มาเลเซียได้ขับไล่เรือสองลำที่บรรทุกผู้อพยพชาวเมียนมาซึ่งเชื่อว่าเป็นชาวโรฮีนจาจำนวนประมาณ ๓๐๐ คน




ประเทศมาเลเซีย
หมวดสังคม
ข่าวประจำวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๘




          เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา สำนักงานบังคับใช้กฎหมายทางทะเลมาเลเซีย (MMEA) รายงานว่า ได้ผลักดันเรือ ๒ ลำ ที่บรรทุกผู้อพยพชาวเมียนมาร์ซึ่งเชื่อว่าเป็นชาวโรฮีนจาจำนวนเกือบ ๓๐๐ คน
           พลเรือโท ดาโต๊ะ โมฮัด รอสลี อับดุลลาห์ (Datuk Mohd Rosli Abdullah) ผู้อำนวยการ MMEA กล่าวว่า ปฏิบัติการนี้เกิดขึ้นหลังจากการสกัดกั้นเรือสองลำที่พยายามเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมายที่หาดปันไต เตลุก หยู บนเกาะลังกาวี เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทางการได้ควบคุมตัวผู้อพยพชาวโรฮีนจาที่ไม่มีเอกสารจำนวนทั้งหมด ๑๙๖ คน และจากข้อมูลที่ได้รับ สามารถค้นหาเรืออีกสองลำที่บรรทุกผู้อพยพชาวเมียนมาได้สำเร็จ
          ทางการระบุว่า จากที่ได้พบเรือดังกล่าวพบว่าผู้อพยพทั้งหมดอยู่ในสภาพอิดโรยภายหลังจากเดินทางมายาวนานโดยไม่มีอาหารและน้ำที่เพียงพอ ซึ่งทางการได้ให้ความช่วยเหลือโดยจัดหาอาหารและน้ำดื่มให้ก่อนที่จะผลักดันเรือทั้งสองลำออกจากน่านน้ำของประเทศ
          ในแถลงการณ์ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งที่มาของผู้อพยพดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ชาวโรฮีนจาจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศได้ติดต่อกับผู้ค้ามนุษย์เพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า โดยข้อมูล ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๗ พบว่าประเทศบังกลาเทศมีผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจา จำนวนมากกว่าหนึ่งล้านคนที่พยายามหลบหนีจากความรุนแรงจากประเด็นเรื่องชาติพันธุ์และศาสนาใน
เมียนมา
          ประเทศมาเลเซียเป็นจุดหมายปลายทางที่นิยมสำหรับผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจา เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิมเชื้อสายมาเลเซีย ตามข้อมูลของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ณ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๗ มีผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยประมาณ ๑๙๒,๑๗๐ คนที่ลงทะเบียนกับ UNHCR ในมาเลเซีย โดยในจำนวนนี้ ๑๑๑,๔๑๐คน เป็นชาวโรฮีนจา โดยคิดเป็นร้อยละ ๕๘ ของประชากรผู้ลี้ภัยทั้งหมด
          มาเลเซียไม่ได้เป็นภาคีของอนุสัญญาผู้ลี้ภัยปี พ.ศ. ๒๔๙๔ หรือพิธีสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกำหนดมาตรฐานสากลในการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยแม้จะเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ แต่รัฐบาลมาเลเซียไม่มีกรอบทางด้าน
กฎหมายหรือการบริหารจัดการเรื่องการดูแลผู้ลี้ภัย ทำให้พวกเขาอยู่ในสภาพที่ไม่มีกฎหมายรองรับ ผู้ลี้ภัยไม่มีสิทธิในการทำงาน เข้าเรียน หรือเข้าถึงการรักษาพยาบาล
          ไบรโอนี เลา (Byrony Lau)  รองผู้อำนวยการฮิวแมนไรท์วอทช์ประจำภูมิภาคเอเชีย รายงานว่า รัฐบาลมาเลเซียไม่อนุญาตให้ UNHCR เข้าถึงศูนย์บัยตุลมะฮับบะห์และสถานกักกันคนเข้าเมืองเพื่อพิจารณาคำขอลี้ภัย ส่งผลให้ทางการกักกันผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยชาวโรฮีนจาหลายพันคนโดยไม่มีกำหนด เนื่องจากไม่สามารถส่งต่อไปยังประเทศที่สามได้

 
***********************************



ที่มาของข่าว : Source: https://www.jurist.org/news/2025/01/malaysia-expels-two-boats-carrying-300-suspected-rohingya-refugees/





 
ผู้แปล : นางมัญชุสา  ตั้งเจริญ นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการ  
กลุ่มงานภาษาอังกฤษ
ผู้ทาน : นายกิตติ  เสรีประยูร ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานภาษาอังกฤษ
นางสาวศิรสา ชลายนานนท์ นักวิเทศสัมพันธ์เชี่ยวชาญ
ผู้ตรวจ : นางบุณฑริกา  ชุณหะนันทน์ ที่ปรึกษาด้านต่างประเทศ รักษาราชการแทน
ผู้อำนวยการสำนักภาษาต่างประเทศ 

 

 


เจ้าภาพการประชุม

● สมัชชาใหญ่สหภาพลูกเสือรัฐสภาโลกครั้งที่ 9

○ ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรการประชุม
○ ข้อมูลการประชุมสมัชชาใหญ่สหภาพลูกเสือรัฐสภาโลก ครั้งที่ผ่านมา
○ ข้อมูลการเตรียมการเป็นเจ้าภาพของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

● การประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก (APPF) ครั้งที่ 30

○ ข้อมูลเกี่ยวกับกรอบการประชุมรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก
○ ข้อมูลการประชุมประจำปี APPF ครั้งล่าสุด 5 ปี

○ ข้อมูลการเตรียมการเป็นเจ้าภาพของรัฐสภาไทยในการจัดประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 30


○ ข้อมูลการประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 30

● คณะกรรมาธิการว่าด้วยสังคมและวัฒนธรรมของสมัชชารัฐสภาเอเชีย

○ ภูมิหลังสมัชชารัฐสภาอาเซียน
○ ข้อมูลประเทศไทย
○ กฎบัตรและข้อบังคับการประชุม APA
○ คณะกรรมการเตรียมการประชุมฯ APA
○ ภาพกิจกรรมของคณะผู้แทนไทย