แยกตามประเภทของบัตรเลือกตั้ง (ร่างมาตรา 17)
16. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 93 กำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนำบัตรที่ลงคะแนนแล้วใส่ลงในหีบบัตรตามประเภทของบัตรเลือกตั้ง (ร่างมาตรา 18)
17. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 99 เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้บัตรเลือกตั้งสองใบ (ร่างมาตรา 19)
18. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 117 เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้บัตรเลือกตั้งสองใบ (ร่างมาตรา 20)
19. แก้ไขเพิ่มเติม (4) (5) และ (6) ของมาตรา 118 เกี่ยวกับบัตรดีบัตรเสีย เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้บัตรเลือกตั้งสองใบ (ร่างมาตรา 21)
20. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 122 กรณีผลการนับคะแนนไม่ตรงกับจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ออกเสียง (ร่างมาตรา 22)
21. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 123 เกี่ยวกับการรวมผลคะแนน การประกาศผลการรวมคะแนน เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้บัตรเลือกตั้งสองใบ (ร่างมาตรา 23)
22. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 126 กรณีมีการเลือกตั้งใหม่เนื่องจากไม่มีผู้สมัครรายใดได้รับเลือกตั้ง โดยตัดเรื่องการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อออก (ร่างมาตรา 24)
23. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 128 โดยกำหนดวิธีการคำนวณสัดส่วนจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และการใช้บัตรเลือกตั้งสองใบ (ร่างมาตรา 25)
24. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 129 กำหนดเรื่องการประกาศผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ (ร่างมาตรา 26)
25. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 13- เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและวิธีการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่เปลี่ยนแปลง (ร่างมาตรา 27)
26. ยกเลิกมาตรา 131 (ร่างมาตรา 28)
27. ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 132 เกี่ยวกับการดำเนินการกรณีการเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง (ร่างมาตรา 29)
1. สมควรแก้ไขบทนิยามคำว่า “เขตเลือกตั้ง” เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการเลือกตั้ง หรือไม่
2. สมควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 11 เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และแบบบัญชีรายชื่อที่เปลี่ยนแปลง หรือไม่
3. สมควรแก้ไขเกี่ยวกับการยื่นบัญชีรายชื่อของผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ หรือไม่
4. สมควรแก้ไขโดยเพิ่มคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง หรือไม่
5. สมควรแก้ไขหลักเกณฑ์การคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีและการแบ่งเขต หรือไม่
6. สมควรกำหนดให้การออกเสียงลงคะแนนใช้เขตเลือกตั้งและที่เลือกตั้งของการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต หรือไม่
7. สมควรแก้ไขเกี่ยวกับการแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือไม่
8. สมควรแก้ไขเกี่ยวกับหมายเลขที่จะใช้ออกเสียงลงคะแนนแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเพื่อให้ใช้หมายเลขเดียวกัน หรือไม่
9. สมควรแก้ไขกรณีมีการเลือกตั้งใหม่ก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง เนื่องจากผู้ที่ได้คะแนนในลำดับที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง โดยตัดเรื่องการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อออก หรือไม่
10. สมควรแก้ไขกรณีพบเหตุการกระทำตามมาตรา 53 หลังประกาศผลการเลือกตั้งโดยตัดเรื่องการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อออก หรือไม่
11. สมควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 56 เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อที่เปลี่ยนแปลง หรือไม่
12.สมควรเพิ่มความเป็นส่วนที่ 3/1 มาตรา 61/1 มาตรา 61/2 และมาตรา 61/3 หมายเลขที่จะใช้ออกเสียงลงคะแนนแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง หรือไม่
13.สมควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 73 เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการเลือกตั้ง หรือไม่
14. สมควรกำหนดให้การออกเสียงลงคะแนนให้ใช้บัตรเลือกตั้งสองใบแยกเป็นบัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ หรือไม่
15. สมควรกำหนดวิธีการออกเสียงลงคะแนนให้ทำเครื่องหมายกากบาท แยกตามประเภทของบัตรเลือกตั้ง หรือไม่
16. สมควรกำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนำบัตรที่ลงคะแนนแล้วใส่ลงในหีบบัตรตามประเภทของบัตรเลือกตั้ง หรือไม่
17. สมควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 99 เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้บัตรเลือกตั้งสองใบ หรือไม่
18. สมควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 117 เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้บัตรเลือกตั้งสองใบ หรือไม่
19. สมควรแก้ไขเกี่ยวกับบัตรดีบัตรเสีย เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้บัตรเลือกตั้งสองใบ หรือไม่
20. สมควรแก้ไขกรณีผลการนับคะแนนไม่ตรงกับจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ออกเสียง หรือไม่
21. สมควรแก้ไขเกี่ยวกับการรวมผลคะแนน การประกาศผลการรวมคะแนน เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้บัตรเลือกตั้งสองใบ หรือไม่
22. สมควรแก้ไขกรณีมีการเลือกตั้งใหม่เนื่องจากไม่มีผู้สมัครรายใดได้รับเลือกตั้ง โดยตัดเรื่องการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อออก หรือไม่
23. สมควรแก้ไขกำหนดวิธีการคำนวณสัดส่วนจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และการใช้บัตรเลือกตั้งสองใบ หรือไม่
24. สมควรแก้ไขข้อกำหนดกำหนดเรื่องการประกาศผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ หรือไม่
25. สมควรแก้ไขวิธีการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่เปลี่ยนแปลง หรือไม่
26. สมควรยกเลิกมาตรา 131 หรือไม่
27. สมควรยกเลิกเกี่ยวกับการดำเนินการกรณีการเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง หรือไม่
28. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี)