อำนาจหน้าที่ของฝ่ายเลขานุการ
20 ตุลาคม 2566
(๑) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการและธุรการทั่วไปในการประชุมของคณะกรรมาธิการสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมาธิการร่วมกันของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา และคณะกรรมาธิการของรัฐสภา ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรรัฐธรรมนูญ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ การพิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงและศึกษาเรื่องใด ๆ ติดตามมติของคณะกรรมาธิการ เพื่อจัดทำรายงานและยืนยันมติของคณะกรรมาธิการไปยังสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมาธิการ ด้านกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน กิจการสภาผู้แทนราษฎร กิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน การกีฬา ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ การต่างประเทศ การตำรวจ การทหาร การปกครอง การกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ การป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด และการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนการจัดการสัมมนา การประชาพิจารณ์ การเดินทางไปศึกษาดูงานเรื่องนั้น ๆ
(๒) ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และข้อเสนอแนะด้านวิชาการและกฎหมายเพื่อประกอบเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการหรือ คณะอนุกรรมาธิการ
(๓) ให้คำปรึกษา แนะนำ และเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการของสภาในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ร่างพระราชบัญญัติ ร่างข้อบังคับการประชุม ญัตติ หรือเรื่องที่คณะกรรมาธิการดำเนินการศึกษา หรือสอบหาข้อเท็จจริงในเรื่องต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะกรรมาธิการและคณะอนุกรรมาธิการ
(๔) ค้นคว้าและจัดทำเอกสารทางวิชาการ เปรียบเทียบกฎหมายเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในการประชุมคณะกรรมาธิการ
(๕) จัดทำ รวบรวมคำแปรญัตติร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ร่างพระราชบัญญัติ ร่างข้อบังคับการประชุม และญัตติ หรือเรื่องที่คณะกรรมาธิการดำเนินการศึกษา หรือสอบหาข้อเท็จจริง
(๖) จัดทำบันทึกการประชุมของคณะกรรมาธิการและคณะอนุกรรมาธิการ
(๗) ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย