เลขที่ | หมวดหมู่ | ประเภท | ชื่อภาษาไทย | ชื่อภาษาอังกฤษ | สถานที่ลงนาม | วันที่ลงนาม / วันที่ได้รับการลงมติยอมรับ | สถานะการให้สัตยาบัน | การเริ่มมีผลบังคับใช้ | สถานะการมีผลบังคับใช้ | สาระสำคัญ | กฏหมายที่เกี่ยวข้อง |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
14 |
- เสาประชาคมการเมือง ความมั่นคงอาเซียน |
อนุสัญญา | อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก | ASEAN Convention against Trafficking in Persons, Especially Women and Children (ACTIP) | กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย | 21 พฤศจิกายน 2558 |
ไทยได้ส่งมอบสัตยาบันสารไปยังเลขาธิการอาเซียนเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
|
ข้อ 29
อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 30 นับจากวันที่มีการส่งมอบสัตยาบันสารหรือหนังสือแสดงการยอมรับฉบับที่ 6 ไปยังเลขาธิการอาเซียน และจะมีผลบังคับใช้เฉพาะกับรัฐภาคีที่ได้ให้สัตยาบันหรือได้แสดงความยินยอมที่จะผูกพันตามข้อตกลงแล้วเท่านั้น |
มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2560
|
กำหนดให้การค้ามนุษย์ การมีส่วนร่วมในกลุ่มอาชญากรที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร การฟอกทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำอาชญากรรม การฉ้อราษฎร์บังหลวง และการขัดขวางความยุติธรรม
เป็นความผิดอาญา รวมทั้งกำหนดมาตรการและสาขาความร่วมมือในการป้องกันการค้ามนุษย์ การคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และความร่วมมือในทางระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา |
1. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ 2. พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๙ |
13 |
- เสาประชาคมการเมือง ความมั่นคงอาเซียน |
ความตกลง | ความตกลงระหว่างสำนักเลขาธิการอาเซียนและรัฐบาลของสาธารณรัฐอินโดนีเซียเกี่ยวกับการใช้และการดูแลรักษาทำเนียบของเลขาธิการอาเซียน | Agreement between the Government of the Republic of Indonesia and the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) on Hosting and Granting Privileges and Immunities to the ASEAN Secretariat | กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา | 2 เมษายน 2555 |
|
|
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
|
กำหนดสิทธิและหน้าที่ของสำนักเลขาธิการอาเซียนและรัฐบาลของสาธารณรัฐอินโดนีเซียเกี่ยวกับการใช้และการดูแลรักษาทำเนียบของเลขาธิการอาเซียน
|
1. เนื่องจากความตกลงนี้เป็นเรื่องทางระหว่างประเทศ จึงไม่ต้องออกหรือแก้ไขกฎหมายภายในของประเทศไทย |
13.1 |
- เสาประชาคมการเมือง ความมั่นคงอาเซียน |
ความตกลง | Agreement between the Government of the Republic of Indonesia and ASEAN Relating to Privileges and Immunities of the ASEAN Secretariat | กรุงจาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย |
20 มกราคม 2522 |
|
|
|
|
||
13.2 |
- เสาประชาคมการเมือง ความมั่นคงอาเซียน |
ความตกลง | Agreement on the Use and Maintenance of the Premises of the ASEAN Secretariat | กรุงจาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย | 25 พฤศจิกายน 2524 |
|
|
|
|
||
13.3 |
- เสาประชาคมการเมือง ความมั่นคงอาเซียน |
ความตกลง | Agreement between the ASEAN Secretariat and the Government of the Republic of Indonesia Concerning the Use and Maintenance of the Premises of the Residence of the Secretary-General of ASEAN | กรุงจาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย | 25 มีนาคม 2529 |
|
|
|
รับรองให้อาเซียนเป็นนิติบุคคลภายใต้กฎหมายอินโดนีเซียและกำหนดหน้าที่ของอินโดนีเซียเพื่อรองรับการปฏิบัติงานของอาเซียน และการให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันแก่ผู้ปฏิบัติงาน
|
1. เนื่องจากความตกลงนี้เป็นเรื่องทางระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับความ ตกลงการเป็นประเทศเจ้าภาพ คือ ประเทศอินโดนีเซีย จึงไม่ต้องออกหรือแก้ไขกฎหมายภายในของประเทศไทย |
|
12 |
- เสาประชาคมการเมือง ความมั่นคงอาเซียน |
พิธีสาร | พิธีสารของกฎบัตรอาเซียนว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาท | Protocol to the ASEAN Charter on Dispute Settlement Mechanisms | กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม | 8 เมษายน 2553 |
ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันแล้วเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
|
กำหนดให้พิธีสารมีผลใช้บังคับหลังจากวันที่มีการยื่นสัตยาบันสารต่อเลขาธิการอาเซียนครบทั้ง ๑๐ ประเทศ
|
มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
|
กำหนดกลไกการระงับข้อพิพาท เช่น การปรึกษาหารือ คนกลางที่น่าเชื่อถือ การไกล่เกลี่ย การประนีประนอม อนุญาโตตุลาการ และการเสนอข้อพิพาทที่มิอาจระงับได้ให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนตัดสิน
|
1. เนื่องจากพิธีสารนี้เป็นเรื่องทางระหว่างประเทศ จึงไม่ต้องออกหรือแก้ไขกฎหมายภายในของประเทศไทย |
12.1 |
- เสาประชาคมการเมือง ความมั่นคงอาเซียน |
อื่น ๆ | Instrument of Incorporation of the Rules for Reference of Unresolved Disputes to the ASEAN Summit to the Protocol to the ASEAN Charter on Dispute Settlement Mechanisms | กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม | 27 ตุลาคม 2553 |
|
|
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553
|
|
||
12.2 |
- เสาประชาคมการเมือง ความมั่นคงอาเซียน |
อื่น ๆ | Instrument of Incorporation of the Rules for Reference of Non Compliance to the ASEAN Summit to the Protocol to the ASEAN Charter on Dispute Settlement Mechanisms | กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา | 2 เมษายน 2555 |
|
|
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที 2 เมษายน พ.ศ. 2555
|
|
||
11 |
- เสาประชาคมการเมือง ความมั่นคงอาเซียน |
ความตกลง | ความตกลงว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | Agreement on the Privileges and Immunities of the Association of Southeast Asian Nations | ชะอำ หัวหิน ประเทศไทย | 25 ตุลาคม 2552 |
ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันแล้ว
|
|
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560
|
กำหนดให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันแก่เลขาธิการอาเซียน เจ้าหน้าที่ของสำนักเลขาธิการอาเซียน และคณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียนในประเทศสมาชิกอาเซียน
|
1. พระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. ๒๕๕๑ |
10 |
- เสาประชาคมการเมือง ความมั่นคงอาเซียน |
กฎบัตร | กฎบัตรอาเซียน | Charter of the Association of Southeast Asian Nations | ประเทศสิงคโปร์ | 20 พฤศจิกายน 2550 |
|
|
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
|
วางกรอบทางกฎหมาย โครงสร้างองค์กรของอาเซียน กำหนดให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล รวมทั้งกำหนดเรื่องเอกสิทธิ์และความคุ้มกันไว้ด้วย
|
1. พระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. ๒๕๕๑ |
10.3 |
- เสาประชาคมการเมือง ความมั่นคงอาเซียน - เสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน - เสาประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน |
