กลับหน้าหลัก
 เมนูหลัก
 
« กันยายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด


  • กิจกรรมรัฐสภาสัญจร ปี 2557    download_icon

  • เสวนาการประกวดวรรณกรรมการเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • กีฬา "ภาคีนิติสัมพันธ์ ครั้งที่ 12"    download_icon

  • สำนักงานรัฐสภาประจำจังหวัด    download_icon

  • เพลง "กษัตริย์แห่งประชาธิปไตย"    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ในหน้า
Untitled Document

รัฐสภาในอดีต >> เกี่ยวกับรัฐสภา >> อำนาจหน้าที่รัฐสภา
[ ด้านนิติบัญญัติ ] [ การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ] [ การให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญ ] [ การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง ] [ การให้ความเห็นชอบและการพิจารณาเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ] [ แผนผังอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ]

ด้านนิติบัญญัติ


1. การเสนอร่างกฎหมาย
          1.1 การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (มาตรา 139)
                    (1) คณะรัฐมนตรี
                    (2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา มีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
                    (3) ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น
          1.2 การเสนอร่างพระราชบัญญัติ (มาตรา 142)
                    (1) คณะรัฐมนตรี
                    (2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน
                    (3) ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรและกฎหมายที่ประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการ
                    (4) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า10,000 คนเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามมาตรา 163 (เฉพาะหมวด 3 และหมวด 5)


2. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประชาชนเสนอ (มาตรา 163 วรรคสี่)
         2.1 สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต้องให้ผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นชี้แจงหลักการของร่างพระราชบัญญัติ
          2.2 คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจะต้องประกอบด้วยผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 จองจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด


3. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย (หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ มาตรา 166 - 170)



4. การพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนด
          กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญขงพระราชกำหนดอย่างเคร่งครัด (มาตรา 185)


5. การให้ความเห็นชอบในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
          ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจาก (มาตรา 291 (1))
          (1) คณะรัฐมนตรี
          (2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
          (3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
          (4) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
          ประการสำคัญ การพิจารณาในวาระที่สอง ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมด้วย

download download Download all images download
ร้องเรียน / ร้องทุกข์ ห้องข่าว
หนังสือและสื่อเผยแพร่
สำนักงานรัฐสภาประจำจังหวัด ผู้ตรวจราชการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนฯ ติดตามข่าวสอบบรรจุเป็นข้าราชการ ติดต่อรัฐสภา