สส.พรรคประชาชน แถลงผลสัมฤทธิ์ การจัดทำ พ.ร.บ.ที่พักเท่าเทียม หนุนผู้ประกอบการรายย่อย ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศให้ดีขึ้น

Image
Image
Image
วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร พร้อมด้วย นายณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล สส.พรรคประชาชน และคณะ แถลงข่าวผลสัมฤทธิ์ของการจัดทำร่างพระราชบัญญัติโรมแรมและสถานที่พักค้างคืน พ.ศ. .... (พ.ร.บ.ที่พักเท่าเทียม) ว่าร่าง พ.ร.บ.เดิมมีการบังคับใช้มาอย่างยาวนานและเป็นปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจไทย ซึ่งในประเทศไทยธุรกิจโรงแรมเป็นธุรกิจที่แข่งขันสูงมาก แต่กฎหมายยังล้าหลัง และเป็นอุปสรรคต่อผู้ประกอบธุรกิจรายย่อย ดังนั้น หากร่างกฎหมายนี้ผ่าน ก็จะส่งผลดีต่อชีวิตของผู้ประกอบการรายย่อยมากขึ้น

ด้านนายณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล กล่าวว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีผู้ประกอบการรายย่อย เช่น โฮสเทล เกสต์เฮาส์ เป็นต้น ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเปลี่ยนไป ไม่ได้พักแค่โรงแรมขนาดใหญ่แบบในอดีต แต่กฎหมาย ปัจจุบันบังคับใช้มากว่า 20 ปี และตอบสนองเพียงโรงแรมขนาดใหญ่เท่านั้น ผู้ประกอบการรายย่อยจึงพบปัญหาคือไม่สามารถขออนุญาตได้ เนื่องจากกฎหมายไม่ได้สอดคล้องกับรูปแบบ รูปลักษณ์สถานที่พัก ณ ปัจจุบันที่มันมีหลากหลายมากขึ้น เพราะฉะนั้น พ.ร.บ.ที่พักเท่าเทียม จัดทำขึ้นด้วยความตั้งใจที่จะทำให้ผู้ประกอบการรายเล็ก ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตามสามารถขออนุญาตได้ มีตัวตนทางกฎหมายได้ง่ายขึ้น โดยจุดเด่นของ พ.ร.บ.ที่พักเท่าเทียม ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่
1. ผู้ประกอบการต้องมีตัวตนทางกฎหมาย ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมหรือสถานที่พักค้างคืนขนาดเล็ก ต้องไม่ถูกปฏิเสธการออกด้วยเหตุผลจากกฎหมายอื่น เช่น ควบคุมอาคาร ผังเมือง สิ่งแวดล้อม โบราณสถาน เป็นต้น
2. ที่พักขนาดเล็ก ไม่เกิน 29 ห้อง หรือ 58 เตียง จะไม่อยู่ในคำนิยาม “โรงแรม” ทำให้ขออนุญาตง่ายกว่า เพราะ เงื่อนไขตามกฎหมายน้อยกว่า สอดคล้องกับสิ่งที่จำเป็นจริงๆสำหรับที่พักขนาดเล็กในทางปฏิบัติ
3. ปลดล็อกให้ท้องถิ่นมีอำนาจออกใบอนุญาตให้ที่พัก เพื่อกำหนดทิศทางการส่งเสริมที่พักรูปแบบต่างๆสำหรับการท่องเที่ยวในพื้นที่ของตนเอง ในฐานะผู้ที่อยู่หน้างานซึ่งเห็นโอกาสและปัญหามากกว่า
4. ให้ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับที่พัก ตกเป็นของท้องถิ่นนั้น ๆ โดยไม่ต้องเข้าส่วนกลาง
5. ปรับเป็นพินัยตามขนาดกิจการของที่พัก 
6. ไม่ต้องรอใบอนุญาตอย่างไร้ความหวัง ไม่ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ประวิงเวลา โดยเพิ่มกลไก Auto Approve อนุญาตอัตโนมัติถ้าถึงกำหนดเวลา ซึ่งหมุดหมายของพรรคประชาชน มองว่าการท่องเที่ยว ไม่ใช่เพียงแค่การดึงให้นักท่องเที่ยว ต่างชาติเข้ามาจำนวนมาก แต่ว่าการบริหารจัดการ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายใน แทบจะไม่ทำอะไรให้ที่พักต่าง ๆ เข้าสู่ระบบหากมี Auto Approve  จะทำให้ภาครัฐมีข้อมูลว่าที่พักในประเทศไทยมีเท่าไหร่ เพื่อบริหารจัดการได้ถูกต้อง และหากมีข้อมูลของที่พักในระบบเวลาเกิดเหตุภัยพิบัติก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันที

อย่างไรก็ตาม พรรคประชาชน เชื่อว่า พ.ร.บ.ที่พักเท่าเทียม เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศดีขึ้น การบริหารจัดการการท่องเที่ยว ที่จะต้องทำควบคู่กันไป ไม่ใช่เพียงแค่การหานักท่องเที่ยว หารายได้เพียงอย่างเดียว




รัฐสภา● เกี่ยวกับรัฐสภา■ หน้าที่และอำนาจรัฐสภา■ โครงสร้างรัฐสภา■ ประธานรัฐสภา■ รองประธานรัฐสภา■ ทำเนียบประธานรัฐสภา■ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)● การประชุมร่วมกันของรัฐสภา■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา● คณะกรรมาธิการ■ คณะกรรมาธิการของรัฐสภา■ คณะกรรมาธิการร่วมกัน■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● เครือข่ายในวงงานรัฐสภา■ เครือข่ายรัฐสภาทั่วโลก■ เครือข่ายนิติบัญญัติ○ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
○ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
○ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
○ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
■ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ○ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
○ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
○ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
○ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
○ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
■ องค์กรอื่นๆ○ ศาลยุติธรรม
○ ศาลปกครอง
○ ศาลรัฐธรรมนูญ
○ สำนักงานอัยการสูงสุด
● บริการรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร■ หน้าที่และอำนาจสภาผู้แทนราษฎร■ โครงสร้างสภาผู้แทนราษฎร■ ประธาน/รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร○ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร
■ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร○ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
■ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โมบาย แอพฯ)
● การประชุมสภาผู้แทนราษฎร■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
■ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ แบบการแจ้งความจำนงขอปรึกษาหารือฯ
○ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
■ กระทู้ถาม○ ระเบียบวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ ระบบตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ แบบฟอร์มตั้งกระทู้ถาม
○ แบบฟอร์มถอนกระทู้ถาม
○ กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อมูลการประชุมในอดีต■ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร● คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ คณะกรรมาธิการสามัญ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● บริการสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสำนักงานฯ■ ประวัติความเป็นมา■ โครงสร้างสำนักงานฯ■ หน้าที่และอำนาจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์■ ผู้บริหารสำนักงานฯ■ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับกรม■ ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ แผนปฏิบัติราชการ● ประกาศ■ จัดซื้อจัดจ้าง ■ รับสมัครงาน■ เงินอุดหนุนการวิจัย● คุณธรรมความโปร่งใส■ แผนปฏิบัติราชการ■ แผนดำเนินงาน■ มาตรฐานการปฏิบัติงาน■ การให้บริการ■ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี■ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล■ การส่งเสริมความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต● ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ● บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาบริการทั้งหมด ■ ข้อมูลการประชุมสภา■ ข้อมูลกฎหมาย■ ข้อมูลต่างๆ ของรัฐสภา■ แจ้งเรื่องร้องเรียน■ ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก■ สำหรับบุคคลในวงงานรัฐสภา● Health_madia