พิธีสาร | Second Protocol Amending the Revised Memorandum of Understanding on the Establishment of the ASEAN Foundation | Jakarta, Indonesia | 17 มิถุนายน 2562 |
|
|
มีผลบังคับใช้ 17 มิถุนายน 2562
|
|
||
9 |
- เสาประชาคมการเมือง ความมั่นคงอาเซียน |
อนุสัญญา | อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย | ASEAN Convention on Counter Terrorism (ACCT) | เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ (การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12) | 13 มกราคม 2550 |
ไทยได้ส่งมอบสัตยาบันสารไปยังเลขาธิการอาเซียนเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
|
ข้อ 21
อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 30 นับจากวันที่มีการส่งมอบสัตยาบันสารหรือหนังสือแสดงการยอมรับฉบับที่ 6 และจะมีผลบังคับใช้เฉพาะกับรัฐภาคีที่ได้ให้สัตยาบันหรือได้แสดงความยินยอมที่จะผูกพันตามข้อตกลงแล้วเท่านั้น |
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที 27 พฤศภาคม พ.ศ. 2554
|
อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายของอาเซียน เป็นการกำหนดกรอบความร่วมมือระหว่างกันในการต่อสู้กับปัญหาการก่อการร้ายทุกรูปแบบ อาทิ การป้องกันการก่อการร้าย การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรองระหว่างกันเพื่อก
...ดูทั้งหมด |
1. ประมวลกฎหมายอาญา 2. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ 3. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. ๒๕๕๙ |
8 |
- เสาประชาคมการเมือง ความมั่นคงอาเซียน |
กรอบความตกลง | กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา | ASEAN Framework Agreement on Visa Exemption | กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย | 25 กรกฎาคม 2549 |
ไทยได้ส่งมอบสัตยาบันสารไปยังเลขาธิการอาเซียนเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2550 โดย ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 มีประเทศสมาชิกที่ได้แสดงเจตนายอมรับผลผูกพันตามพิธีสารนี้แล้ว 7 ประเทศ
|
ข้อ 8(3)
กรอบความตกลงนี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อประเทศสมาชิกทั้งหมดได้มีการส่งมอบสัตยาบันสารหรือหนังสือแสดงการยอมรับไปยังเลขาธิการอาเซียน |
ยังไม่มีผลบังคับใช้
|
กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตรา เป็นกรอบความตกลงให้ประเทศที่มีความประสงค์สามารถอนุญาตให้ผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของแต่ละประเทศที่เดินทางเข้าประเทศผ่านทางท่าอากาศยานนานาชาติ ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและพำนักในประเทศผู้รับได้เป็นเวลาไม่เกิน 14 วัน โดยมีเงื่อนไขคือการพำนักต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการท่องเที่ยวเท่านั้น หากต้องการเดินทางเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ นอกเหนือจากการท่องเที่ยวหรือหากต้องการพำนักมากกว่า 14 วัน ผู้ถือหนังสือเดินทางต้องยื่นขอวีซ่าที่เหมาะสมตามกฎหมายและกฎระเบียบของประเทศนั้นๆ
|
1. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ 2. กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้นและการเปลี่ยนประเภท การตรวจลงตรา พ.ศ. ๒๕๔๕ |
7 |
- เสาประชาคมการเมือง ความมั่นคงอาเซียน |
ความตกลง | ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนพัฒนาอาเซียน | Agreement for the Establishment of an ASEAN Development Fund (ADF Agreement) | กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว | 26 กรกฎาคม 2548 |
|
ข้อ 2(1)
ความตกลงนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้นับจากวันที่ได้มีการลงนาม และจะมีผลผูกพันต่อเนื่องไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีการต่างประเทศของอาเซียนจะมีมติเห็นชอบให้ความตกลงนี้เป็นอันสิ้นสุดลง |
