รองประธานคณะ กมธ.การต่างประเทศ คนที่หนึ่ง แถลงข่าวผิดหวังหน่วยงานรัฐภายใต้รัฐบาลชุดนี้ไร้ประสิทธิภาพ ตอบสนองเหตุการณ์พม่ายิงเรือประมงไทยล่าช้า ขอให้ทำงานเชิงรุกมากกว่านี้

Image
Image
Image
วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม 2567 เวลา 11.00 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายจุลพงศ์ อยู่เกษ รองประธานคณะ กมธ.การต่างประเทศ คนที่หนึ่ง แถลงข่าวกรณีเรือรบพม่ายิงเรือประมงไทยและยึดเรือประมงไทยตรงบริเวณน่านน้ำทางทะเลอันดามัน ว่า เมื่อวานนี้ (12 ธ.ค.) ที่ประชุมกมธ.การต่างประเทศได้เชิญผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศและสภาความมั่นคงมาชี้แจงและรายงานสถานการณ์ล่าสุด

เมื่อได้รับฟังคำชี้แจงและรับฟังสถานการณ์ล่าสุด รวมทั้งฟังการตอบคำถามของผู้ชี้แจงแล้ว เกิดความผิดหวังถึงความไร้ประสิทธิภาพในการตอบสนองเหตุการณ์ของหน่วยงานของไทยในเหตุการณ์ครั้งนี้ เนื่องจากขณะนี้เหตุการณ์ผ่านมาเกือบสามสัปดาห์แล้ว เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยจากสองหน่วยงานนี้ ยังไม่ทราบว่าจุดที่เกิดเหตุเกิดขึ้นตรงไหน โดยไม่รู้ว่าเกิดในน่านน้ำไทยหรือในน่านน้ำของพม่า จึงตั้งข้อสงสัยว่า ถ้าไม่รู้ว่าจุดเกิดเหตุ เกิดที่ใด หมายความว่าตอนนี้ยังไม่รู้ว่าเรือประมงไทยทั้งหมด 5 ลำและถูกทหารเรือพม่าจับไป 1 ลำนั้น รุกล้ำน่านน้ำของพม่าหรือไม่ หรือแท้จริงแล้ว ตอนถูกยิงเรือประมงไทยนั้นอยู่ในน่านน้ำไทย หากเป็นเช่นนี้จะประท้วงพม่าว่าอย่างไร
นอกจากนี้ ทางการไทยได้ขอให้พม่าสอบสวนเรื่องนี้ แต่ทางการไทยยังไม่มีการตั้งคณะทำงานของไทยขึ้นมาสอบสวนว่าจริง ๆ แล้วเรือประมงไทยรุกล้ำน่านน้ำของพม่าจริงหรือไม่ หากไม่ตั้งคณะสอบสวนของไทยขึ้นมา และรอฟังผลการสอบสวนของฝ่ายพม่า แน่นอนว่าผลการสอบสวนของฝ่ายพม่าต้องเป็นเรือประมงไทยรุกล้ำน่านน้ำของเขา การตั้งคณะสอบสวนฝ่ายไทยก็ไม่ได้กระทบกับความปลอดภัยของลูกเรือประมงไทย 4 คน ที่ยังถูกทหารพม่าจับไว้ เพราะเป็นเรื่องภายในของไทยที่สอบหาข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อีกทั้งได้สอบถามผู้ชี้แจงว่า มีเรือที่หนีรอดมาได้ 4 ลำ ได้สอบหาข้อเท็จจริงจากเรือประมงที่รอดมาได้หรือไม่ ทางคณะก็ไม่สามารถตอบได้ จึงขอแสดงความผิดหวังถึงความไร้ประสิทธิภาพของหน่วยงานรัฐภายใต้รัฐบาลชุดนี้ในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่อาจจะเป็นการรุกล้ำอธิปไตยในน่านน้ำไทย ตนในฐานะอยู่ใน กมธ.การต่างประเทศ ขอถามไปยัง รมว.การต่างประเทศ ว่าทางกระทรวงฯ การทำได้แค่ส่งบันทึกให้ทางพม่าสอบสวนเรื่องนี้และรอให้พม่าปล่อยคนไทยเท่านั้นหรือไม่ กระทรวงฯ จะมีการปฏิบัติเชิงรุก ใช้วิธีการทางการทูตที่แสดงความแข็งกร้าว ไม่ยอมให้มีการละเมิดน่านน้ำไทยหรือไม่ การกำหนดท่าทีและนโยบายการต่างประเทศของไทยที่ไม่ชัดเจนจะก่อปัญหาให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านรอบประเทศไทยมาโดยตลอด มักกลัวเสียความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ถูกนำมาใช้เพื่อกลบผลประโยชน์ของบุคคลบางกลุ่มที่มีกับประเทศเพื่อนบ้าน หากกระทรวงการต่างประเทศทำได้เท่านี้ แล้วชี้แจงว่าเรื่องอื่นเป็นเรื่องของกระทรวงกลาโหม คาดว่านายกรัฐมนตรี คงต้องลงมาสั่งการเอง และนายกฯ จะตอบคำถามผู้สื่อข่าวต่อประเด็นดังกล่าวว่าไม่สนับสนุนให้ใช้ความรุนแรงเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องแสดงความเข้มแข็งเพื่อให้ประเทศเพื่อนบ้านเกรงใจ หากหน่วยงานภาครัฐยังต่างคิดต่างทำ ขอให้นายกฯ อย่านิ่งเฉย ต้องสั่งการให้หน่วยงานไทยภายใต้บังคับบัญชาทำงานเชิงรุกมากกว่านี้




