สถานะ : ปิดรับฟังความคิดเห็น รายงานผลการรับฟังความคิดเห็น พิจารณาแล้ว
ร่างพระราชบัญญัติสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....
ประเภทร่าง เสนอโดยประชาชน ไม่เป็นร่างการเงิน
เสนอโดย นายปองวิชญ์ วงษ์โชติปิ่นทอง กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 11,778 คน เป็นผู้เสนอ
ข้อมูลประกอบการพิจารณา

            โดยบทบัญญัติสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 34 กําหนดให้บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ โฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจํากัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน เสรีภาพทางวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กําหนดให้ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสํานึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยรู้จักรักษา ผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ได้รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง และมาตรา 5 (3) แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 กําหนดให้การจัดการอุดมศึกษาต้อง เป็นไปเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ต่อการตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ และแผนด้านการอุดมศึกษา การพัฒนาประเทศชาตินั้นจําเป็นจะต้องอาศัยการขับเคลื่อนด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกลไกสําคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตนิสิตนักศึกษาและประชาชนให้มีความผาสุก ซึ่งนิสิตนักศึกษาเป็นพลังปัญญาชน ที่สําคัญต่อระบบรากฐานต่าง ๆ ของประเทศ สมควรจะให้มีสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นองค์กรประชาธิปไตยที่ให้นิสิตนักศึกษามีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นด้านต่าง ๆ ภายในประเทศ อาทิ ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ เพื่อให้นิสิตนักศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศให้ก้าวทันความเจริญก้าวหน้าของอารยประเทศในยุคศตวรรษที่ 21 มีมาตรฐานสู่ความเป็นสากลโลก และส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของนิสิตนักศึกษา ส่งเสริมการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่นิสิตนักศึกษา ส่งเสริมให้เป็นพลเมืองที่มีศักยภาพในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันอันจะทําให้การพัฒนาการศึกษา ในระดับอุดมศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่การศึกษาของประเทศชาติ สมควรมีกฎหมายว่าด้วยสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย จึงจําเป็นที่ต้องตราพระราชบัญญัตินี้

สาระสำคัญ

          ให้มีกฎหมายว่าด้วยสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย

          1. ชื่อพระราชบัญญัติสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ร่างมาตรา 3)

          2. กําหนดให้พระราชบัญญัติสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยมีผลใช้บังคับ นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ร่างมาตรา 2)

          3. กําหนดคำนิยาม ได้แก่ คํานิยามว่า “นิสิต” “นักศึกษา” “สถาบันอุดมศึกษา” “สถาบันอุดมศึกษา
ของรัฐ” “สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดของกระทรวง “สถาบันอุดมศึกษาเอกชน” “วิทยาเขต” “ปีการศึกษา” “ประธาน “รองประธาน” “สมาชิก “เลขาธิการ” “รองเลขาธิการ” และคําว่า “กองทุน” (ร่างมาตรา 3)

          4. กําหนดให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาอันเกี่ยวกับการปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในบทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 4)

          5. กําหนดให้มีสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เป็นกลางทางการเมือง และมีหน้าที่และอํานาจส่งเสริมและสนับสนุนให้นิสิตนักศึกษารู้จักสิทธิหน้าที่ และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของนิสิตนักศึกษา สังคม และประเทศชาติ ตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่งเสริมและสนับสนุนให้นิสิตนักศึกษาฝึกตนเอง ในการใช้สิทธิเสรีภาพ ในกรอบแห่งเหตุผล กฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี ศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงามของไทย ส่งเสริมและสนับสนุนให้นิสิตนักศึกษามีความสมบูรณ์ทางพลานามัย บุคลิกภาพ ความคิดสร้างสรรค์ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม จริยธรรมที่ดี ปลูกฝังให้นิสิตนักศึกษามีความเสียสละเพื่อส่วนรวม มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สถาบันอุดมศึกษาที่นิสิตนักศึกษาได้ศึกษานั้นตลอดจนสังคมและประเทศชาติ ส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินงาน ขับเคลื่อนการพัฒนานิสิตนักศึกษา ควบคู่ไปกับสถาบันอุดมศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ ในการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อเป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต ส่งเสริมและสนับสนุนให้นิสิตนักศึกษามีบทบาทในการแก้ไขปัญหา และประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อนิสิตนักศึกษา พิทักษ์สิทธิ เสรีภาพ และสวัสดิการของนิสิตนักศึกษา เป็นศูนย์กลางประสานงานกิจการของนิสิตนักศึกษา และสร้างความร่วมมือเครือข่ายนิสิตนักศึกษา และหน้าที่อื่น ๆ เกี่ยวกับการศึกษา ตลอดจนออกระเบียบหรือประกาศหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการดําเนินงานของสํานักงานสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยและที่เกี่ยวกับการสรรหาสมาชิก (ร่างมาตรา 5)

          6. กําหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยประกอบด้วยสมาชิกสภา ดังนี้

              (1) สมาชิกซึ่งเป็นผู้แทนจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดของกระทรวงคือประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยหรือประธานสภานิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งคน และนายกองค์การบริหารนักศึกษามหาวิทยาลัยหรือนายกองค์การบริหารนิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งคน

              (2) สมาชิกซึ่งเป็นผู้แทนของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมาจากนักศึกษาผู้ดํารงตําแหน่งนายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยที่ศึกษาอยู่แห่งละหนึ่งคน

              (3) สมาชิกจากนิสิต หรือนักศึกษา หรือบุคคลซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรแต่งตั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนด จํานวนยี่สิบคน (ร่างมาตรา 6)

          7. กําหนดให้สถาบันอุดมศึกษา ส่งเสริมสมาชิกที่มาจากสถาบันอุดมศึกษาในการทําหน้าที่สมาชิก (ร่างมาตรา 7)

          8. กําหนดให้สมาชิกมีหน้าที่เข้าร่วมประชุม และลงมติในการประชุมสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษา
แห่งประเทศไทย นําปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของนิสิตนักศึกษามาเสนอในที่ประชุมสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย รับฟังและรวบรวมความคิดเห็นตลอดจนข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาและกลั่นกรองเสนอต่อสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ศึกษาค้นคว้าหรือแสวงหาข้อเท็จจริง เสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยเพื่อประกอบการพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ประธาน หรือสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยมอบหมาย (ร่างมาตรา 4)

          9. กําหนดคุณสมบัติและต้องไม่มีคุณลักษณะต้องห้ามของสมาชิกสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษา
แห่งประเทศไทย (ร่างมาตรา 9)

        10. กําหนดวาระการดํารงตําแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย และการสิ้นสุดสมาชิกภาพ (ร่างมาตรา 10 และร่างมาตรา 11)

        11. กําหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้แทนนิสิตนักศึกษาไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงําใด ๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ และความผาสุกของนิสิต นักศึกษา และประชาชนโดยรวมโดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (ร่างมาตรา 12)

12. กําหนดสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย มีประธานคนหนึ่ง และรองประธานสองคนและประธานสภาและรองประธานสภาดํารงตําแหน่งจนสิ้นอายุของสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย สามปีการศึกษา (ร่างมาตรา 33)

13. การพ้นจากตําแหน่งของประธานและรองประธาน (ร่างมาตรา 14)

14. กําหนดให้ประธานและรองประธานมีหน้าที่และอํานาจดําเนินกิจการของสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ (ร่างมาตรา 15)

15. กําหนดองค์ประชุมสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยต้องมีสมาชิกสภามาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม (ร่างมาตรา 16)

16. กําหนดให้สภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย มีอํานาจตราข้อบังคับการประชุม (ร่างมาตรา 17)

17. กําหนดให้จัดตั้งสํานักงานสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยขึ้น เรียกโดยย่อว่า สผท.
ให้ สผท. มีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ในการกํากับดูแลของนายกรัฐมนตรี กําหนดเรื่องอํานาจและหน้าที่ของ สผท. และทรัพย์สินของ สผท. (ร่างมาตรา 18, 19 และร่างมาตรา 2o)

18. กําหนดให้มีคณะกรรมการสํานักงานสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย คุณสมบัติ
และไม่มีลักษณะต้องห้ามของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กําหนดเกี่ยวกับมีหน้าที่และอํานาจ (ร่างมาตรา 21 - ร่างมาตรา 23)

19. กําหนดให้คณะกรรมการสํานักงานสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ ก.ส. พิจารณากําหนดแนวทางการปฏิบัติงานของสํานักงานสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ร่างมาตรา 24)

20. กําหนดการประชุมของ ก.ส. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม (ร่างมาตรา 25)