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
|
จัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติตามแผนงานของอาเซียนตามที่ความตกลง กำหนด กำหนดให้ต้องมีเงินประเดิมจากประเทศสมาชิก และเปิดโอกาสให้มีการรวบรวมเงินจากภาครัฐและภาคเอกชน
เข้าสู่กองทุนด้วย |
1. เนื่องจากความตกลงนี้เป็นเรื่องทางระหว่างประเทศ จึงไม่ต้องออกหรือแก้ไขกฎหมายภายในของประเทศไทย |
7.1 |
- เสาประชาคมการเมือง ความมั่นคงอาเซียน |
ความตกลง | Agreement for the Establishment of a Fund for ASEAN | คาเมรอน ไฮแลนส์ ประเทศมาเลเซีย | 7 ธันวาคม 2512 |
|
|
ถูกยกเลิก
|
|
||
7.2 |
- เสาประชาคมการเมือง ความมั่นคงอาเซียน |
พิธีสาร | Protocol Amending the Agreement of the Establishment of a Fund for ASEAN | กรุงเทพฯ ประเทศไทย | 18 ตุลาคม 2560 |
|
|
ถูกยกเลิก
|
|
||
7.3 |
- เสาประชาคมการเมือง ความมั่นคงอาเซียน |
ความตกลง | Agreement for the Establishment of a Fund for ASEAN | กรุงเทพฯ ประเทศไทย | 23 กรกฎาคม 2537 |
|
|
ถูกยกเลิก
|
|
||
6 |
- เสาประชาคมการเมือง ความมั่นคงอาเซียน |
สนธิสัญญา | สนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญา | Treaty on Mutual Legal Assistance in Criminal Matters (MLAT) | กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย | 29 พฤศจิกายน 2547 |
ไทยได้ส่งมอบสัตยาบันสารไปยังเลขาธิการอาเซียนเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556
|
ข้อ 30-31
สนธิสัญญานี้ต้องได้รับการให้สัตยาบัน การยอมรับ หรือการภาคยานุวัติจากรัฐภาคีก่อน และจะเริ่มมีผลบังคับใช้กับแต่ละรัฐภาคีนับจากวันที่รัฐภาคีนั้นได้มีการส่งมอบสัตยาบันสาร ภาคยานุวัติสาร หรือหนังสือแสดงความยินยอมที่จะผูกพันตามข้อตกลงแล้วเท่านั้น |
มีผลบังคับใช้กับไทยตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556
|
กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องให้ความช่วยเหลือทางอาญาระหว่างกันในเรื่องการสืบสวนสอบสวน การฟ้องคดี และกระบวนการอื่น โดยแต่ละประเทศต้องกำหนดให้มีผู้ประสานงานกลางเพื่อร้องขอหรือรับคำร้องขอความช่วยเหลือทางอาญาตามสนธิสัญญานี้
|
1. พระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. ๒๕๓๕ 2. เอกสารประกอบการพิจารณาของรัฐสภา |
5 |
- เสาประชาคมการเมือง ความมั่นคงอาเซียน |
บันทึกความเข้าใจ | บันทึกความเข้าใจฉบับทบทวนว่าด้วยการจัดตั้งมูลนิธิอาเซียน | Revised Memorandum of Understanding on the Establishment of the ASEAN Foundation (Revised AF MOU) | กรุงเทพฯ ประเทศไทย | 25 กรกฎาคม 2543 |
ไทยได้ส่งมอบสัตยาบันสารไปยังเลขาธิการอาเซียนเมื่อวันที่ 25 พฤศภาคม พ.ศ. 2550
|
ข้อ 17
บันทึกความเข้าใจนี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อประเทศภาคีทั้งหมดได้มีการส่งมอบสัตยาบันสารหรือหนังสือแสดงการยอมรับไปยังเลขาธิการอาเซียน |
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2550
|
กำหนดให้มูลนิธิเป็นองค์การที่ไม่แสวงหากำไรและมีสถานะทางกฎหมาย รวมทั้งให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันแก่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของมูลนิธิที่มีสถานะทางการทูตเพื่อประโยชน์สำหรับการปฏิบัติงาน
|
1. เนื่องจากบันทึกความเข้าใจนี้ เป็นเรื่องทางระหว่างประเทศ จึงไม่ต้องออกหรือแก้ไขกฎหมายภายในของประเทศไทย |
5.1 |
- เสาประชาคมการเมือง ความมั่นคงอาเซียน |
บันทึกความเข้าใจ | Memorandum of Understanding on the Establishment of the ASEAN Foundation | กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย | 15 ธันวาคม 2540 |
|
|
ถูกยกเลิก
|
|