รัฐสภา● เกี่ยวกับรัฐสภา■ หน้าที่และอำนาจรัฐสภา■ โครงสร้างรัฐสภา■ ประธานรัฐสภา■ รองประธานรัฐสภา■ ทำเนียบประธานรัฐสภา■ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)● การประชุมร่วมกันของรัฐสภา■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา● คณะกรรมาธิการ■ คณะกรรมาธิการของรัฐสภา■ คณะกรรมาธิการร่วมกัน■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● เครือข่ายในวงงานรัฐสภา■ เครือข่ายรัฐสภาทั่วโลก■ เครือข่ายนิติบัญญัติ○ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
○ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
○ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
○ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
■ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ○ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
○ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
○ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
○ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
○ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
■ องค์กรอื่นๆ○ ศาลยุติธรรม
○ ศาลปกครอง
○ ศาลรัฐธรรมนูญ
○ สำนักงานอัยการสูงสุด
● บริการรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร■ หน้าที่และอำนาจสภาผู้แทนราษฎร■ โครงสร้างสภาผู้แทนราษฎร■ ประธาน/รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร○ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร
■ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร○ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
■ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โมบาย แอพฯ)
● การประชุมสภาผู้แทนราษฎร■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
■ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ แบบการแจ้งความจำนงขอปรึกษาหารือฯ
○ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
■ กระทู้ถาม○ ระเบียบวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ ระบบตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ แบบฟอร์มตั้งกระทู้ถาม
○ แบบฟอร์มถอนกระทู้ถาม
○ กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อมูลการประชุมในอดีต■ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร● คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ คณะกรรมาธิการสามัญ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● บริการสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสำนักงานฯ■ ประวัติความเป็นมา■ โครงสร้างสำนักงานฯ■ หน้าที่และอำนาจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์■ ผู้บริหารสำนักงานฯ■ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับกรม■ ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ แผนปฏิบัติราชการ● ประกาศ■ จัดซื้อจัดจ้าง ■ รับสมัครงาน■ เงินอุดหนุนการวิจัย● คุณธรรมความโปร่งใส■ แผนปฏิบัติราชการ■ แผนดำเนินงาน■ มาตรฐานการปฏิบัติงาน■ การให้บริการ■ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี■ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล■ การส่งเสริมความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต● ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ● บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาบริการทั้งหมด ■ ข้อมูลการประชุมสภา■ ข้อมูลกฎหมาย■ ข้อมูลต่างๆ ของรัฐสภา■ แจ้งเรื่องร้องเรียน■ ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก■ สำหรับบุคคลในวงงานรัฐสภา● Health_madia