คณะผู้แทนรัฐสภาไทยเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 150 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงทาชเคนต์ สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน เป็นวันที่สาม

Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image

เมื่อวันจันทร์ที่ 7 เมษายน 2568 คณะผู้แทนรัฐสภาไทย นำโดยนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐสภาไทย พร้อมด้วย นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร นางสาวสรัสนันท์ อรรณนพพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายชวภณ วัธนเวคิน สมาชิกวุฒิสภา นางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ช่วยศาสตราจารย์นพดล อินนา สมาชิกวุฒิสภา นายอนุชา บูรพชัยศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และนายอัคร ทองใจสด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ร่วมด้วยนายศศิวัฒน์ ว่องสินสวัสดิ์ เอกอัครราชทูตประจำสาธารณรัฐอุซเบกิสถาน (ถิ่นพำนัก ณ กรุงมอสโก) เข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 150 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (The 150th IPU Assembly and related meetings) ระหว่างวันที่ 5-9 เมษายน 2568 ณ ศูนย์การประชุม Tashkent City Congress Centre กรุงทาชเคนต์ สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน เป็นวันที่สาม โดยสรุปภารกิจของคณะผู้แทนรัฐสภาไทย ได้ดังนี้

 

 1. การประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ในเวลา 09.00 - 13.00 นาฬิกา และ เวลา 14.30 - 17.00 นาฬิกา โดยที่ประชุมได้รับฟังการกล่าวถ้อยแถลงในช่วงการอภิปรายทั่วไป (General Debate) ของหัวหน้าคณะผู้แทนที่มิได้ดำรงตำแหน่งประธานสภาหรือประธานรัฐสภา ซึ่งได้รับการจัดสรรเวลาสำหรับกล่าวถ้อยแถลงประเทศละ 5 นาที ภายใต้หัวข้อ “Parliamentary action for social development and justice” ซึ่งเป็นหัวข้อหลักของการประชุมสมัชชาในครั้งนี้  

 

อนึ่ง ที่ประชุมสมัชชาได้รับฟังการกล่าวสุนทรพจน์ของ H.E. Mr. Shavkat Mirziyoyev ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอุซเบกิสถาน เมื่อเวลา 11.00 น. โดยหลังจากจบการกล่าวถ้อยแถลง ประธานรัฐสภาได้ร่วมถ่ายภาพร่วมกับประธานาธิบดีอุซเบกิสถาน พร้อมกับประธานรัฐสภา/ประธานสภาจากประเทศที่ส่งคณะผู้แทนรัฐสภาเข้าร่วมการประชุมสมัชชาฯ ในครั้งนี้ด้วย

 

จากนั้น ในเวลา 17.30 น ที่ประชุมสมัชชาได้เข้าสู่วาระการพิจารณาเลือกข้อเสนอหัวข้อเพื่อพิจารณาลงมติบรรจุเป็นระเบียบวาระเร่งด่วน (emergency items) โดยประเทศสมาชิกได้เสนอเข้ามาทั้งหมดรวม 4 รายการ ซึ่งต่อมาในภายหลัง อิสราเอลได้ถอนข้อเสนอของตนออกไป จนเหลือเพียง 3 ข้อเสนอ ได้แก่ ประเด็นมาตรการกำแพงภาษี (เสนอโดยชิลี ปารากวัยและเปรู) ประเด็นวิกฤตด้านมนุษยธรรมในเมียนมา (เสนอโดยฟิลิปปินส์และไทย) และประเด็นการละเมิดข้อตกลงหยุดยิงในกาซา รวมถึงความขัดแย้งใน DR Congo และซูดานในบริบทของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (เสนอโดยเซเชลส์ ซิมบับเว จอร์แดน และอียิปต์) โดยในการดังกล่าวนายกัณวีร์ สืบแสง ผู้แทนรัฐสภาไทยได้ทำหน้าที่ผู้นำเสนอเหตุผลและหลักการของร่างข้อมติวาระเร่งด่วนว่าด้วยการทูตรัฐสภาเพื่อแก้ไขวิกฤตด้านมนุษยธรรมในเมียนมาต่อที่ประชุมสมัชชาก่อนลงมติ โดยคณะผู้แทนรัฐสภาไทยได้ร่วมกับประเทศสมาชิกในการลงมติเพื่อเลือกหัวข้อระเบียบวาระเร่งด่วนด้วยการลงคะแนนเปิดเผยแบบขานชื่อประเทศทีละประเทศ (roll-call voting) ผลปรากฏว่าไม่มีข้อเสนอใดได้รับคะแนนเสียงผ่านเกณฑ์สองในสามของคะแนนเห็นชอบกับคะแนนไม่เห็นชอบรวมกัน ตามข้อบังคับของ IPU จึงทำให้ข้อเสนอทั้งสามเป็นอันตกไป และการประชุมสมัชชาในครั้งนี้จะไม่มีการพิจารณาร่างข้อมติวาระเร่งด่วน

 

นอกจากนั้น คณะผู้แทนรัฐสภาไทยยังได้ปฏิบัติภารกิจในการประชุมคู่ขนานต่าง ๆ  ในห้วงการประชุมวันที่สาม อาทิ 

