การเตรียมการ

คณะกรรรมการดำเนินการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ที่มีนายชัย ชิดชอบ เป็นประธานคณะกรรมการ ได้มีมติเมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๑ เห็นชอบให้ใช้พื้นที่ราชพัสดุ ถนนทหาร (เกียกกาย) เขตดุสิต แปลงริมน้ำเจ้าพระยา เนื้อที่ ๑๑๙ ไร่ เป็นที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ และ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๑ รัฐสภาได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ในพื้นที่ราชพัสดุ ถนนทหาร (เกียกกาย) เขตดุสิต แปลงริมน้ำเจ้าพระยา เนื้อที่ ๑๑๙ ไร่ ระหว่าง รัฐสภากับสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองทัพบก กรมราชองครักษ์ กรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และกรมธนารักษ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานและมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ดังกล่าวทุกราย โดยมีนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานวุฒิสภา ร่วมเป็นพยาน จากนั้นได้มีคำสั่งรัฐสภาแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ ขึ้น คือ

๑. คณะกรรมการเจรจาต่อรองราคาที่ดินเพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ฯ (บางส่วน) และเพื่อชดเชยให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ โดยมีรองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง (นายนิคม ไวยรัชพานิช) เป็นประธานกรรมการ เพื่อเจรจาจัดซื้อที่ดินบางส่วนเพื่อเป็นที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ และชดเชยให้กับหน่วยราชการต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่

๒. คณะกรรมการประชาสัมพันธ์โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ โดยมีรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง (พันเอก อภิวันท์ วิริยะชัย) เป็นประธานกรรมการ โดยพิจารณาทำการประชาสัมพันธ์โครงการฯ ที่อยู่ในโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ มีการจัดทำประชาพิจารณ์โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ สรุปปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นในส่วนที่เกี่ยวข้อง

โครงการทำประชาพิจารณ์โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ เป็นโครงการที่ทำขึ้นเพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจ และความคิดเห็นของกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการย้ายที่ทำการของรัฐสภาไปยังสถานที่ก่อสร้างบริเวณพื้นที่เกียกกาย โดยได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประชาพิจารณ์และประชาสัมพันธ์โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ โดยมีอำนาจหน้าที่จัดทำแผนการดำเนินการประชาพิจารณ์โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ซึ่งคณะอนุกรรมการประชาพิจารณ์และประชาสัมพันธ์โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ มีการทำประชาพิจารณ์กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบรวม ๔ ครั้ง ปรากฏดังนี้

การทำประชาพิจารณ์โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่

ข้อมูลที่ได้จากการทำประชาพิจารณ์โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่กับผู้ได้รับผลกระทบทั้ง ๔ ครั้ง ประกอบด้วย
ครั้งที่ ๑ กลุ่มชุมชนตระกูลดิษฐ์ ในวันศุกร์ที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๑
ครั้งที่ ๒ กลุ่มโรงเรียนโยธินบูรณะ และกลุ่มชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า ในวันอาทิตย์ที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๒
ครั้งที่ ๓ กลุ่มชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า ในวันจันทร์ที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๒
ครั้งที่ ๔ กลุ่มชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า ในวันเสาร์ที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๒

สามารถสรุปผลได้ดังนี้

๑. ชุมชนตระกูลดิษฐ์ เป็นชุมชนที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ มีจำนวนประชากร ๔๐ ครอบครัว และได้อาศัยอยู่ในที่ดินของเอกชน (นายสุชิต ล่ำซำ) โดยได้มีการฟ้องร้องขับไล่ให้ออกจากพื้นที่
ได้มีการจัดทำประชาพิจารณ์ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๒ โดยมีวิทยากรให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ และแจกแบบสอบถามซึ่งชาวชุมชนตระกูลดิษฐ์ ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ คิดเป็นร้อยละ ๙๗.๕๐

การแก้ไขและเยียวยา

รัฐสภาจะสร้างที่พักอาศัยให้ตามบันทึกข้อตกลงโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ระหว่าง รัฐสภากับสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองทัพบก กรมราชองครักษ์ กรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และกรมธนารักษ์ โดยได้ขอความอนุเคราะห์กรมโยธาธิการและผังเมืองดำเนินการออกแบบบ้านทาวน์เฮ้าส์ ๒ ชั้น และจะก่อสร้างในพื้นที่ราชพัสดุ บริเวณแผนก ซ่อมบำรุงเรือ กองร้อยขนส่งเรือ (ฝั่งวัดแก้วฟ้าจุฬามณี) เนื้อที่ประมาณ ๔ ไร ซึ่งเป็นพื้นที่ของแผนกซ่อมบำรุง กองร้อยขนส่งเรือ

๒. โรงเรียนโยธินบูรณะ เป็นโรงเรียนที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ มีเนื้อที่ ๘ ไร่ มีจำนวนครู ๑๖๔ คน นักเรียน ๓,๖๓๐ คน ได้มีการจัดทำประชาพิจารณ์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๒ กลุ่มที่ทำประชาพิจารณ์เป็นผู้ปกครอง ครู นักเรียน เจ้าหน้าที่โรงเรียนโยธินบูรณะ ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการก่อสร้างอาคารรัฐสาแห่งใหม่ คิดเป็นร้อยละ ๗๐.๐๐

การแก้ไขและเยียวยา

รัฐสภาจะจ่ายค่ารื้อย้ายและก่อสร้างอาคารเรียน อาคารประกอบการ สิ่งก่อสร้างอื่นๆ ค่าวัสดุ ครุภัณฑ์ และค่าก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคของโรงเรียนโยธินบูรณะ จำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ในพื้นที่ใกล้เคียงกับที่ดั้งเดิมบริเวณวัดสร้อยทอง จำนวน ๑๖ ไร่ พร้อมปรับปรุงการจรทางบก และทางน้ำสู่โรงเรียน และย้ายปั๊มแก๊สของบริษัท ปิโตรเลียมแหงประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ในพื้นที่ออก โดยรัฐสภาจ่ายค่าชดเชยให้ จำนวน ๒๐ ล้านบาท สำหรับการออกแบบอาคารโรงเรียนโยธินบูรณะแห่งใหม่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะได้มอบให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกแบบต่อไป

๓. ชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า เป็นชุมชนที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ มีจำนวนประชากร ๙๓ ครอบครัว ได้มีการจัดทำประชาพิจารณ์ จำนวน ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๒
ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๒
ครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๒
และชุมชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการก่อสร้างอาคารรัฐสาแห่ง

การแก้ไขและเยียวยา

รัฐสภาได้ขอความอนุเคราะห์กรมโยธาธิการและผังเมืองดำเนินการออกแบบบ้านทาวน์เฮ้าส์ ๒ ชั้น ซึ่งจะปลูกสร้างในพื้นที่แผนกซ่อมบำรุงเรือกองร้อยขนส่งเรือ (ฝั่งวัดแก้วฟ้าจุฬามณี) โดยจะแบ่งพื้นที่ให้ครอบครัวละ ๑๒ ตารางวา และได้ขอความอนุเคราะห์กรมธนารักษ์เรื่องกรรมสิทธิ์ในตัวอาคารปลูกสร้างให้เป็นกรรมสิทธิ์ของชาวชุมชนด้วย ซึ่งชมชนส่วนใหญ่พอใจกับการช่วยเหลือจากทางรัฐสภา

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ 
(เริ่มนับ 2 ก.ย. 54)