โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ สส.พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้แทนพรรคร่วมรัฐบาล และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และคณะ รับยื่นหนังสือตามลำดับจากนายไพฑูรย์ สร้อยสด ผู้แทนเครือข่ายประชาชนเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ เรียกร้องให้สภาฯ พิจารณาเห็นชอบรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกร่าง

Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 10.00 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร มอบหมายให้ นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นหนังสือจากนายไพฑูรย์ สร้อยสด ผู้แทนเครือข่ายประชาชนเขียนรัฐธรรมนูญใหม่  และคณะ เรื่อง ขอเรียกร้องให้สภาฯ พิจารณาเห็นชอบร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทุกร่าง ในวาระที่หนึ่งรับหลักการ เพื่อจะให้มีการเดินหน้าต่อไป
 
ด้วยเครือข่ายฯ เป็นเครือข่ายของประชาชนที่มาจากหลากหลายประเด็นปัญหาในหลายๆ ด้าน ทั้งที่จากปัญหาป่าไม้ที่ดิน ปัญหาจากการสร้างเขื่อน การทำเหมือง การเกษตร คนจนเมือง การศึกษา การบริหารจัดการท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ. 2560 ทำให้มียุทธศาสตร์ชาติในการผลักดันแผนพัฒนาอุตสาหกรรมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง ประชาชนถูกแย่งยึดทรัพยากรไปเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กลุ่มทุนผูกขาด แม้จะมีการเลือกตั้งมาแล้วถึง 2 ครั้ง แต่เป็นการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญที่มีโครงสร้างอำนาจไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่ยึดโยงกับประชาชน ทำให้การออกกฎหมายหรือจัดสรรผลประโยชน์ที่ผ่านมาไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน 
 
เมื่อสภาฯได้บรรจุระเบียบวาระในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 เพื่อเปิดโอกาสให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ของพรรคประชาชนและพรรคเพื่อไทย ในวันที่ 14 ก.พ. 68 นั้น เครือข่ายประชาชนเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ซึ่งได้ติดตามผลักดันการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่มากว่า 7 ปี จากคำมั่นสัญญาของทุกพรรคการเมืองโนการเลือกตั้ง ปี 2562 และ ปี 2566 การลงคะแนนเสียงเลือกตัวแทนจากพรรคการเมืองเข้าสู่สภาในแต่ละครั้ง เพื่อหวังให้เข้ามาผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเครือข่ายฯเห็นว่าปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนนั้นล้วนมีสาเหตุมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560  ดังนั้นการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างยั่งยืนคือการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ที่มีโครงสร้างอำนาจเป็นประชาธิปไตยมีโดยมีประชาชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ฉะนั้นการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 โดยการจัดทำรัฐธธรรมนูฉบับใหม่ครั้งนี้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเดินหน้ากระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ครั้งนี้ ดังนั้น เครือข่ายฯจึงขอเรียกร้องให้ รัฐสภามีมติเห็นชอบกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 256 ในวันที่ 13 – 14 ก.พ. 68  ซึ่งขณะนี้มีผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมดสองร่างคือ พรรคประชาชน และพรรคเพื่อไทย เนื้อหาสาระต่างกันที่พรรคเพื่อไทยมีเงื่อนไขในการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่โดยไม่แตะต้องหมวด 1 บททั่วไป และ หมวด 2 พระมหากษัตริย์ และทั้งสองพรรคมีข้อเสนอการได้มาซึ่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ “สสร.” จากการเลือกตั้ง 100% ซึ่งหากทั้งสองร่างผ่านจะเป็นการปลดล็อคเงื่อนไขที่ทำให้รัฐธรรมนูญ 2560 แก้ไขได้ง่ายขึ้นและนำไปสู่การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ผ่านสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งตามแนวทางที่รัฐบาลได้สัญญากับประชาชนไว้ และเป็นโอกาสสุดท้ายที่การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่จะเป็นไปได้ก่อนเลือกตั้งปี 2570
 
โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร  กล่าวภายหลังรับยื่นหนังสือว่า ขอนำเรื่องดังกล่าว กราบเรียนประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการต่อไป
 
จากนั้น นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ  สส.พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้แทนพรรคร่วมรัฐบาล และคณะ รับยื่นหนังสือในเรื่องเดียวกัน
 
ด้านนายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ กล่าวภายหลังรับยื่นหนังสือว่า ทางพรรคเพื่อไทย มีจุดยืนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับเครือข่ายฯ ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ต้องการการมีส่วนร่วมจากประชาชนมากขึ้น โดยได้ยื่นร่างพ.ร.บ.แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ให้มีการจัดตั้งให้มีสสร. ต่อสภาแล้ว ขอยืนยันว่ามีหลักการในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของประชาชนเช่นเดียวกัน
 
ต่อจากนั้น นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร  รับยื่นหนังสือเรื่องเช่นเดียวกัน
 
ด้านผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร  กล่าวภายหลังรับยื่นหนังสือว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านฯ ขอยืนยันว่าจะร่วมผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนต่อไป


รัฐสภา● เกี่ยวกับรัฐสภา■ หน้าที่และอำนาจรัฐสภา■ โครงสร้างรัฐสภา■ ประธานรัฐสภา■ รองประธานรัฐสภา■ ทำเนียบประธานรัฐสภา■ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)● การประชุมร่วมกันของรัฐสภา■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา● คณะกรรมาธิการ■ คณะกรรมาธิการของรัฐสภา■ คณะกรรมาธิการร่วมกัน■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● เครือข่ายในวงงานรัฐสภา■ เครือข่ายรัฐสภาทั่วโลก■ เครือข่ายนิติบัญญัติ○ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
○ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
○ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
○ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
■ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ○ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
○ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
○ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
○ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
○ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
■ องค์กรอื่นๆ○ ศาลยุติธรรม
○ ศาลปกครอง
○ ศาลรัฐธรรมนูญ
○ สำนักงานอัยการสูงสุด
● บริการรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร■ หน้าที่และอำนาจสภาผู้แทนราษฎร■ โครงสร้างสภาผู้แทนราษฎร■ ประธาน/รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร○ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร
■ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร○ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
■ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โมบาย แอพฯ)
● การประชุมสภาผู้แทนราษฎร■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
■ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ แบบการแจ้งความจำนงขอปรึกษาหารือฯ
○ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
■ กระทู้ถาม○ ระเบียบวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ ระบบตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ แบบฟอร์มตั้งกระทู้ถาม
○ แบบฟอร์มถอนกระทู้ถาม
○ กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อมูลการประชุมในอดีต■ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร● คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ คณะกรรมาธิการสามัญ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● บริการสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสำนักงานฯ■ ประวัติความเป็นมา■ โครงสร้างสำนักงานฯ■ หน้าที่และอำนาจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์■ ผู้บริหารสำนักงานฯ■ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับกรม■ ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ แผนปฏิบัติราชการ● ประกาศ■ จัดซื้อจัดจ้าง ■ รับสมัครงาน■ เงินอุดหนุนการวิจัย● คุณธรรมความโปร่งใส■ แผนปฏิบัติราชการ■ แผนดำเนินงาน■ มาตรฐานการปฏิบัติงาน■ การให้บริการ■ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี■ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล■ การส่งเสริมความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต● ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ● บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาบริการทั้งหมด ■ ข้อมูลการประชุมสภา■ ข้อมูลกฎหมาย■ ข้อมูลต่างๆ ของรัฐสภา■ แจ้งเรื่องร้องเรียน■ ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก■ สำหรับบุคคลในวงงานรัฐสภา● Health_madia