 

2. นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และนายอนุชา บูรพชัยศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทยเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ วาระที่สาม เวลา 10.30 - 13.00 น. ณ Opera Hall ที่ประชุมได้พิจารณาร่างข้อมติเรื่อง “The role of parliaments in advancing a two-State solution in Palestine” ต่อจากวาระที่สองจนเสร็จสิ้นการพิจารณาข้อเสนอขอแก้ไขทั้งหมดที่ได้รับจากประเทศสมาชิก โดยข้อเสนอขอแก้ไขร่างข้อมติของไทยจำนวนมากได้รับความเห็นชอบรับรองจากที่ประชุม ทั้งนี้ ที่ประชุมได้อภิปรายถกเถียงกันอย่างกว้างขวางเนื่องด้วยมีความเห็นที่แตกต่างกันอย่างมากในหมู่ประเทศสมาชิกต่อเนื้อหาร่างข้อมติเรื่องแนวทางสองรัฐของปาเลสไตน์ซึ่งเป็นปัญหาที่เรื้อรังและมีความละเอียดอ่อน รวมถึงมีประชาชนผู้บริสุทธิ์จำนวนมากได้รับผลกระทบด้านมนุษยธรรมอย่างรุนแรงอยู่ในขณะนี้

 

3.  นางสาววิสาระดี เตะธีราวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และนายอนุชา บูรพชัยศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน (IPU Standing Committee on Democracy and Human Rights) เมื่อเวลา 14.30 – 17.30 ณ Hilton Hotel Ballroom โดยที่ประชุมได้อภิปรายเพื่อเตรียมการยกร่างข้อมติ หัวข้อ “Recognizing and supporting the victims of illegal international adoption and taking measures to prevent this practice” ซึ่งจะมีการพิจารณาแก้ไขและรับรองในการประชุมสมัชชาฯ ครั้งถัดไป ตลอดจนติดตามการดำเนินการตามข้อมติของคณะกรรมาธิการฯ เมื่อปีที่ผ่านมา เกี่ยวกับการแสวงหาประโยชน์จากสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า (Orphanage trafficking) ซึ่งนางสาววิสาระดี เตะธีราวัฒน์ ได้ร่วมอภิปรายต่อที่ประชุมในวาระดังกล่าวด้วย

 

4.  นายอัคร ทองใจสด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนายชวภณ วัธนเวคิน สมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน วาระที่สอง เมื่อเวลา 14.30 – 17.30 น. ณ Opera Hall ซึ่งที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาแก้ไขร่างข้อมติต่อเนื่องจากวาระแรกในหัวข้อ “Parliamentary strategies to mitigate the long-lasting impact of conflicts, including armed conflicts, on sustainable development” โดยที่ประชุมได้พิจารณาแก้ไขร่างข้อมติเสร็จสิ้นในขั้นสุดท้าย ก่อนที่จะพิจารณารับรองในชั้นกรรมาธิการสามัญฯ อีกครั้งในวันที่ 8 เมษายน 2568 ต่อไป

 

 5. นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะกรรมาธิการว่าด้วยการส่งเสริมการเคารพกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (Committee to Promote Respect for International Humanitarian Law: IHL) เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการฯ เมื่อเวลา 09.30 - 12.30 น. ณ Concert Hall เพื่อพิจารณาสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมจากทั่วโลก และแผนการดำเนินกิจกรรมของคณะกรรมาธิการฯ โดยนายกัณวีร์ สืบแสง ได้นำเสนอให้ที่ประชุมได้รับทราบถึงสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมล่าสุดในเมียนมา โดยเฉพาะหลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัติแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568

 

6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นพดล อินนา สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะสมาชิกคณะทำงานว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสหภาพรัฐสภา (IPU Working Group on Science and Technology: WGST) ได้เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานฯ เมื่อเวลา 14.30 - 17.30 น. ณ ห้องหมายเลข 6 Congress Center โดยมี Dr. Sahar Attia สมาชิกรัฐสภาอียิปต์ ในฐานะประธานคณะทำงาน WGST ทำหน้าที่ประธานการประชุม ในการนี้  ผศ. นพดล  อินนาได้ร่วมอภิปรายต่อที่ประชุมในประเด็นเรื่องบทบาทของรัฐสภาในการส่งเสริมพร้อมทั้งกำกับควบคุมเทคโนโลยี AI รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ให้แก่สาธารณชนถึงศักยภาพและโทษภัยของ AI ตลอดจนการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ประโยชน์ในการสนับสนุนงานด้านนิติบัญญัติ ในโอกาสดังกล่าว ที่ประชุมได้มีมติเลือก Ms. Margareta Cederfelt (สวีเดน) เป็นประธานคณะทำงาน WGST และเลือก ผศ. นพดล อินนา ให้ดำรงตำแหน่งรองประธานคณะทำงาน WGST ซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่ง 1 ปี

 

