สส.พรรคประชาชน และเครือข่ายขับเคลื่อนผลักดัน พ.ร.บ.บำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า แถลงการณ์ยืนหยัดจะไม่ยอมให้เสียงเรียกร้องของคนทำงานต้องเงียบหายไป ภายหลังนายกรัฐมนตรีปัดตกร่างพ.ร.บ.บำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า พ.ศ. .... และ พ.ร.บ. สหภาพแรงงาน พ.ศ. ....

Image
Image
Image
Image
Image
Image
วันพฤหัสบดีที่ 20  กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 10.00 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายเซีย จำปาทอง สส.พรรคประชาชน และเครือข่ายขับเคลื่อนผลักดัน พ.ร.บ. บำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า ร่วมกันแถลงการณ์ภายหลังนายกรัฐมนตรีปัดตกร่าง พ.ร.บ.บำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า พ.ศ. .... และ พ.ร.บ.สหภาพแรงงาน  พ.ศ. .... สืบเนื่องจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 7 ก.พ. 68 มายังสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แจ้งว่า สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้ส่งร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของนายกรัฐมนตรีอีกครั้งเพื่อให้กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินสอดคล้องกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน ซึ่งสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้นำร่าง พ.ร.บ.สหภาพแรงงาน พ.ศ. .... และร่าง พ.ร.บ. บำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า พ.ศ. .... ที่ตนกับคณะเป็นผู้เสนอ พร้อมความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กราบเรียนนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีบัญชาไม่รับรองร่างทั้งสองฉบับดังกล่าว และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้ทำหนังสือแจ้งมายังตน เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 68  การที่รัฐบาลไม่เห็นชอบต่อร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับไม่เพียงแต่เป็นการปฏิเสธสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนท่านั้น แต่เป็นการตอกย้ำว่าแรงงาน  หรือคนทำงานในประเทศนี้ยังคงถูกมองเป็นเพียงเครื่องมือของระบบเศรษฐกิจที่ไม่เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์ ตนในฐานะผู้แทนราษฎร อดีตผู้ใช้แรงงาน ต้องยอมรับตามตรงว่า เสียดายโอกาสของคนทำงานหลากหลายอาชีพ ที่สร้างชาติ สร้างเศรษฐกิจ ด้วยหยาดเหงื่อแรงงานทั้งชีวิต แต่ถูกพรากความยุติธรรมขั้นพื้นฐานไป เพราะคนทำงานคือผู้ผลิต คือลมหายใจของเศรษฐกิจไทย คือวงล้อที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การบริการ และทุกภาคส่วนของประเทศ แต่เมื่อทำงานหนักมาตลอดต้องจบลงด้วยความยากจนในบั้นปลาย ไม่มีหลักประกัน ไม่มีบำนาญที่เพียงพอ รวมตัวกันเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง แต่ไม่ได้รับความยุติธรรรม ตน และ สส. จากพรรคประชาชน ขอยืนหยัดประกาศเจตจำนงอันแน่วแน่ว่า จะไม่ยอมให้เสียงเรียกร้องของคนทำงาน ต้องเงียบหายไปท่ามกลางโครงสร้างอำนาจที่เอื้อเฉพาะกลุ่มนายทุนและผู้มีอำนาจ เพราะคนทำงางานคือรากฐานของชาติ แต่กลับถูกทิ้งไว้ข้างหลังเสมอมา พรรคประชาชนเชื่อมั่นในสิทธิแรงงาน และปรารถนาจะให้สังคมแห่งนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยความเคารพในสิทธิแรงงาน และเมื่อพวกเรามีความเชื่อมั่นในสิทธิแรงงานอย่างแรงกล้า พวกเราจึงนำเสนอออกมาอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านร่างกฎหมายเพื่อคนทำงาน หลาย ๆ ฉบับ ที่ได้ผลักดันร่วมกับภาคประชาชน และยื่นเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ทั้ง พ.ร.บ.บำนาญพื้นฐานถ้วนหน้าฯ ที่ไม่ใช่การให้ทานจากรัฐ ไม่ใช่การสงเคราะห์แล้วจบ แต่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคนควรได้รับการดูแลเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ โดยไม่ถูกปล่อยให้ดิ้นรนหาเลี้ยงชีพในวัยที่ต้องโรยราอย่างเดียวดาย และพ.ร.บ.สหภาพแรงงานฯ ไม่ใช่ภัยคุกคามต่อระบบเศรษฐกิจแต่เป็นกลไกที่จำเป็นในการสร้างความเป็นธรรมแก่การทำงาน ต่างฝ่ายต่างก็ต้องพึงพาอาศัยกัน ฝั่งนายจ้างมีอำนาจ แต่คนทำงานก็ต้องมีเสียง  และการรวมตัวของแรงงานไม่ได้เป็นภัยต่อประเทศ ไม่ได้เป็นภัยต่อระบบเศรษฐกิจ แต่เป็นรากฐานของประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจที่แท้จริง แม้ที่ผ่านมาจะมีข้อสงสัยถึงความพร้อมด้านงบประมาณต่อการเริ่มต้นบังคับใช้กฎหมายเพื่อสร้างรัฐสวัสดิการ แต่ต้องขอยืนยันอีกครั้งว่า ในการเลือกตั้ง ปี 2566 อดีตพรรคก้าวไกลเคยเสนอแหล่งที่มาของรายได้ 650,000 ล้านบาท เพื่อจัดทำสวัสดิการให้ประชาชนเอาไว้แล้ว และประเทศไทยสามารถทำได้จริงผ่านกลไกของระบอบประชาธิปไตย
 
สุดท้ายนี้ ขอยืนยันว่าเราจะไม่ปล่อยให้การปัดตกร่างกฎหมายเหล่านี้ เป็นเพียงแค่บันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ แต่เราจะสู้ต่ออย่างมีความหวัง เคียงข้างไปกับพี่น้องประชาชนคนทำงานให้เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง เป็นจุดเริ่มต้นของรัฐสวัสดิการในประเทศของพวกเรา แม้ในสมัยประชุมครั้งนี้ร่างกฎหมายเพื่อประชาชนจะถูกนายกรัฐมนตรีปัดตกไป แต่พวกเราจะนำมันกลับมาปัดฝุ่น ปรับปรุงใหม่ให้ดีกว่าเดิม และผลักดันเข้าสู่การพิจารณาอีกครั้ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนทุกคนอย่างแน่นอน




รัฐสภา● เกี่ยวกับรัฐสภา■ หน้าที่และอำนาจรัฐสภา■ โครงสร้างรัฐสภา■ ประธานรัฐสภา■ รองประธานรัฐสภา■ ทำเนียบประธานรัฐสภา■ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)● การประชุมร่วมกันของรัฐสภา■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา● คณะกรรมาธิการ■ คณะกรรมาธิการของรัฐสภา■ คณะกรรมาธิการร่วมกัน■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● เครือข่ายในวงงานรัฐสภา■ เครือข่ายรัฐสภาทั่วโลก■ เครือข่ายนิติบัญญัติ○ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
○ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
○ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
○ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
■ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ○ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
○ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
○ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
○ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
○ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
■ องค์กรอื่นๆ○ ศาลยุติธรรม
○ ศาลปกครอง
○ ศาลรัฐธรรมนูญ
○ สำนักงานอัยการสูงสุด
● บริการรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร■ หน้าที่และอำนาจสภาผู้แทนราษฎร■ โครงสร้างสภาผู้แทนราษฎร■ ประธาน/รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร○ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร
■ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร○ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
■ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โมบาย แอพฯ)
● การประชุมสภาผู้แทนราษฎร■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
■ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ แบบการแจ้งความจำนงขอปรึกษาหารือฯ
○ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
■ กระทู้ถาม○ ระเบียบวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ ระบบตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ แบบฟอร์มตั้งกระทู้ถาม
○ แบบฟอร์มถอนกระทู้ถาม
○ กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อมูลการประชุมในอดีต■ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร● คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ คณะกรรมาธิการสามัญ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● บริการสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสำนักงานฯ■ ประวัติความเป็นมา■ โครงสร้างสำนักงานฯ■ หน้าที่และอำนาจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์■ ผู้บริหารสำนักงานฯ■ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับกรม■ ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ แผนปฏิบัติราชการ● ประกาศ■ จัดซื้อจัดจ้าง ■ รับสมัครงาน■ เงินอุดหนุนการวิจัย● คุณธรรมความโปร่งใส■ แผนปฏิบัติราชการ■ แผนดำเนินงาน■ มาตรฐานการปฏิบัติงาน■ การให้บริการ■ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี■ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล■ การส่งเสริมความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต● ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ● บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาบริการทั้งหมด ■ ข้อมูลการประชุมสภา■ ข้อมูลกฎหมาย■ ข้อมูลต่างๆ ของรัฐสภา■ แจ้งเรื่องร้องเรียน■ ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก■ สำหรับบุคคลในวงงานรัฐสภา● Health_madia