ตำรวจอินโดนีเซียได้รับอำนาจพิเศษในการอนุมัติการทำแท้งสำหรับเหยื่อที่ถูกข่มขืน ก่อนหน้านี้ผู้หญิงสามารถขอเอกสารรับรองนี้จากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หรือจิตแพทย์ได้






สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
หมวดสังคม
ข่าวประจำวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๗






 


 
ผู้ประท้วงต่อต้านการทำแท้งเฉลิมฉลองบริเวณภายนอกศาลสูงของสหรัฐฯ ขณะที่ศาลมีคำตัดสินในคดี Dobbs v Women’s Health Organization โดยกลับคำตัดสินที่สำคัญในคดีโร วี เวด (Roe v Wade) เกี่ยวกับการทำแท้ง
ในกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐฯ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ค.ศ.๒๐๒๒ ภาพจากสำนักข่าวรอยเตอร์




อินโดนีเซียออกกฎระเบียบใหม่เมื่อสัปดาห์นี้มีผลให้ตำรวจเป็นหน่วยงานเดียวที่มีอำนาจในการอนุมัติการทำแท้งสำหรับเหยื่อที่ถูกข่มขืน ซึ่งได้รับการวิจารณ์จากนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิสตรีที่กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการถดถอยเรื่องสิทธิของสตรี
 
การทำแท้งเป็นสิ่งผิดกฎหมายในอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก ยกเว้นในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์หรือการข่มขืน กฎระเบียบใหม่ระบุว่าเพื่อให้ผู้หญิงที่ยอมรับว่าเป็นเหยื่อจากการถูกข่มขืนจำเป็นต้องมีเอกสารรับรองที่ออกโดยตำรวจเท่านั้น
 
ก่อนหน้านี้ ผู้หญิงสามารถขอเอกสารรับรองดังกล่าวจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หรือจิตแพทย์
 
โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่ได้ตอบคำร้องขอให้ชี้แจงเกี่ยวกับกฎระเบียบนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายสาธารณสุขที่ขยายขอบเขตเพิ่มขึ้นและมีผลบังคับใช้ทันที หรือเกี่ยวกับขั้นตอนของตำรวจที่ดำเนินการกับเหยื่อที่ถูกข่มขืน
โดยนางไมดินา รามาวตี (Maidina Rahmawati) จากสถาบันปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาแห่งอินโดนีเซีย (ICJR) กล่าวว่าตำรวจยังไม่ได้ออกกฎระเบียบภายในเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือเป็นการเฉพาะกับเหยื่อที่ถูกข่มขืน รวมถึงการจัดหายาคุมกำเนิดฉุกเฉินหรือบริการทำแท้งที่ปลอดภัย เช่นเดียวกับการฝึกอบรมพิเศษให้กับเจ้าหน้าที่
 
ในประเทศที่การทำแท้งยังถูกมองว่าเป็นเรื่องต้องห้ามอย่างกว้างขวาง นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิสตรีกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบนี้อาจทำให้เหยื่อที่ถูกข่มขืนไม่กล้าเข้าไปหาหน่วยงานเพื่อขอความช่วยเหลือ
 
นางโอลิน มอนเตโร (Olin Monteiro) จากกลุ่มสตรีนิยมในจาการ์ตาซึ่งเป็นหนึ่งในหลายกลุ่มที่ต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีและเรียกร้องให้มีการปรับปรุงกฎระเบียบใหม่กล่าวว่า "โดยทั่วไปผู้หญิงยังคงหวาดกลัวเนื่องจากวัฒนธรรม นโยบาย และศาสนา" และกล่าวเพิ่มเติมว่า "สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้หญิงไม่สามารถเข้าถึงสิทธิในการยุติการตั้งครรภ์ได้" และ "กฎระเบียบนี้ทำให้เหยื่อที่ถูกข่มขืนมีเพียงทางเลือกเดียวเท่านั้นคือต้องไปหาตำรวจ นั่นเป็นการจำกัดอย่างมาก”
 
นางตุงกัล ปาเวสตรี (Tunggal Pawestri) นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรีได้กล่าวว่า กฎระเบียบนี้ไม่ได้ช่วยเหยื่อที่ถูกข่มขืนและ "แทนที่จะสนับสนุนเหยื่อที่ถูกข่มขืนอย่างแท้จริง ฉันคิดว่านี่จะเป็นการทำให้ถดถอยมากกว่า"

 
**********************************************




ที่มาของข่าว : https://tribune.com.pk/story/2485260/indonesian-police-granted-exclusive-authority-to-approve-abortions-for-rape-victims?utm_source=ground.news&utm_medium=referral





 

ผู้แปล : นางสาวศุภพิชญ์ กิตติณัฐพงศ์ นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการพิเศษ
กลุ่มงานภาษาอังกฤษ
ผู้ทาน : นายกิตติ  เสรีประยูร ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานภาษาอังกฤษ
นางสาวศิรสา  ชลายนานนท์ นักวิเทศสัมพันธ์เชี่ยวชาญ
ผู้ตรวจ : นางสาวกฤษณี  มาศรีจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักภาษาต่างประเทศ
 

 
 


เจ้าภาพการประชุม

● สมัชชาใหญ่สหภาพลูกเสือรัฐสภาโลกครั้งที่ 9

○ ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรการประชุม
○ ข้อมูลการประชุมสมัชชาใหญ่สหภาพลูกเสือรัฐสภาโลก ครั้งที่ผ่านมา
○ ข้อมูลการเตรียมการเป็นเจ้าภาพของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

● การประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก (APPF) ครั้งที่ 30

○ ข้อมูลเกี่ยวกับกรอบการประชุมรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก
○ ข้อมูลการประชุมประจำปี APPF ครั้งล่าสุด 5 ปี

○ ข้อมูลการเตรียมการเป็นเจ้าภาพของรัฐสภาไทยในการจัดประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 30


○ ข้อมูลการประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 30

● คณะกรรมาธิการว่าด้วยสังคมและวัฒนธรรมของสมัชชารัฐสภาเอเชีย

○ ภูมิหลังสมัชชารัฐสภาอาเซียน
○ ข้อมูลประเทศไทย
○ กฎบัตรและข้อบังคับการประชุม APA
○ คณะกรรมการเตรียมการประชุมฯ APA
○ ภาพกิจกรรมของคณะผู้แทนไทย