7. เมื่อเวลา 14.30 นาฬิกา คณะผู้แทนรัฐสภาไทยนำโดยประธานรัฐสภาเข้าพบปะหารือทวิภาคีกับ Dr. Tulia Ackson ประธานสหภาพรัฐสภา โดยประธานรัฐสภาได้ชื่นชมในภาวะผู้นำของประธาน IPU ในการทำหน้าที่ประธานการประชุมคณะมนตรีบริหารฯ ได้อย่างยอดเยี่ยม รวมถึงสุนทรพจน์เปิดการประชุมของประธาน IPU ที่เปี่ยมด้วยความหมายและแรงบันดาลใจ ด้านประธาน IPU กล่าวขอบคุณรัฐสภาไทยที่ได้สนับสนุนกิจการของ IPU ด้วยความกระตือรือร้นและเข้มแข็งมาโดยตลอด โดยไทยมีสมาชิกรัฐสภาหลายคนเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใน IPU ทำหน้าที่อย่างแข็งขันในคณะกรรมาธิการชุดต่าง ๆ ของ IPU อีกทั้งการประชุมรัฐสภาภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยความมั่นคงด้านสุขภาพโลกที่รัฐสภาไทยเป็นเจ้าภาพจัดร่วมกับ IPU และ WHO ได้ลุล่วงไปด้วยความสำเร็จ บรรลุวัตถุประสงค์และเป็นประโยชน์อย่างมาก พร้อมทั้งชื่นชมที่ได้เห็นการเติบโตของพลังสตรีและเยาวชนในรัฐสภาไทยที่เปี่ยมไปด้วยพลวัตร โดยเฉพาะจำนวนยุวสมาชิกรัฐสภาของไทยในสภาผู้แทนราษฎรที่มีเปอร์เซ็นต์สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก โดยทั้งนายกรัฐมนตรีของไทยที่เป็นสุภาพสตรีอายุน้อยกว่า 40 ปี รวมถึงผู้นำฝ่ายค้านฯ ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังและความสามารถ ในโอกาสดังกล่าว ประธานรัฐสภาแจ้งว่าตนยินดีจะเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมประธานรัฐสภาโลก ครั้งที่ 6 ณ นครเจนีวา ในช่วงปลายเดือน ก.ค. ศกนี้ พร้อมกันนั้น Dr. Tulia Ackson ได้กล่าวเชิญในฐานะประธานรัฐสภาแทนซาเนียให้ประธานรัฐสภาไทยเดินทางไปเยือนแทนซาเนียในโอกาสที่เหมาะสมต่อไป

 

เครดิตภาพและข่าว : ฝ่ายเลขานุการคณะผู้แทนรัฐสภาไทยในการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 150 กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร





รัฐสภา● เกี่ยวกับรัฐสภา■ หน้าที่และอำนาจรัฐสภา■ โครงสร้างรัฐสภา■ ประธานรัฐสภา■ รองประธานรัฐสภา■ ทำเนียบประธานรัฐสภา■ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)● การประชุมร่วมกันของรัฐสภา■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา● คณะกรรมาธิการ■ คณะกรรมาธิการของรัฐสภา■ คณะกรรมาธิการร่วมกัน■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● เครือข่ายในวงงานรัฐสภา■ เครือข่ายรัฐสภาทั่วโลก■ เครือข่ายนิติบัญญัติ○ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
○ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
○ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
○ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
■ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ○ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
○ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
○ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
○ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
○ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
■ องค์กรอื่นๆ○ ศาลยุติธรรม
○ ศาลปกครอง
○ ศาลรัฐธรรมนูญ
○ สำนักงานอัยการสูงสุด
● บริการรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร■ หน้าที่และอำนาจสภาผู้แทนราษฎร■ โครงสร้างสภาผู้แทนราษฎร■ ประธาน/รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร○ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร
■ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร○ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
■ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โมบาย แอพฯ)
● การประชุมสภาผู้แทนราษฎร■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
■ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ แบบการแจ้งความจำนงขอปรึกษาหารือฯ
○ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
■ กระทู้ถาม○ ระเบียบวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ ระบบตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ แบบฟอร์มตั้งกระทู้ถาม
○ แบบฟอร์มถอนกระทู้ถาม
○ กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อมูลการประชุมในอดีต■ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร● คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ คณะกรรมาธิการสามัญ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● บริการสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสำนักงานฯ■ ประวัติความเป็นมา■ โครงสร้างสำนักงานฯ■ หน้าที่และอำนาจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์■ ผู้บริหารสำนักงานฯ■ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับกรม■ ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ แผนปฏิบัติราชการ● ประกาศ■ จัดซื้อจัดจ้าง ■ รับสมัครงาน■ เงินอุดหนุนการวิจัย● คุณธรรมความโปร่งใส■ แผนปฏิบัติราชการ■ แผนดำเนินงาน■ มาตรฐานการปฏิบัติงาน■ การให้บริการ■ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี■ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล■ การส่งเสริมความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต● ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ● บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาบริการทั้งหมด ■ ข้อมูลการประชุมสภา■ ข้อมูลกฎหมาย■ ข้อมูลต่างๆ ของรัฐสภา■ แจ้งเรื่องร้องเรียน■ ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก■ สำหรับบุคคลในวงงานรัฐสภา● Health_madia