21. กําหนดให้สํานักงานสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยมีเลขาธิการคนหนึ่ง และรองเลขาธิการไม่เกินสองคน คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม วาระการดํารงตําแหน่งของเลขาธิการ และรองเลขาธิการ อํานาจและหน้าที่ของเลขาธิการ (ร่างมาตรา 26 - ร่างมาตรา 30)

22. กําหนดให้จัดตั้งกองทุนสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยขึ้นในสํานักงานสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ร่างมาตรา 31)

23. กําหนดให้มีการจัดทําบัญชีของกองทุนและการบัญชีของสํานักงานสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยตามมาตรฐานการบัญชี (ร่างมาตรา 32 – ร่างมาตรา 33)

24. กําหนดให้มีบทเฉพาะกาล คือ ให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสํานักงานสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อทําหน้าที่ไปพลางก่อน วิธีการสรรหา สมาชิกสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ให้ประธานมีอํานาจออกข้อบังคับการประชุมมาบังคับใช้โดยอนุโลมไปพลางก่อนจนกว่าจะมีข้อบังคับการประชุมสภา และในวาระแรกเริ่มการดําเนินงานสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยในระหว่างสามปีการศึกษานับตั้งแต่มีการจัดตั้งสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยให้นายกรัฐมนตรีมีอํานาจแต่งตั้งประธานสภาและรองประธานสภาโดยไม่ต้องเป็นมติที่ประชุม (ร่างมาตรา 34 - ร่างมาตรา 36)

ผู้ที่เกี่ยวข้อง

1) สำนักนายกรัฐมนตรี    

2) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

3)  สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดของกระทรวง ได้แก่

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

3. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

4. มหาวิทยาลัยขอนแก่น

5. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

6. มหาวิทยาลัยทักษิณ

7. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

8. มหาวิทยาลัยนครพนม

9. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

10. มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

11. มหาวิทยาลัยนเรศวร

12. มหาวิทยาลัยบูรพา

13. มหาวิทยาลัยพะเยา

14. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

15. มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย

16. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

17. มหาวิทยาลัยมหิดล

18. มหาวิทยาลัยแม่โจ้

19. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

20. มหาวิทยาลัยรามคำแหง

21. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

22. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

23. มหาวิทยาลัยศิลปกร

24. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

25. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

26. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

27. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

28. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

29. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

30. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

31. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

32. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

33. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

34. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

35. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

36. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

37. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

38. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

39. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

40. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

41. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

42. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

43. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

44. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

45. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

46. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

47. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

48. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

49. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

50. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

51. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

52. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

53. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

54. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์

55. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

56. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

57. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

58. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

59. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

60. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

61. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

62. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

63. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

64. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

65. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

66. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

67. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคงธัญบุรี

68. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

69. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

70. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

71. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

72. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

73. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

74. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

75. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

76. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

77. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

4) สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

 1. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 

 2. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 

 3. มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ 

 4. มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 

 5. มหาวิทยาลัยเกริก 

 6. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 

 7. มหาวิทยาลัยคริสเตียน 

 8. มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา 

 9. มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา 

10. มหาวิทยาลัยชินวัตร

11. มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น 

12. มหาวิทยาลัยตาปี 

13. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร 

14. มหาวิทยาลัยธนบุรี 

15. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 

16. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 

17. มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ 

18. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด 

19. มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก 

20. มหาวิทยาลัยเนชั่น 

21. มหาวิทยาลัยปทุมธานี

22. มหาวิทยาลัยพายัพ 

23. มหาวิทยาลัยพิษณุโลก 

24. มหาวิทยาลัยฟาฏอนี 

25. มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น 

26. มหาวิทยาลัยภาคกลาง 

27. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

28. มหาวิทยาลัยรังสิต 

29. มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต 

30. มหาวิทยาลัยราชธานี 

31. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ 

32. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 

33. มหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์(ประเทศไทย) 

34. มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 

35. มหาวิทยาลัยศรีปทุม 

36. มหาวิทยาลัยสยาม 

37. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

38. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 

39. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 

40. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 

41. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 

42. มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 

43. สถาบันกันตนา 

44. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 

45. สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน 

46. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 

47. สถาบันเทคโนโลยียานยนต์มหาชัย 

48. สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ 

49. สถาบันวิทยาการประกอบการแห่งอโยธยา 

50. สถาบันรัชต์ภาคย์ 

51. สถาบันวิทยสิริเมธี 

52. สถาบันอาศรมศิลป์ 

53. วิทยาลัยเฉลิมกาญจนาระยอง 

54. วิทยาลัยเชียงราย 

55. วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ 

56. วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก 

57. วิทยาลัยดุสิตธานี 

58. วิทยาลัยทองสุข 

59. วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์

60. วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ 

61. วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม 

62. วิทยาลัยนครราชสีมา 

63. วิทยาลัยนานาชาติราฟเฟิลส์ 

64. วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา 

65. วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย 

66. วิทยาลัยพิชญบัณฑิต 

67. วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ 

68. วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น 

69. วิทยาลัยสันตพล 

70. วิทยาลัยแสงธรรม 

71. วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง

5) สำนักงบประมาณ

6) สำนักงาน ก.พ.ร.

  7) นิสิต นักศึกษา

  8) ประชาชนทั่วไป

ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็น

  1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดชื่อพระราชบัญญัติสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ร่างมาตรา 3)
  2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกําหนดให้พระราชบัญญัติสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยมีผลใช้บังคับ นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ร่างมาตรา 2)
  3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกําหนดคำนิยาม ได้แก่ คํานิยามว่า “นิสิต” “นักศึกษา” “สถาบันอุดมศึกษา” “สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ” “สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดของกระทรวง “สถาบันอุดมศึกษาเอกชน”“วิทยาเขต” “ปีการศึกษา” “ประธาน “รองประธาน” “สมาชิก “เลขาธิการ” “รองเลขาธิการ” และคําว่า “กองทุน” (ร่างมาตรา 3)
  4. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกําหนดให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาอันเกี่ยวกับการปฏิบัติการตามที่กําหนดไว้ในบทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 4)
  5. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกําหนดให้มีสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เป็นกลางทางการเมือง และมีหน้าที่และอํานาจส่งเสริมและสนับสนุนให้นิสิตนักศึกษารู้จักสิทธิหน้าที่ และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของนิสิตนักศึกษา สังคม และประเทศชาติ ตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่งเสริมและสนับสนุนให้นิสิตนักศึกษาฝึกตนเอง ในการใช้สิทธิเสรีภาพในกรอบแห่งเหตุผล กฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี ศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงามของไทย ส่งเสริมและสนับสนุนให้นิสิตนักศึกษา มีความสมบูรณ์ทางพลานามัย บุคลิกภาพ ความคิดสร้างสรรค์ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม จริยธรรมที่ดี ปลูกฝังให้นิสิตนักศึกษามีความเสียสละเพื่อส่วนรวม มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สถาบันอุดมศึกษาที่นิสิตนักศึกษาได้ศึกษานั้นตลอดจนสังคมและประเทศชาติ ส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินงาน ขับเคลื่อนการพัฒนานิสิตนักศึกษา ควบคู่ไปกับสถาบันอุดมศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ ในการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อเป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต ส่งเสริมและสนับสนุนให้นิสิตนักศึกษามีบทบาทในการแก้ไขปัญหา และประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อนิสิตนักศึกษา พิทักษ์สิทธิ เสรีภาพ และสวัสดิการของนิสิตนักศึกษา เป็นศูนย์กลางประสานงานกิจการของนิสิตนักศึกษา และสร้างความร่วมมือเครือข่ายนิสิตนักศึกษา และหน้าที่อื่น ๆ เกี่ยวกับการศึกษา ตลอดจนออกระเบียบหรือประกาศหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการดําเนินงานของสํานักงานสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษา แห่งประเทศไทยและที่เกี่ยวกับการสรรหาสมาชิก (ร่างมาตรา 5)
  6. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกําหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยประกอบด้วยสมาชิกสภา ดังนี้
    (1) สมาชิกซึ่งเป็นผู้แทนจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดของกระทรวงคือประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยหรือประธานสภานิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งคน และนายกองค์การบริหารนักศึกษามหาวิทยาลัยหรือนายกองค์การบริหารนิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งคน
    (2) สมาชิกซึ่งเป็นผู้แทนของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมาจากนักศึกษาผู้ดํารงตําแหน่งนายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยที่ศึกษาอยู่แห่งละหนึ่งคน
    (3) สมาชิกจากนิสิต หรือนักศึกษา หรือบุคคลซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรแต่งตั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนด จํานวนยี่สิบคน (ร่างมาตรา 6)
  7. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกําหนดให้สถาบันอุดมศึกษา ส่งเสริมสมาชิกที่มาจากสถาบันอุดมศึกษาในการทําหน้าที่สมาชิก (ร่างมาตรา 7)
  8. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกําหนดให้สมาชิกมีหน้าที่เข้าร่วมประชุม และลงมติในการประชุมสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย นําปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของนิสิตนักศึกษามาเสนอในที่ประชุมสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย รับฟังและรวบรวมความคิดเห็นตลอดจนข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาและกลั่นกรองเสนอต่อสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ศึกษาค้นคว้าหรือแสวงหาข้อเท็จจริง เสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยเพื่อประกอบการพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ประธาน หรือสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยมอบหมาย(ร่างมาตรา 4)
  9.  ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกําหนดคุณสมบัติและต้องไม่มีคุณลักษณะต้องห้ามของสมาชิกสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ร่างมาตรา 9)
  10.  ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกําหนดวาระการดํารงตําแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย และการสิ้นสุดสมาชิกภาพ (ร่างมาตรา 10 และร่างมาตรา 11)
  11.  ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกําหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้แทนนิสิตนักศึกษาไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงําใด ๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ และความผาสุกของนิสิต นักศึกษา และประชาชนโดยรวมโดยปราศจาก การขัดกันแห่งผลประโยชน์ (ร่างมาตรา 12)
  12. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกําหนดสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย มีประธานคนหนึ่ง และรองประธานสองคนและประธานสภาและรองประธานสภาดํารงตําแหน่งจนสิ้นอายุของสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย สามปีการศึกษา (ร่างมาตรา 33)
  13. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกำหนดการพ้นจากตําแหน่งของประธานและรองประธาน (ร่างมาตรา 14)
  14. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกําหนดให้ประธานและรองประธานมีหน้าที่และอํานาจดําเนินกิจการของสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ (ร่างมาตรา 15)
  15. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกําหนดองค์ประชุมสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยต้องมีสมาชิกสภามาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม (ร่างมาตรา 16)
  16. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกําหนดให้สภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย มีอํานาจตราข้อบังคับการประชุม (ร่างมาตรา 17)
  17. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกําหนดให้จัดตั้งสํานักงานสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยขึ้น เรียกโดยย่อว่า สผท. ให้ สผท. มีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ในการกํากับดูแลของนายกรัฐมนตรี กําหนดเรื่องอํานาจและหน้าที่ของ สผท. และทรัพย์สินของ สผท. (ร่างมาตรา 18, 19 และร่างมาตรา 2o)
  18. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกําหนดให้มีคณะกรรมการสํานักงานสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กําหนดเกี่ยวกับมีหน้าที่และอํานาจ (ร่างมาตรา 21 - ร่างมาตรา 23)
  19. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกําหนดให้คณะกรรมการสํานักงานสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ ก.ส. พิจารณากําหนดแนวทางการปฏิบัติงานของสํานักงานสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ร่างมาตรา 24)
  20. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกําหนดการประชุมของ ก.ส. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม (ร่างมาตรา 25)
  21. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกําหนดให้สํานักงานสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยมีเลขาธิการคนหนึ่ง และรองเลขาธิการไม่เกินสองคน คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม วาระการดํารงตําแหน่งของเลขาธิการ และรองเลขาธิการ อํานาจและหน้าที่ของเลขาธิการ (ร่างมาตรา 26 – ร่างมาตรา 30)
  22. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกําหนดให้จัดตั้งกองทุนสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยขึ้นในสํานักงานสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ร่างมาตรา 31)
  23. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกําหนดให้มีการจัดทําบัญชีของกองทุนและการบัญชีของสํานักงานสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยตามมาตรฐานการบัญชี (ร่างมาตรา 32 – ร่างมาตรา 33)
  24. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการกําหนดให้มีบทเฉพาะกาล คือ ให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสํานักงานสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อทําหน้าที่ไปพลางก่อน วิธีการสรรหา สมาชิกสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ให้ประธานมีอํานาจออกข้อบังคับการประชุมมาบังคับใช้โดยอนุโลมไปพลางก่อนจนกว่าจะมีข้อบังคับการประชุมสภา และในวาระแรกเริ่มการดําเนินงานสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยในระหว่างสามปีการศึกษานับตั้งแต่มีการจัดตั้งสภาผู้แทนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยให้นายกรัฐมนตรีมีอํานาจแต่งตั้งประธานสภาและรองประธานสภาโดยไม่ต้องเป็นมติที่ประชุม (ร่างมาตรา 34 – ร่างมาตรา 36)
  25. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี)